จะมีอีกไหม! ย้อนรอย เทพนิยายเดนส์ 1992

เดนมาร์ก

 

ทีมชาติเดนมาร์กสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมบนเวที ยูโร 2020  แม้จะเริ่มต้นด้วยการแพ้ 2 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม ก่อนจะมาเอาชนะรัสเซียได้ในเกมสุดท้าย และผ่านเข้ารอบไปได้ในฐานะรองแชมป์กลุ่ม พร้อมกับทะลุมาถึงรอบ 4 ทีมสุดท้ายแล้วในตอนนี้ จนเรียกได้อย่างเต็มปากว่าเป็นทีมม้ามืดประจำรายการนี้ไปเรียบร้อยแล้ว จนถูกคาดหวังว่าพวกเขาจะสามารถสร้างเทพนิยายอย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ ยูโร 1992 ได้หรือไม่

 

วันนี้ UFA ARENA จะพาไปย้อนรอยเส้นทางความสำเร็จของทีมชาติเดนมาร์ก ชุดแชมป์ยูโร 1992 ว่าพวกเขาต้องผ่านอะไรมา และเจอเหตุการณ์อะไรบ้างกว่าจะไปถึงการชูถ้วยแชมป์

 

เริ่มต้นด้วยความติดขัด

ย้อนไปในศึกยูโร 1992 เดนมาร์ก แม้จะมีสตาร์ดังอย่าง ไมเคิ่ล เลาดรู๊ป , ไบรอัน เลาดรู๊ป และ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล แต่ก็ไม่ได้เป็นทีมตัวเต็งขนาดนั้น เนื่องจากตัวกุนซืออย่าง ริชาร์ด โมลเลอร์ นีลเซน ซึ่งเขาไม่ใช่โค้ชที่มีชื่อเสียงอะไรเลย จนทำให้แทบจะไม่ได้รับความเชื่อใจจากบรรดาสตาร์หลักในทีม และแม้ว่าจะเปิดหัวรอบคัดเลือกด้วยการเอาชนะหมู่เกาะแฟโรไป 4-1 แต่รูปเกมก็เน้นไปที่เกมรับ ก่อนที่จะไปเสมอ ไอร์แลนด์เหนือ 1-1 และแพ้ ยูโกสลาเวีย 0-2 นั่นทำให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างหนักจากทั้งสื่อและแฟนบอล

 

ก่อนที่ในเวลาต่อมาสองสตาร์หลักอย่างพี่น้อง เลาดรู๊ป จะประกาศถอนตัวออกจากทีมชาติด้วยเหตุผลที่ทาง ไมเคิ่ล เลาดรู๊ปให้ไว้ว่า “ในช่วงที่ผ่านมาผมไม่ได้รู้สึกมีความสุขกับการเล่นกับทีมชาติ และตอนนี้เมื่อความทะเยอทะยานในการแข่งของผมหายไปผมจึงตัดสินใจหยุด” ในขณะที่น้องชายอย่าง ไบรอัน เลาดรู๊ป พูดอย่างตรงไปตรงมาเลยว่า “ผมไม่เชื่อมือริชาร์ด นีลเซน ในฐานะโค้ช และดังนั้นผมก็เลยจะหยุดเล่นให้กับทีมชาติ ผมไม่สามารถแสดงความเป็นตัวเองภายใต้การคุมทีมของเขา และเขาก็คงไม่ชอบผมในฐานะผู้เล่นเช่นกัน”

 

อยู่ๆก็ได้ไป

แม้จะมีทั้งความขัดแย้งและเสียงวิจารณ์อย่างหนักแต่ทาง นีลเซน ก็ยังคงได้คุมทีมต่อไป แต่แทนที่ผลงานของพวกเขาจะตกต่ำลง แต่ผลงานใน 5 นัดหลังของรอบคัดเลือกพวกเขาเก็บชัยได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามแม้จะทำผลงานได้ดี แต่มันก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้พวกเขาผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้าย เพราะมีแต้มน้อยกว่า ยูโกสลาเวีย ที่เป็นแชมป์กลุ่มอยู่เพียงแค่แต้มเดียวเท่านั้น

 

อย่างไรก็ตามด้วยความที่ฟ้ากำหนดไว้แล้ว หรือโชคชะตาลิขิตไว้อะไรก็แล้วแต่ แชมป์กลุ่มอย่าง ยูโกสลาเวีย ดันเกิดสงครามกลางเมืองจนทำให้ถูกตัดสิทธิออกจากการแข่งขันไป ทำให้ทัพโคนมที่มาเป็นอันดับสอง ได้ผ่านเข้ารอบไปแทน แต่ด้วยความที่เข้ารอบแบบฉุกละหุก ทำให้พวกเขาได้มีเวลารวมตัวกลับมาซ้อมเพียงแค่สัปดาห์เดียวเท่านั้น แต่ก็ยังได้ตัว ไบรอัน เลาดรู๊ป ที่ถอนตัวไปกลับมาช่วยทีมอีกครั้ง ในขณะที่ ไมเคิ่ล เลาดรู๊ป ปฏิเสธโอกาสครั้งนี้

