หากจะบอกว่า เป็ป กวาร์ดิโอล่า ได้สร้างและเปลี่ยนโฉมกับแนวทางการเล่นฟุตบอลขึ้นมาใหม่นับตั้งแต่หันมารับงานผู้จัดการทีมก็คงจะไม่ใช่คำพูดที่เกินจริงแต่อย่างใด
เขาไม่ได้แค่คิดค้นวิธีแปลกใหม่เท่านั้น แต่ยังมีผลงานชัดเจนเป็นรูปธรรมด้วยการคว้าแชมป์แล้วมากมาย ไม่ว่าจะตอนคุมทีมในสเปน, เยอรมัน หรือ อังกฤษกับแมนเชเสเตอร์ ซิตี้ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังช่วงเวลาแห่งความสุข ความเป็นคู่กัดคู่แข่งกันระหว่างกุนซือชาวสแปนิชกับ เจอร์เก้น คล็อปป์ กลับค่อยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ในพรีเมียร์ลีก หลังทั้งคู่เคยวัดกึ๋นกันมาก่อนในช่วงที่คุมทีมในบุนเดสลีก้า
หลังจากไปโจมตีว่า ซาดิโอ มาเน่ เป็นพวกชอบพุ่งล้ม ซึ่งได้รับใบเหลืองไปในเกมที่ลิเวอร์พูลเอาชนะแอสตัน วิลล่าไป 2-1 นายใหญ่หงส์แดงที่กำลังพาทีมเบียดลุ้นแชมป์ลีกอยู่ก็ตอกกลับเพื่อนร่วมอาชีพแบบเจ็บแสบไม่แพ้กัน
“ผมไม่อยากจะเชื่อจริงๆและจากนั้นผมก็ได้เห็นกับตา” คล็อปป์กล่าว “ผมไม่แน่ใจว่าเป็ปพูดถึงแค่ มาเน่ หรือทีม ซึ่งการพูดถึงทั้งคู่มันดูไม่ดีเลยจริงๆ ผมก็ไม่แน่ใจว่าต้องการจะเติมเชื้อไฟเข้าไปอีกหรือเปล่า ผมไม่ได้สนใจกับเรื่องแบบนี้นักหรอก”
“และผมสัญญาว่าจะไม่พูดถึง แทคติคอล ฟาวล์ ซึ่งนั่นมันน่าจะมากเกินไปแล้ว แต่นั่นก็เป็นอย่างเดียวที่ผมพูดเท่านั้น ”
แล้วอะไรคือ แทคติคอล ฟาวล์ ที่คล็อปป์ แอบแขวะเพื่อนร่วมวงการ ทาง UFA ARENA จะพาไปหาคำตอบ และพาไปวิเคราะห์ว่ากุนซืออัฉริยะคนนี้ใช้แทคติกนี้อย่างที่โดนกล่าวหาหรือไม่ผ่านบทความชิ้นนี้กัน
แทคติคอล ฟาวล์ ของเป็ป
แฟนบอลขาประจำคงได้ยินคำว่า ‘แทคติคอล ฟาวล์’ มาก่อนหน้านี้อยู่หลายครั้งแล้ว ซึ่งสรุปให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ การตัดฟาวล์คู่แข่งหนักๆทันทีที่โดนสวนกลับเพื่อป้องกันโอกาสที่จะเสียประตูในจังหวะนั้น
ซึ่งในช่วงเปิดฤดูกาลใหม่ๆ นัดที่แชมป์เก่าถล่ม เวสต์แฮมไป 5-0 มานูเอล เปเยกรินี่ กุนซือของขุนค้อนได้มองว่าเกมนี้ซิตี้ก็แสดงให้กลยุทธ์ด้านมืดไปพร้อมๆกับ การต่อบอลที่สวยงามและการเข้าทำที่มีประสิทธิภาพด้วย
“ทุกๆครั้งที่เราพยายามจะบุกเข้าไปในกรอบเขตโทษของพวกเขา พวกเขาตัดฟาวล์เรา ซึ่งเรายังใสซื่อกับเรื่องแบบนี้” กุนซือชาวชิลีกล่าว
“ถ้าคุณลองย้อนไปดูจะรู้ว่านี้เป็นเหตุผลว่าทำไมเราสร้างโอกาสไม่ได้ในครึ่งแรก จังหวะเกมรุกของเราทั้งหมดจะจบด้วยการถูกทำฟาล์ว ลองไปดูสถิติก็ได้ พวกเขาทำฟาวล์ไป 13 ครั้ง ของเราแค่ 5”
