ช้ำกว่าสิงห์บลู : ย้อนรอยสาลิกาดงเจ้าของรองแชมป์เอฟเอ 2 ปีติดถึง 2 หน

นิวคาสเซิล

 

เชลซี ต้องอกหักจากเอฟเอ คัพ 2 ฤดูกาลติดต่อกัน และจบด้วยการเป็นแค่พระรอง หลังพ่าย เลสเตอร์ ซิตี้ ในนัดชิงชนะเลิศ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา แต่พวกเขาไม่ใช่ทีมแรกที่ช้ำใจในลักษณะนี้

 

ย้อนกลับไปเมื่อ 22 ปีก่อน นิวคาสเซิล คือทีมที่เราหมายถึง เพราะพวกเขาพ่ายในเกมนัดชิงบอลถ้วยแดนผู้ดี 2 ปีติดต่อกัน ในฤดูกาล 1997-98 ต่อ อาร์เซน่อล และ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 1998-99

 

มากไปกว่านั้น พวกเขายังเคยพบเจอกับเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้วในเกมยุค 1900 กับการรับบทเป็นพระรองอย่างไม่เต็มใจนัก

 

ว่าแต่จุดเริ่มต้นมหกรรมของช้ำชอกของ ‘สาลิกาดง’ กับเหล่าทูน อาร์มี่ มีที่มาที่ไปอย่างไรใน 2 ยุคที่ห่างกันเกือบ 100 ปี UFA ARENA จึงขอพาไปหาคำตอบผ่านบทความชิ้นนี้กัน

 

 

ช้ำซ้ำซ้อนหนแรก

 

When the FA Cup was king for Newcastle United - and everybody else - Chronicle Live

 

ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลเอฟเอ คัพ ตลอด 150 ปีที่ผ่านมา มีทั้งหมด 7 สโมสรหนึ่งต้องอกหักจบตำแหน่งรองแชมป์ในรายการนี้

 

ซึ่งประกอบไปด้วย โอลด์ อีโตเนี่ยนส์, เวสต์บรอมวิช อัลเบี้ยน, ดาร์บี้ เค้าน์ตี้, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, เอฟเวอร์ตัน, นิวคาสเซิล และ เชลซี ในปีล่าสุด 

 

แต่ ‘สาลิกาดง’ นั้นถือว่าช้ำหนักกว่าอีก 6 ทีมที่เหลือ เนื่องจากพวกเขาทีมเดียวที่เป็นรองแชมป์เอฟเอ คัพ 2 ปีถึง 2 หน โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1905 ซึ่งพ่ายให้กับ แอสตัน วิลล่า 2-0 ที่มี แฮร์รี่ แฮมป์ตัน เป็นตัวชูโรง

 

จากนั้นก็ในปี 1906 ถัดมา ก็พ่ายให้กับ เอฟเวอร์ตัน จากประตูโทนของ อเล็กซ์ ‘แซนดี้’ ยัง 

 

ทั้ง 2 ปีของ นิวคาสเซิล มีนักเตะตัวหลักหน้าเดิมเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง จิมมี่ ลอว์เรนซ์ ในตำแหน่งผู้รักษาประตู. แจ็ค คาร์ กับ อเล็กซ์ การ์ดเนอร์ ในตำแหน่งกองหลัง, โคลิน เวทช์ กองกลางกัปตันทีม หรือ เจมส์ โฮวี่ เป็นกองหน้า โดยมี แฟรงค์ วัตต์ กุนซือชาวสก็อต กุมบังเหียน

 

อย่างไรก็ตาม ทีมแดนอีสานของอังกฤษ ในยุคนั้นก็คือเป็นยุคทองของสโมสร หลังคว้าแชมป์ลีก 3 สมัย ในช่วงปี 1905, 1907 และ 1909 รวมถึง เอฟเอ คัพ ก็มาคว้าแชมป์ครั้งแรกได้ในปี 1910

 

