ทุกเสียงมีค่า : 8 เหตุการณ์แฟนบอลรวมพลังประท้วงต้านอยุติธรรม

 

หลังเปิดตัวได้ราว 2 วัน ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก ก็ล่มไม่เป็นท่า เมื่อ 6 สโมสรจากพรีเมียร์ลีกชิงถอนตัวออกมาจากรายการ หลังโดนกระแสต่อต้านอย่างหนักจากคนวงการลูกหนังทั่วโลก

 

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เจ้าของทีมบรรดาบิ๊กซิกซ์แดนผู้ดี ตัดสินใจถอนตัว มาจากแรงขับเคลื่อนอันทรงพลังของแฟนบอล ไม่ว่าจะในอังกฤษ หรือโลกออนไลน์ ที่เบื้องหลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

 

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าแฟนบอลอาจรู้สึกไม่มีพลังในการส่งเสียงให้สโมสรที่รักได้รับรู้ถึงสิ่งที่ต้องการ แต่หากพวกเขาร่วมตัวกันเมื่อไหร่ เสียงเหล่านั้นก็ยิ่งส่งสะท้อนไปถึงผู้อยู่เบื้องบนของทีมได้อย่างกึกก้อง รวดเร็ว และทรงพลัง

 

นอกจากการเปลี่ยนแปลงของ ซูเปอร์ลีก แล้ว UFA ARENA จะขอพาไปย้อนพบ 8 เหตุการณ์ที่แฟนบอลร่วมพลังต่อต้านแนวคิดของสโมสรหรือเจ้าของทีมที่พวกเขามองว่าไม่ยุติธรรมในวงการลูกหนัง

 

 

20 ปอนด์ก็เยอะพอแล้ว

 

Twenty's Plenty campaign sets fan sense against Premier League greed |  Soccer | The Guardian

 

ในปี 2016 สโมสรในพรีเมียร์ลีก ได้ตกลงราคาตั๋วเยือนที่ 30 ปอนด์ ทำให้แฟนบอลในอังกฤษได้ก่อตั้งแคมเปญ ซึ่งนำโดย สมาคมแฟนบอล ใช้สโลแกนว่า ‘twenty’s plenty’ (แค่ 20 ปอนด์ก็เยอะพอแล้ว)

 

จุดมุ่งหมายก็ตามสโลแกนแนะนำ นั่นคือการจำกัดตั๋วที่ราคา 20 ปอนด์ แต่อย่างน้อยแคมเปญก็สร้างผลกระทบบางอย่างทำให้ราคาลดลงจากที่ตั้งไว้สูงเกินไปก่อนหน้านั้น 

 

 

ตั๋วหงส์แดงแพงเกิน

 

FSG reacts to Liverpool fans protests

 

แผนการเล่นซูเปอร์ลีกของยุโรปยังห่างไกลจากครั้งแรกที่ แฟรเวย์ สปอร์ต กรุ๊ป เจ้าของลิเวอร์พูลสร้างความเดือดดาลให้กับแฟนหงส์แดงในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2016

 

ณ เวลานั้น สโมสรประกาศว่าตั๋วชมเกมบางนัดในแอนฟิลด์ จะสูงมากถึง 77 ปอนด์ในฤดูกาลหน้า ส่วนตั๋วรายปีเพิ่มเป็น 1,000 ปอนด์ จากเดิม 869 ปอนด์ ทว่าเกมในบ้านนัดต่อมาที่พบกับ ซันเดอร์แลนด์ เดอะ ค็อป ในสนามกว่าหมื่นคนรวมตัวเดินออกจากสนามไปในนาทีที่ 77 เพื่อสื่อให้รู้ว่าพวกเขาไม่พอใจสโมสรที่ขึ้นค่าตั๋วในฤดูกาลถัดไป

 

สัปดาห์ต่อมา จอห์น เฮนรี่ เจ้าของทีม และ 2 ผู้บริหารอย่าง ทอม แวร์เนอร์ กับ ไมค์ กอร์ดอน ได้แถลงการณ์ว่าพวกเขาเปลี่ยนใจ กลับไปใช้ค่าตั๋วสูงสุดที่ 59 ปอนด์ตามเดิม พร้อมขอโทษเหล่าแฟนบอลหงส์แดงจนกลับมามีสัมพันธ์อันดีตามเดิม

 

 

เมื่อหงส์ปลดสต๊าฟ

 

Liverpool Place Some Non-Playing Staff on Furlough, Ensure Full Wages - The  Liverpool Offside

 

กลุ่มผู้บริหารของ ลิเวอร์พูล อย่าง FSG สร้างความเดือดดาลให้กับ เดอะ ค็อป อีกครั้ง 

 

ในเดือนเมษายนปี 2020 ลิเวอร์พูล ประกาศเข้าร่วมรับเงินเยียวยาจากรัฐบาล โดยที่พนักงานที่พักงานจะยังได้รับค่าจ้างเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์เช่นเดิม แต่ว่ารัฐบาลจะเป็นฝ่ายออกให้ 80 เปอร์เซ็นต์ (ไม่เกิน 2,500 ปอนด์) ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ สโมสรจะเป็นฝ่ายออกทั้งหมด ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดใหม่ ๆ