เปเยกรินี่ยอมรับว่านี่ไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้ทีมของเขาแพ้แบบหมดสภาพ แต่ถ้าคำกล่าวอ้างของเขาถูกต้องจริงๆ ก็ย่อมนับเป็นตัวแปรของเรื่องนี้เช่นกัน ลองนึกดูว่าทุกครั้งที่คุณได้บอลจี้ไปที่เกมรับของซิตี้ และฟูลแบ็คของพวกเขาก็ดันสูงขึ้น จากนั้นการทำเกมของคุณก็ทำลายลงจากการตัดเกมของ โรดรี้ หรือ แฟร์นานดินโญ่ คงจะหงุดหงิดไม่น้อย
แต่ถึงอย่างนั้นเวสต์แฮมก็ไม่ได้เป็นผู้บริสุทธิ์แบบเต็มร้อยอย่างที่เปเยกรินี่อธิบายเท่าไหร่ เพราะจริงๆแล้วในเกมนั้นพวกเขาทำฟาวล์คู่แข่งไป 6 ไม่ใช่ 5 แต่กับเรื่องซิตี้ เขาพูดถูกทุกประการ
การฟาวล์ 8 จาก 13 ของเรือใบสีฟ้า ในเกมวันนั้นเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรก เมื่อเวสต์แฮมยังอยู่ในเกม พยายามพาบอลขึ้นหน้าและสร้างโอกาสทำประตูได้ ซึ่งการฟาวล์ 7 จากทั้งหมด เป็นการทำฟาวล์ในแดนคู่แข่งทั้งสิ้น และมีการฟาวล์ใกล้กรอบ 18 หลาในฝั่งตัวเองแค่ 1 ครั้งเท่านั้น
ผู้รับงานงานสกปรก
แท็คติกนี้เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับ กวาร์ดิโอล่า มานานหลายปี โดยในฤดูกาลที่แล้ว ไม่มีนักเตะแมนซิตี้คนไหนที่ทำฟาวล์คู่แข่งไปมากกว่า แฟร์นานดินโญ่ (40 ครั้ง) และมี แวงซองต์ กอมปานี คนเดียวเท่านั้นที่ได้ใบเหลืองมากกว่า (กอมปานี 6, แฟร์นานดินโญ่ 5) ส่วนในบาร์เซโลน่า เขาก็มี เซร์คิโอ บุสเก็สต์ เป็นโล่สกรีนแผงหลังให้ และในช่วงที่คุมบาเยิร์น มิวนิค ชาบี มาร์ติเนซ และ อาร์ตูโล่ วิดัล ก็ทำงานสกปรกนี้ให้เป็นประจำ
และเรื่องนี้ชัดเจนมากๆในปีสุดท้ายที่เป็ป คุมเสือใต้ เมื่อวิดัลเป็นกองกลางที่มีค่าเฉลี่ยทำฟาวล์มากที่สุดในลีกเป็นอันดับ 2 (2.7 ครั้งต่อ 90 นาที) ส่วนบุสเก็ตส์ก็รั้งอันดับ 12 จากกองกลางในด้านนี้ของลาลีก้า หลังทำฟาวล์ไปถึง 28 ครั้งจากการลงเล่นอย่างน้อยแค่ 10 นัด ในปีสุดท้ายที่เป็ปคุมทีมในคัมป์นู
ด้วยสไตล์การเล่นที่เน้นแบ็คดันสูงขึ้นไปเพื่อเติมเกมรุกและสร้างโอกาสในกรอบเขตโทษ เป็ปจำเป็นต้องกองกลางคู่ใจซักคนไว้คอยเบรกเกมสวนกลับของคู่แข่งและป้องกันเกมทางริมเส้นเมื่อถึงคราวจำเป็นจริงๆ
แต่ในฤดูกาลที่แล้ว แมนซิตี้ได้รับใบเหลืองน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ในพรีเมียร์ลีกเท่านั้น (44) แม้ว่าพวกเขาจะทำฟาวล์คู่แข่งมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ในลีกก็ตาม ดังนั้น พวกเขามีวิธีการหลีกเลี่ยงการโดนผู้ตัดสินจดชื่อได้อย่างไร?
