ถอดเสื้อวอร์มใส่สูท 7 คนวงการลูกหนังกับผลงานเลือกตั้ง ปี 62

การเมืองไทยกำลังเข้มข้น การเลือกตั้ง ปี 62 กำลังเดินไปอย่างดุเดือด ทำให้คนในวงการกีฬา(หลายคน) ต้องถอดเสื้อวอร์มใส่สูท ทำหน้าที่เป็นเสียงของประชาชน ซึ่งในวงการการเมืองก็มีคนในวงการลูกหนังอยู่ไม่น้อย หลายคนเป็นระดับบิ๊กๆ วันนี้ UfaAre

 

 

1. วนัสธนา สัจจกุล (อดีตผู้จัดการทีมชาติไทย)

 

วนัสธนา สัจจกุล ชื่อเดิม ธวัชชัย สัจจกุล อดีตผู้จัดการทีมชาติไทย ซึ่งประสบความสำเร็จเมื่อ 30 ปีก่อน สร้างนักเตะชื่อดังที่ถูกเรียกว่า “ดรีมทีม” พาทีมคว้าเหรียญทองซีเกมส์ได้อย่างยอดเยี่้ยม

 

บิ๊กหอย เคยดำรงตำเเหน่งทั้ง สภากรรมการฯ, ผู้จัดการทีมชาติไทย, ประธานจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ หลังจากนั้นเจ้าตัวก็เริ่มเดินเข้าสู่วงการ “การเมือง” อย่างเต็มตัว เขาได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ในรัฐสภาในฐานะผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทย เเต่ในการเลือกตั้ง ปี 62 เจ้าตัวสมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โดยให้เหตุผลว่า เป็นเพราะ คสช.ยึดอำนาจสกัดสงครามกลางเมือง ทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้

อย่างไรก็ตาม บิ๊กหอย ยังคงต้องรอโอกาสต่อไป เพราะ พปชร. เลือก ภาดา วรกานนท์ ลงเป็น ส.ส. เขต 1 หรือดุสิต ที่ บิ๊กหอย เป้นเจ้าของพื้นที่สมัยอยุ่กับเพื่อไทย

 

2. วทันยา วงษ์โอภาสี (อดีตผู้จัดการทีมฟุตบอล U23)

 

วทันยา วงษ์โอภาสี ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในอันดับที่ 19 ที่โด่งดังจากการรับงานผู้จัดการทีมชาติไทยชุดยู 23 ก่อนจะหันหลังให้วงการ อย่างไรก็ตามเธอได้รับคำชมจากการทำหน้าที่ไม่น้อย เพราะหลังรับตำเเหน่ง เธอก็พาวงการฟุตบอลเยาวชนไปได้สวย สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอล 4 เส้า เนชั่นส์ คัพ เมื่อปี 2559 ที่ประเทศมาเลเซีย และแชมป์ดูไบคัพ เเละผลงานเด่นสุดคือ คว้าเหรียญทองในศึกซีเกมส์ครั้งที่ 29 เเละผลักดันนักเตะดาวรุ่งฝีเท้าดีขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่

 

เเต่หลังจากนั้น เธอก็ประกาศขอยุติบทบาทในวงการฟุตบอลโดยเผยว่า “หลังจากดิฉันทำงานในวงการกีฬา ก็ได้อยู่กับสื่อเเละเดินทางไปหลายที่ เห็นปัญหามากมายจึงต้องการเข้ามาเเก้ไขตรงนั้น”

 

อย่างไรก็ตาม การลงเลือกตั้งครั้งนี้ของ “มาดามเดียร์” เธอไม่มีนโยบายเกี่ยวกับฟุตบอลที่เด่นๆ เเต่เน้นไปที่การพัฒนาดิจิทัล, เรื่องเทคโนโลยี เเละเศรษฐกิจมากกว่า

 

การเลือกตั้งครั้งนี้ มาดามเดียร์ ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเธอมีรายชื่ออยู่ในอันดับที่ 19 ขณะที่ พรรคพลังประชารัฐ ได้คะเเนน ส.ส. บัญชีรายชื่อเเค่ 17 คน

 

 

3. วรวีร์ มะกูดี (อดีตนายกสมาคมฟุตบอล)

 

นายวรวีร์ มะกูดี คนในวงการฟุตบอลคงไม่มีใครไม่รู้จักเขาในฐานะอดีตนายกลูกหนังไทย เเต่หลังเเพ้การเลือกตั้งให้กับ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกลูกหนังไทยในปัจจุบัน รวมถึงมีคดีกับฟีฟ่า เจ้าตัวก็หายหน้าหายตาไปนาน

 

ล่าสุด บังยี กลับมาอีกครั้งกับบทบาทใหม่เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาชาติ ตามคำชวนของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรค โดยเป็นผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 3 ซึ่งก็ดูเหมือนจะสอบตก เพราะพรรคประชาชาติ ได้รับเลือก ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์เเค่ 1 คน ซึ่งหมายถึงเราจะไม่ได้เห็น นายวรวีร์ ในสภาเเน่นอน

 

ส่วนนโยบายที่อดีตผู้นำลูกหนังไทยชู อาจจะไม่เกี่ยวกับฟุตบอล เพราะเน้นไปที่การพัฒนาชาติอย่าง ย้ายศูนย์ราชการ ปลูกต้นไม้ แก้รถติด ฝุ่นละออง

 

 

4. สามารถ มะลูลีม (อดีต ผจก, ทีมชาติไทย ซีเกมส์ ตกรอบที่ลาว)

 