ทว่านับตั้งแต่ปี 1955 ที่คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ครั้งสุดท้าย นิวคาสเซิล ก็ไม่เคยได้ชูถ้วยแชมป์ในประเทศแม้แต่รายการเดียว และไม่มีแฟนคนไหนคิดว่าสโมสรจะจบรองแชมป์บอลถ้วย 2 ปีอีกครั้งในอนาคตข้างหน้า

 

 

ฝันสลายในรอบ 43 ปี

 

Alan Shearer's FA Cup Final predictions - BBC News

 

นอกจากไม่สามารถคว้าแชมป์ในอังกฤษมาครองได้ นิวคาสเซิล ยังผ่านการตกชั้นในลีกสูงสุดถึง 3 หน ก่อนเข้าสู่ยุคพรีเมียร์ลีก ซึ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาได้สำเร็จในปี 1992-93 และทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมกับปีแรกในพรีเมียร์ลีกด้วยการคว้าอันดับ 3 ภายในการดูแลของ เควิน คีแกน 

 

พวกเขามีลุ้นคว้าแชมป์ลีกครั้งแรกในรอบ 69 ปี ในฤดูกาล 1995-96 แต่ก็พลาดท่าให้กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน รวมถึงในฤดูกาลถัดมาก็จบรองแชมป์ลีกเช่นกัน

 

ในฤดูกาล 1997-98 ในภายการคุมทีมของ เคนนี่ ดัลกลิช ต้องเสียผู้เล่นตัวหลักไปหลายคน ไม่ว่าจะเป็น ลี คล้าร์ก, ร็อบบี้ เอลเลียด, ดาวิด ชิโนล่า, เลส เฟอร์ดินานด์, ปีเตอร์ เบียดสลี่ย์ รวมไปถึง ฟาอุสติโน่ อัสปริย่า ในช่วงเดือนมกราคม ประกอบกับนักเตะใหม่ที่เข้ามาไม่สามารถทำผลงานได้ดีนัก ส่งผลให้อันดับของทีมร่วงลงมาจบที่ 13 ในตาราง

 

แต่กลับกันในรายการ เอฟเอ คัพ นิวคาสเซิล ดันทำผลงานได้ดี สามารถฝ่าด่านมาได้ตั้งรอบ 3 กับ เอฟเวอร์ตัน, สตีฟเนจ, ทรานเมียร์ โรเวอร์ส, บาร์นสลี่ย์ และ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ในรอบต่อมา จนเข้าไปสู่รอบชิงชนะเลิศได้ในท้ายที่สุด และเป็นครั้งแรกที่พวกเขาเข้าชิงบอลถ้วยในรอบ 24 ปี

 

คู่แข่งที่รออยู่คือ อาร์เซน่อล ภายใต้การคุมทีมของ อาร์เซน เวนเกอร์ที่คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกไปครองเรียบร้อยในฤดูกาลนั้น 

 

 

ในเกมนัดชิงปี 1998 ปืนใหญ่ ได้ประตูขึ้นไปก่อนจาก มาร์ค โอเวอร์มาร์ส ในครึ่งแรกนาทีที่ 23 แต่ถึงอย่างนั้น นิวคาสเซิล ก็พยายามอย่างหนักเพื่อทำประตูตีเสมอให้ได้ แต่ลูกโหม่งของ นิคลอส ดาบิซาส ก็ชนคาน รวมถึงลูกยิงของ อลัน เชียเรอร์ ก็ดันไปชนเสาอีก

 

เมื่อไม่เด็ดขาดเอง ส่งผลให้ อาร์เซน่อล ได้โอกาสฝั่งเม็ด 2 จากประตูของ นิโคลาส์ อเนลก้า ในนาทีที่ 69 และเอาชนะไปด้วยสกอร์ 2-0 คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ สมัยที่ 8 ไปครอง

 

ขณะที่ นิวคาสเซิล ก็ต้องรอคอยความสำเร็จในรายการนี้ต่อไปเป็นปีที่ 43

 

 

อกหักซ้ำสอง

 

Where are they now? The last Newcastle United team to play in an FA Cup final - Chronicle Live

 

