ต้องแก้ด่วน : 5 แนวทางปรับปรุง VAR ในพรีเมียร์ลีกให้ดีขึ้นกว่าเคย

 

VAR ที่หลายคนคาดว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ หลังถูกนำมาใช้ในฤดุกาลนี้เป็นครั้งแรก ทว่าผ่านไปแค่ 4 เดือน ทุกอย่างกลับไม่เป็นอย่างที่หลายคนอยากให้เป็น

 

ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมากมายในตลอดฤดูกาลที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นจังหวะการล้ำหน้า, ใบเหลือง และ ใบแดงที่ดูคลุมเครือ ทำให้เกมการแข่งขันช้าลง ขาดความต่อเนื่องอย่างไม่จำเป็น

 

สิ่งเหล่านี้กลายเป็นตัวกระตุ้นให้แฟนบอลคิดถึงฟุตบอลในยุคที่ปราศจากเทคโนโลยีนี้อีกครั้งที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น หรือที่หลายคนเรียกแบบเท่ห์ๆว่า นั่นคือ เสน่ห์ของฟุตบอลที่ขาดหายไปในยุคของ VAR

 

ใช่ เราไม่เถียงว่าสิ่งนี้ทำให้ฟุตบอลเสน่ห์จริงๆ ก็ไม่ได้หมายความว่า VAR ต้องหายไปจากฟุตบอลอังกฤษซักหน่อย แถมนี่ยังเป็นครั้งแรกในแดนผู้ดี ไม่แปลกที่มันจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น แม้จะบ่อยกว่าที่หลายคนคิดก็ตาม

 

เพราะฉะนั้น ทาง UFA ARENA จึงขอเสนอ 5 แนวทางการแก้ปัญหาของ VAR ในพรีเมียร์ลีก ในฤดูกาลนี้ให้ดูดีและสามารถสร้างความยุติธรรมได้มากขึ้นในอนาคต 

 

 

ตัดสินลูกล้ำหน้าด้วยตาาเปล่า

 

 

การตีความเรื่องล้ำหน้าใน VAR น่าจะเป็นปัญหาที่คนในวงการลูกหนังรวมไปถึงแฟนบอลถกเถียงกันมากที่สุด ณ เวลานี้ มันเป็นการตัดสินที่ชัดเจนมากๆ แม้หลายคนอาจไม่ชอบ แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้

 

แต่นั่นคือสิ่งที่เป็นปัญหา ภาพช้าของวีดีโอนั่นเดิมทีถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขความผิดพลาดในลูกล้ำหน้าที่ผิดพลาดเกินกว่าเหตุ ทว่าในตอนนี้มันถูกนำมาตัดมาเป็นภาพเปล่าที่แสดงให้เห็นว่า เท้า,แขน หรือหัวไหล่ของผู้เล่นล้ำหน้าไปไม่ถึง 1 นิ้ว และหลายครั้งก็ล้ำเพียงไม่กี่มิลลิเมตรเท่านั้น

 

วีธีแก้ปัญหาที่ง่ายและใครหลายคนน่าจะเห็นด้วยมากที่สุด คือ ให้ใช้ตัดสินจังหวะล้ำหน้าด้วยตาเปล่าจาก VAR ก็น่าจะเพียงพอและชัดเจนแล้ว ว่าตัวรุกของอีกฝั่งล้ำหน้ากองหลังตัวสุดท้ายของอีกทีมหรือไม่

 

   

ใช้มอนิเตอร์ข้างสนาม

 

 

อีกประเด็นหนึ่งที่คนถกเถียงกันคือ การใช้มอนิเตอร์ข้างสนามจะทำให้เกมการแข่งขันยิ่งช้าลงไป แต่การใช้ VAR ของพรีเมียร์ลีกในตอนนี้ก็ช้ากว่าที่หลายคนคิดอยู่พอสมควร 

 

และถ้ากรรมการในห้อง VAR ไม่สามารถตัดสินใจได้ในเวลาอันสั้น ก็ควรให้กรรมการในสนามเป็นคนชี้ขาดเลยน่าจะดีกว่า เพราะว่าในฤดูกาลนี้มีไม่น้อยเลยที่จังหวะในเกมถูกแทรกแซงจากการตัดสินและมาตรฐานที่สูงเกินไปของ พรีเมียร์ลีก 

 