 

นั่นทำให้ แฟน ๆ และอดีตผู้เล่นชี้ไปที่ผลกำไร 42 ล้านปอนด์ที่สโมสรได้ทำในปีงบการเงินก่อนหน้านี้ และความร่ำรวยของเจ้าของประมาณ 2 พันล้านปอนด์ ซึ่งบ่งบอกว่าการเข้าโครงการนี้ช่วยให้พวกเขาประหยัดได้เพียงไม่เท่าไหร่ ก่อนที่ FSG จะออกมาแถลงการณ์ขอโทษอีกครั้ง

 

 

Project Big Picture

 

Project Big Picture Q&A: All you need to know about Premier League shake-up  proposal | Football News | Sky Sports

 

เจ้าของ ลิเวอร์พูล สร้างเรื่องจนต้องออกมาขอโทษอีกครั้ง แต่ท่าหนนี้เขาไม่ได้เป็นผู้ที่มีความผิดคนเดียว

 

FSG และตระกูลเกลเซอร์ เจ้าของทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้เดินหน้าสร้างโครงการมีชื่อเรียกว่า ‘Project Big Picture’ เพื่อช่วยเพิ่มเกราะป้องกันทางการเงินและเศรษฐกิจของฟุตบอลอังกฤษลีกล่าง

 

แม้ฟังดูดี แต่ผลโหวตส่วนใหญ่ในการชี้ขาดกับเลือกปฏิเสธมากกว่าตอบรับหรือเห็นด้วยกับโปรเจ็คนี้ เนื่องจากภาพรวมทั้งโปรเจ็คคือการขยายอำนาจให้กับกลุ่ม บิ๊กซิกซ์ ให้มากกว่าเดิมอีกหลายเท่า ขณะที่เสียงของสโมสรอื่นบนลีกสูงสุดถูกริดรอน

 

ไม่แปลกที่แฟนบอลในอังกฤษ จะไม่ยอมรับกับโครงการจอมปลอมที่จะทำลายประชาธิปไตยในฟุตบอลแดนผู้ดี และการประท้วงของคนทั่วประเทศก็ส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาของรัฐบาลเช่นกัน

 

 

แฟนยูงทองประท้วง(ว่าที่)เจ้าของใหม่

 

Leeds United owner Massimo Cellino offers to sell 20 per cent of club to  help 'businessmen' get round third party rules

 

ก่อนหน้าที่ ลีดส์ ยูไนเต็ด จะกลับมาเล่นในพรีเมียร์ลีกได้อีกครั้งในรอบ 16 ปี พวกเขาต้องปวดหัวกับ มัสซิโม่ เซลลิโน่ นักธุกิจชาวอิตาเลี่ยน เจ้าของทีมคนใหม่อยู่พักใหญ่ในปี 2014 

 

แม้ว่าในตอนแรก เขายังไม่ได้เป็นเจ้าของทีมแบบเต็มตัว ไม่ได้มีอำนาจในอะไรในทีม กลับตัดสินใจปลด ไบรอัน แม็คเดอม็อตต์ ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม ในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน

 

นั่นทำให้แฟน ยูงทอง รวมตัวกันหน้าสนาม เอลแลนด์ โร้ด เพื่อทำการประท้วง จนทำให้ เซลลิโน่ ต้องเรียกแท็กซี่ และต้องหนีแฟนบอลในบริเวณสนามเพื่อพาเขาไกลับไปโรงแรม

 

หลังเกมดาร์บี้ที่ถล่ม ฮัดเดอร์สฟิลด์ 5-1 ในวันต่อมา  จีเอฟเอช แคปปิตอล เจ้าของสโมสรในตอนนั้น ประกาศว่า แม็คเดอม็อตต์ ยังไม่ได้โดนไล่ออก และพยายามรั้งไว้สุดตัวเท่าที่จะทำได้

 

แต่เมื่อ เซลลิโน่ เทคโอเวอร์สำเร็จ กุนซือชาวอังกฤษก็ต้องลาทีมไปหลังจบฤดูกาลนั้น แต่งตั้ง เดฟ ฮ็อคอเดย์ กุนซือโนเนมที่เคยคุมแค่ทีมนอกลีก เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี 2014 ซึ่งผลลัพธ์ก็พังไม่เป็นท่า

 

 

แฟนเมืองเบียร์ไม่เอา ‘มันเดย์ไนท์’

 

Bundesliga team protests playing on Monday night with toilet paper

 

ฟุตบอลในคืนวันจันทร์กลายเป็นตารางการรับชมสำหรับแฟนบอลในอังกฤษ แต่ฟุตบอลในคืนวันจันทร์ไม่ใช่สิ่งที่แฟนบอลต้องการหรือรับได้เลย

 