ฤดูกาล 1998-99 เกิดการเปลี่ยนตั้งแต่เดือนสิงหาคม เมื่อ ดัลกลิช ถูกปลดจากตำแหน่ง และดึง รุด กุลลิต อดีตกองกลางและกุนซือเชลซี เข้ามารับตำแหน่งแทน

 

แม้ฟอร์มจะดีขึ้นตามลำดับ แต่ผลงานโดยรวมในลีกก็ไม่ต่างจากฤดูกาลก่อน เมื่อคว้าอันดับที่ 13 มาครองเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน แถมตกรอบบอลคัพ วินเนอร์ส คัพ ตั้งแต่รอบแรก หรือ ลีกคัพในรอบ 4

 

ทว่าก็เป็นอีกครั้งเช่นกันที่ ‘สาลิกาดง’ กลับทำผลงานในบอล เอฟเอ คัพ ได้อย่างยอดเยี่ยมต่างจากบอลในลีกราวกับเป็นคนละทีม แถมฝ่าด่านทีมแข็ง ๆ มาตลอด ทั้ง คริสตัล พาเลซ, แบรดฟอร์ด ซิตี้, แบล็คเบิร์น, เอฟเวอร์ตัน และ ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ ที่เอาชนะได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษรอบตัดเชือก

 

นี่กลายเป็นการเข้าชิงบอลถ้วยปีที่ 2 ของ นิวคาสเซิล และเหล่า ทูน อาร์มี่ ก็หวังไว้ว่าทีมรักของพวกเขาคงไม่พบกับชะตากรรมเช่นเดียวกับเมื่อ 93 ปีก่อน เมื่อต้องดวลกับ ‘ปีศาจแดง’ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นทีมเบอร์หนึ่งของอังกฤษในตอนนั้น

 

นัดชิงส่อแววรู้ผลตั้งแต่ช่วงแรกของการแข่งขัน เมื่อทีมของ เฟอร์กี้ ออกนำไปตั้งแต่นาทีที่ 11 จากลูกยิงของ เท็ดดี้ เชอริ่งแฮม

 

นอกจากนี้ เชียเรอร์ ดาวยิงความหวังของ ‘สาลิกาดง’ ก็เงียบสนิท หลังโดน รอนนี่ ยอห์นเซ่น กองหลังยูไนเต็ด ประกบติดจนแผลงฤทธิ์ไม่ออก 

 

เมื่อมาโดนประตูที่ 2 จาก พอล สโคลส์ ที่กดด้วยซ้ายเต็มข้อนอกกรอบ ในนาทีที่ 53 ก็กลายเป็นประตูที่แทบการันตีชัยชนะให้ ทีมสีแดงจากแมนเชสเตอร์ และในขณะเดียวก็แทบการันตีความผิดหวังอีกครั้งให้กับ นิวคาสเซิล เช่นกัน

 

 

ทีมของ กุลลิต มีโอกาสดีที่สุดช่วงท้ายเกมจากจังหวะของ ซิลวิโอ้ มาริช ที่หลุดไปดวลเดี่ยวกับ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล แต่แปด้วยซ้ายหลุดเสาไปดื้อ ๆ 

 

ท้ายที่สุด แมนยูไนเต็ด เอาชนะไปด้วยสกอร์ 2-0 คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ไปครอง ก่อนเดิมหน้าสร้างประวัติศาสตร์ด้วยทริปเบิ้ลแชมป์ในเวลาต่อมา

 

ส่วน นิวคาสเซิล ที่ผิดหวังในเอฟเอ คัพ 2 ปีติด ก็ไม่เคยเข้าชิงบอลถ้วยรายการไหนอีกเลยจนถึงปัจจุบัน  

 

และที่แย่ไปกว่านั้น พวกเขาเป็นทีมแรกในฟุตบอลอังกฤษที่คว้ารองแชมป์ เอฟเอ คัพ 2 ฤดูกาลติด ถึง 2 ครั้ง แบบที่ความพ่ายแพ้ของ เชลซี ในบอลถ้วย 2 หนล่าสุด เทียบไม่ติดไปเลย