สามารถ มะลูลีม หรือ “บังมาด” อุปนายกสมาคมฟุตบอล เเละ อดีต ผจก. ทีมชาติไทย ซึ่งผลงานที่ทุกคนจำ เเต่เจ้าตัวคงไม่อยากจำคือการพาทีมช้างศึก ตกรอบเเรกซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่ประเทศลาว ถ้าใครยังจำกันได้กุนซือชุดนั้นคือ สตีฟ ดาร์บี้ โค้ชชาวอังกฤษ

 

สำหรับ บังมาด มีความสนิทกับ วรวีร์ มะกูดี เป็นอย่างมาก เเละออกจากสมาคมฟุตบอลพร้อมกัน หลังจากนั้นเจ้าตัวก็หันมาเล่นการเมืองเต็มตัว เป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัครในระดับเขต

 

เเต่ในปี 2562 นี้ บังมาด ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เขาลงสมัครเป็น ส.ส. เขต 20 (สวนหลวง, ประเวศ) เเต่พรรคประชาธิปัตย์ เเพ้ ผู้สมัครหน้าใหม่ของพรรคอนาคตใหม่ ทั้งที่ในเขตนั้นไม่มีผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย(ไม่ส่ง)เเละไทยรักษาชาติ(ถูกยุบ)

 

5. วราวุธ ศิลปอาชา (ประธานสโมสรสุพรรณบุรี)

 

ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น วราวุธ ศิลปอาชา หรือ บิ๊กท็อป ลูกชายหัวเเก้วหัวเเหวนของ นาย บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี โดยเจ้าตัวดำรงตำเเหน่งประธานสโมสรสุพรรณบุรีเเละเเกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา ลงลือกตั้งในปี 62 ด้วย

 

เรื่องในวงการกีฬาเจ้าตัวสร้างชื่อในฐานะ ประธานสโมสรสุพรรณบุรี ที่พัฒนาทีมฟุตบอลประจำจังหวัดขึ้นมาอยู่หัวเเถวของไทยลีก เเต่ก็ไม่ทิ้งอุดมการณ์ทางการเมืองตามรอยเท้าพ่อ การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคชาติไทยพัฒนา ถือว่าทำผลงานได้ดีไม่น้อย ได้ ส.ส. เขต 6 + ปาร์ตี้ลิสต์ 5 เเละเเน่นอน บิ๊กท็อป ในฐานะเเกนนำมีรายชื่อเป็นอันดับ 1 ได้เข้าร่วมสภาฯ เเน่นอน

 

6. อนุชา นาคาศัย (ประธานสโมสรชัยนาท ฮอร์นบิล)

 

อนุชา นาคาศัย ประธานสโมสร “นกใหญ่พิฆาต” ชัยนาท ฮอร์นบิล ที่เคยโลดเเล่นเเละสร้างชื่อในไทยลีก ผลงานที่ดีที่สุดคือการพาทีมเข้ารอบรองชนะเลิศ ไทย เอฟเอ คัพ ปี 2559 เเละคว้าเเชมป์ร่วมกับ สุโขทัย เอฟซี, ราชบุรี มิตรผล, ชลบุรี เอฟซี (ปีที่ในหลวงรัชการที่ 9 เสด็จสวรรคต)

 

สำหรับ อนุชา เป็นนักการเมืองในจังหวัดชัยนาทอยู่เเล้วเเละเคยเป็นอดีต ส.ส. มาเเล้วหนึ่งสมัย โดยในปี 2562 เจ้าตัวลงสมัคร ส.ส.ชัยนาท เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จได้รับเลือกคะเเนนเป็นอันดับ 1 ด้วยคะเเนน 4 หมื่นกว่า เอาชนะพรรคเพื่อไทยได้อย่างสวยงาม

 

 

7.กรวีร์ ปริศนานันทกุล (รองประธานจัดเเข่งไทยลีก)

 

นาย กรวีร์ ปริศนานันทกุล รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการแข่งขัน บริษัท ไทยลีก จำกัด และรักษาการเลขาธิการสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ มีรายชื่อเป็น ผู้สมัครแบบปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคภูมิใจไทยอีกด้วย รวมถึงยังเป็นที่ทราบกันดีว่า พรรคภูมิใจไทย ที่มีต้นกำเนิดมาจาก ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน มีความใกล้ชิดกับ เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ที่ประกาศวางมือจากการเมือง และไม่มีตำแหน่งใดๆในพรรค

 

แต่ยังคงให้คำปรึกษา และมีความสัมพันธ์อันดีกับ อนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่ได้ใช้สนามช้าง อารีนา เป็นสถานที่เปิดตัวพรรค พร้อมผู้สมัครในการเลือกตั้งครั้งนี้ แถมยังได้กล่าวบนเวทีว่า จะนำเอา “บุรีรัมย์โมเดล” ไปใช้ทั่วทั้งประเทศ

 

ส่วนผลงานในการเลือกตั้งครั้งนี้ นาย กรวีร์ ถูกเสนอชื่อเป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อลำกับ 9 เเต่ กกต. ประกาศผลไม่รับรองเนื่องจากขาดคุณสมบัติเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ไม่ถึง 90 วัน ซึ่งอยู่ระหว่างเจ้าตัวได้ยื่นศาลเพื่อขอทวงสิทธิ์คืน เพราะพรรคภูมิใจไทยได้ที่นั้ง ปาร์ตี้ลิสต์ 13 คน ถ้าเจ้าตัวได้สิทธิ์คืนก็มีโอกาสเข้าไปนั่งในสภาฯ