แน่นอนว่าแฟนบอลเมืองเบียร์อยู่ในสถานะที่ได้เปรียบกว่าแฟนบอลชาติอื่น ด้วยการมีรูปแบบการเป็นเจ้าของสโมสร ’50 +1 ′แต่นั่นไม่ใช่จุดแข็งเพียงอย่างเดียวของพวกเขา

 

ช่วงฤดูกาล 2017-18 แฟนบอลมากกว่า 350 สโมสรในเยอรมันกำลังรวมพลังต่อต้านโปรแกรมแข่งขันในวันจันทร์ เพราะไม่พอใจที่ลีกง่วนอยู่กับการหาผลประโยชน์เรื่องลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบากในการเดินทางชมเกมของแฟนบอล และมีการประท้วงเรื่อยมา

 

เช่นในปี 2018 กองเชียร์ แฟรงค์เฟิร์ต เคยสร้างความปั่นป่วนเกม “มันเดย์ ไนท์ ด้วยการขว้างลูกเทนนิส และกระดาษชำระจากอัฒจันทร์ และเกมต่อมาที่แฟนบอล โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ รวมหัวกันบอยคอตต์ 

 

ท้ายที่สุด แฟนบอลก็เป็นฝ่ายชนะ เมื่อ เดเอฟเบ รับปากว่าจะไม่ตอบรับดีลเกมมันเดย์ไนท์ในการแข่งขันอีก และจะไม่มีการวางคิวเตะคืนวันจันทร์ ภายใต้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ตั้งแต่ฤดูกาล 2021-22 เป็นต้นไป

 

 

แฟนเสือเหลืองประท้วงค่าตั๋ว

 

Borussia Dortmund Club fans stage protest against ticket prices

 

แฟบอลเยอรมันมักประท้วงเรื่องค่าตั๋วยามพวกเขาต้องไปเยือน ทีมฟุตบอลในอังกฤษ แต่ในปี 2015 พวกเขาก็เคยเจอกับปัญหานี้ในบุนเดสลีก้าที่มีการขึ้นค่าตั๋วเกมลีก

 

ราคาสูงขึ้น ในขณะที่การปฏิบัติต่อแฟนบอลก็ถูกคำถามในหลาย ๆ สนาม แต่ชัดเจนที่สุดคือเกมที่ ฮอฟเฟ่นไฮม์ เรียกเก็บเงิน แฟนบอล โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ผู้เป็นทีมเยือนกว่า 55 ยูโร นั่นทำให้ สาวก เสือเหลือง บอยค็อตต์ ทันที และมันก็ได้ผลสุด ๆ

 

ฮอฟเฟนไฮม์ ลดราคาค่าตั๋วลงและบริจาคเงินบางส่วนจากค่าตั๋วให้กับองค์กรการกุศลของดอร์ทมุนด์ ด้วย

 

 

การประท้วงครั้งใหญ่ในชิลี

 

The real cause of the protests in Chile is institutional breakdown - CapX

 

นี่อาจไม่ใช่เรื่องในสโมสรฟุตบอลแบบก่อนหน้านี้ แต่นี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าพลังของแฟนบอลมีมากแค่ไหน เมื่อพวกเขาร่วมตัวกัน

 

ในปี 2019 และ 2020 ชาวชิลีหลายล้านคน ร่วมลงถนนประท้วงกับนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ของประธานาธิบดี เซบาสเตียน ปิเนร่า ที่ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นทั่วประเทศ แต่มีค่าแรงที่น้อยลง ซึ่งไม่ได้ส่งผลต่อแฟนบอล แต่รวมถึงคนที่หาเลี้ยงชีพอยู่ในสนามด้วย

 

การเดินขบวนที่ยิ่งใหญ่และส่งเสียงสะท้อนมากที่สุด เกิดขึ้นจากการเสียชีวิตของ ฆอร์เก้ โมร่า แฟนของ โคโล โคโล่ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

 

แฟน ๆ ของ โคโล โคโล่ ได้รวมพลังกับแฟน ๆ ของสโมสรอื่น ๆ เพื่อประท้วงทั้งในและนอกสนาม เมื่อ โมร่า ถูกรถตู้ตำรวจชนเสียชีวิตขณะออกจากสนามกีฬาของทีมเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2020

 

การประท้วงเกิดขึ้นจากกลุ่มแฟนคลับของทุกสโมสรในประเทศ และในช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบแฟนบอล โคโล โคโล่  อีกคนถูกตำรวจยิงเสียชีวิต ขณะที่หนึ่งในหลายพันคนต้องทนทุกข์ทรมานจากน้ำมือของตำรวจ

 

แต่การเดินขบวนยังคงดำเนินต่อไปและแม้ว่า ปิเนร่า จะไม่ลาออก แต่ก็มีการลงประชามติว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ซึ่งมีผู้ที่เข้าร่วมกว่า 78% เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และมีกระบวนการลงคะแนนยังดำเนินการต่อไปเพื่อตัดสินใจว่าใครจะเขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้