แทคติกที่เป็ปไม่ยอมรับ
ก่อนหน้านี้ในศึกแมนเชสเตอร์ ดาร์บี้ เดือนเมษายน โอเล่ กุนนาร์ โซลชา กุนซือแมนยูไนเต็ด ได้มองว่า กวาร์ดิโอล่า แนะให้ลูกทีมตัดฟาวล์ทีมของเขา โดยใช้การกดดันและบีบพื้นที่ในแดนคู่แข่งมากกว่า ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงการทำฟาวล์ในแดนของตัวเอง และลดโอกาสการโดนใบเหลืองได้
“เขาไม่ได้รับใบเหลือง(จากจุดนั้น)ใช่มั้ย? แต่นั่นเป็นเพราะพวกเขาใช้ผู้เล่นขึ้นมาในแดนหน้า และคุณจะเห็นได้ชัดว่าพวกเขาพยายามจะแย่งบอลกลับไป และทำฟาวล์ด้วย” กุนซือปีศาจแดงกล่าว
“มันขึ้นอยู่กับเราว่าเล่นกับการบีบนี้อย่างไร เตรียมพร้อมให้ได้ เล่นชิ่งหนึ่งสอง อย่าให้เวลาพวกเขา แต่มันก็ไม่ใช่การตัดสินใจของผม มันเป็นความรับผิดชอบของกรรมการในการทำแบบนั้นต่างหาก”
แม้แฟนบอลยูไนเต็ดจะหาหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องแทตติคอล ฟาวล์ ในสารคดีของซิตี้ที่มีชื่อว่า ‘All or Nothing’ ได้แบบเต็มๆ แต่กวาร์ดิโอล่าก็ตอบกลับเรื่องนี้ในลักษณะที่ไม่ค่อยยอมรับเท่าไหร่ว่า “ผมไม่ชอบเลย ไม่เลย ทีมของผมไม่ได้สร้างมาให้คิดอะไรแบบนั้น ไม่ใช่เลย”
ช่างบังเอิญเหลือเกินที่ทั้ง 2 ทีมแมนเชสเตอร์ในเกมนั้นทำฟาวล์ไปฝั่งละ 10 ครั้งเท่ากันในเกมนั้น แต่มีแค่ครั้งเดียวเท่านั้นที่ซิตี้ทำฟาวล์ในพื้นสุดท้ายของตนเอง ขณะที่อีก 4 ครั้งเกิดขึ้น ณ แดนของยูไนเต็ด
กฏของเอฟเอได้ระบุการแจกใบเหลืองอย่างชัดเจนว่าจะมอบให้นักเตะในกรณี ‘เจตนาทำฟาวล์’ หรือ พยายามทำฟาวล์เพื่อขัดขวางและหยุดการทำเกมบุก อย่างไรก็ตาม กฏเดียวกันนี้ได้บอกไว้ว่า ไม่มีจำนวนการฟาวล์หรือรูปแบบเกมบุกแบบไหนที่บ่งชี้ว่าการเป็นการฟาวล์ ‘แบบเจตนา’
กลโกงหรือกลยุทธ์?
นี่ทำให้เมื่อใดที่คำว่า แทคติคอล ฟาวล์ โผล่มา เป็ปอาจจะปฏิเสธเรื่องนี้ในงานแถลงข่าวได้ แต่ถ้านักเตะของเขาตัดฟาวล์ในแดนคู่แข่ง ในช่วงที่ยังจัดระเบียบเกมรับไม่ได้ แน่นอนนี่ย่อมทำให้คู่แข่งเกิดความหงุดหงิดที่โดนเบรกเกมบุกและพลาดโอกาสทำประตู ขณะเดียวกันพวกเขายังรอดพ้นสายตาของผู้ตัดสินไปอีก
เพราะฉะนั้น คำถามหลักๆก็คือ กวาร์ดิโอล่า ได้ใช้ แทคติคอล ฟาวล์ หรือไม่? แน่นอนว่านี่เป็นแนวทางที่กุนซือในพรีเมียร์ลีกใช้กันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และโซลชา หรือ คล็อปป์ ก็ไม่ใช่กุนซือพวกแรกๆที่กล่าวโจมตีกุนซือเรือใบในเรื่องนี้
หากถ้าจะบอกว่ามันเป็นการโกงหรือเปล่า ก็คงจะไม่ และคำว่า ‘วิธีการคว้าชัยอีกแบบ’ น่าจะเหมาะสมกว่า ซึ่งคุณอาจมองว่ามันก็แค่ลูกไม้แย่ๆอีกอย่างที่กุนซือสมองเพชรนำมาใช้ในทีมของเขา
แต่ก็ขึ้นอยู่กับกุนซือคู่แข่งของเป็ปว่าจะหาทางแก้เผ็ดสไตล์การเล่นแบบนี้ได้อย่างไร ยามต้องพบกันในอนาคตหลังจากนี้