ทางที่ควรแก้ไขคือควรทำให้เรื่องนี้ง่ายขึ้น, เคารพการทำหน้าที่ของผู้ตัดสิน และจำกัดการถกเถียงหลังเกมเกี่ยวกับการตัดสินจากคนๆเดียวในทุกจังหวะ แต่ถ้าการเดินมาพบกันตรงครึ่งทางเป็นปัญหาใหญ่เกินไปอีก บางทีกรรมการก็ควรถือไอแพด และมีกระเป๋าหน้าท้องเหมือน จิงโจ้ หรือ เทเลทับบี้ เพื่อดูภาพช้าจากอุปกรณ์นั้นเองเลย

 

เริ่มจำกัดเวลาการใช้  VAR

 

 

ในการแข่งขันบางจังหวะ VAR ใช้เวลานานมากกว่าจะตัดสินและชี้ขาดว่ามีผลเป็นอย่างไร ซึ่งทุกครั้งที่มีการใช้ ไม่มีใครรู้เวลาแบบแน่ชัดเลยว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่

 

ไม่แปลกใจที่จะมีแฟนบอลหลายคนต่อต้าน VAR จากเหตุผลนี้ ทำให้เราคิดว่า กรรมการควรริเริ่มใช้การจำกัดเวลาของ VAR ในแต่ละครั้งที่เรียกใช้ได้แล้ว โดยใช้เวลา 30 วินาทีเป็นอย่างน้อย และ 1-2 นาทีเป็นอย่างมากที่สุด

 

 แน่นอนว่า การใช้สัญชาตญาณไม่ใช่เรื่องที่ควรทำนักในการตัดสินแต่ละครั้ง แต่หากมี มอนิเตอร์ ข้างสนามให้ กรรมการในสนามเป็นคนเห็นเหตุการณ์และใช้วิจารณญาณจริงๆ น่าจะทำให้เวลาของการ VAR ลดน้อยลง

 

  

ระบุกฏหรือแนวทางที่ชัดเจน

 

 

มาตรฐานการตัดสินจาก VAR หลายครั้งดูคลุมเครือและสุดโต่งเกินไป จากที่ไม่มีการเปลี่ยนคำตัดสินเลยใน 9 นัดแรกของพรีเมียร์ลีก แต่จู่ในสัปดาห์ที่ 10 ก็มีการเปลี่ยนคำตัดสินไป 6 ครั้ง และค่อยๆเพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน

 

แน่นอนว่าการหาจุดลงตัวในการอธิบายกฏให้ชัดเจนนั้นจะต้องพบกับปัญหาแน่นอน แต่ทาง พรีเมียร์ลีก ก็ต้องพยายามต่อไปในเรื่องนี้ ซึ่งกรรมการทั้งในสนามกับเจ้าหน้าที่ในห้อง VAR น่าจะหาจุดลงตัวในการแก้ไข หรือ ชี้ชัดเจนถึงเรื่องนี้ได้

  

 

อย่าทำให้กีฬาเป็นหุ่นยนต์

 

 

คงไม่ผิดนักหากจะบอกว่า พรีเมียร์ลีก ในฤดูกาล 2019-20 ถูกทำลายความสนุกสนามเร้าใจลง เนื่องจาการทดดลองใช้ VAR เป็นครั้งแรกของลีก

 

 แฟนบอลทั่วโลกต่างเติบโตมากับฟุตบอลในลักษณะเดียวกันที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่มีลูกบอลเข้าไปตุงตาข่าย แต่เมื่อเวลาผ่านไป VAR กลับทำให้ความสนุกสนานในเกมลูกหนังค่อยๆหดหายลงไป หลายคนต้องรอการยืนยันประตูจาก VAR ก่อนถึงค่อยเฉลิมฉลองประตูได้อย่างเต็มเหนี่ยว

 

แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า VAR ไม่ควรนำมาใช้ในกีฬาฟุตบอลอีกต่อไป เพราะถ้าหากไม่มีเทคโนโลยีนี้ การตัดสินที่ผิดพลาดก็คงถูกหยิบยกมาพูดถึงอีกไม่รู้จบเหมือนที่เราเคยเห็นๆกันเมื่อก่อน

 

อย่างน้อยที่สุด เราเชื่อว่ามันยังมีวิธีในการช่วยกันพัฒนาให้มันออกสมบูรณ์และแฮปปี้กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสโมสร, ผู้จัดการทีม, นักเตะ และ แฟนบอล เพียงต้องตระหนักไว้ว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาของมนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์ ควบคู่ไปการปรับปรุง VAR ด้วยเช่นกัน