 

หักด่านทีมใหญ่จนถึงแชมป์

การเข้ามาเล่นในรอบสุดท้ายของ เดนมาร์ก ถือว่าได้ดวงช่วยมาส่วนนึง แต่การต้องมาอยู่กลุ่มเดียวกับทั้ง ฝรั่งเศส , อังกฤษ และ สวีเดน ก็ถือว่าเป็นงานสุดหินของพวกเขาเลยทีเดียว แม้ว่าพวกเขาจะเปิดหัวได้ดีกับการเสมอ 0-0 แต่ก็ดันไปแพ้ สวีเดน 0-1 ในเกมถัดมา ก่อนที่จะมาทำเซอร์ไพรส์ ด้วยการเอาชนะฝรั่งเศส 2-1 ผ่านเข้ารอบในฐานะรองแชมป์กลุ่มไปได้

 

ซึ่งการผ่านเข้ามาในรอบน็อคเอ้าท์ พวกเขาต้องเจอกับแชมป์ของอีกกลุ่มอย่าง เนเธอร์แลนด์ ที่ในเวลานั้นมีสามทหารเสือในตำนานอย่าง รุด กุลลิด , แฟรงค์ ไรจ์การ์ด และ มาร์โก้ ฟานบาสเท่า รวมถึงยังมีสตร์อยู่แน่นทีม เรียกว่าเป็นตัวเต็งในรายการนี้ แต่ทัพโคนมกลับสร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการยันเสมอในเวลา 2-2 และไปดวลจุดโทษชนะ ซึ่งคนที่เป็นฮีโร่ครั้งนี้ก็คือ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล ที่สามารถเซฟลูกยิงของสตาร์ดังอย่าง ฟาน บาส เท่นเอาไว้ได้

 

หลังจากนั้นพวกเขาก็สามารถเข้าไปดวลกับ เยอรมันในเกมนัดชิง ก่อนจะสามารถปิดบัญชีได้ภายใน 90 นาที ด้วยสกอร์ 2-0 คว้าแชมป์เมเจอร์แรกของชาติมาครองได้สำเร็จ และสามารถกลับบ้านมาในฐานะวีรบุรุษ ทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาทั้งในและนอกทีม สามารถเปลี่ยนเสียงวิจารณ์ให้เป็นคำชื่นชมสรรเสริญได้อย่างน่าเหลือเชื่อ

 

ตระกูลชไมเคิ่ลเป็นเสาหลัก

หากจะหาจุดเชื่อมโยงระหว่างเทพนิยายปี 92 กับทีมชุดปัจจุบัน นอกจากฟอร์มการเล่นอันยอดเยี่ยมแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่มีเหมือนกันคือ คนจากตระกูลชไมเคิ่ล ซึ่งนั่นคือคนลูกอย่าง แคสเปอร์ ชไมเคิ่ล ผู้ที่พ่อของเขาเปรียบได้กับฮีโร่ในทีมชุดแชมป์ปี 92 จากการที่สามารถเซฟจุดโทษ มาร์โก้ ฟาน บาสเท่น ได้ในเกมรอบ 4 ทีมสุดท้าย ก่อนจะทะลุเข้าไปเอาชนะ เยอรมันมาได้สำเร็จในเกมนัดชิง

 

ในขณะที่คนลูกอีกก็ยืนระยะเป็นตัวหลักของชาติมาตั้งแต่เกมแรก รวมแล้วลงเฝ้าเสาไปกว่า 5 นัด เซฟ 8 ครั้ง เสีย 5 ประตู และเก็บคลีนชีทได้ 1 ครั้ง แน่นอนว่าการที่เป็นลูกชายของตำนาน ทำให้เขาหลีกเลี่ยงการโดนนำไปเปรียบเทียบไม่ได้เลย ยิ่งมาทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในรายการเดียวกันแล้ว แต่เจ้าตัวก็พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ผมมองว่า นามสกุลไม่ช่วยอะไร มันไม่เกี่ยวข้องกันเลย ชื่อของผมคือแคสเปอร์ นี่คือสิ่งที่ผมอยากพูดออกไปผมไม่เคยรู้สึกกดดันเลยว่า พ่อของผมเป็นใคร” 

 

ยูโร 2020 : เทพนิยายฉบับใหม่! โคนมนำเร็วก่อนเบียดชนะเช็ก 2-1 ทะลุรอบตัดเชือก