นักเตะมีอ้วก : เหตุใดการไม่ใช้กฏเปลี่ยนตัว 5 คนในพรีเมียร์ลีกจะส่งผลเสียในฤดูกาลใหม่

 

เมื่อฟุตบอลกลับมาจากการหยุดชะงักของไวรัสโควิด-19 ลีกต่างๆในยุโรปก็หวนคัมแบ็คแข่งขันขันกันอีกครั้ง โดยเพิ่มกฏการเปลี่ยนได้ 5 คนเนื่องจากกังวัลเรื่องสุขภาพและความฟิตของนักเตะ ซึ่ง พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ก็เป็นหนึ่งในลีกที่ใช้กฏนั้น

 

แต่ว่าในฤดูกาลใหม่ ลีกยักษ์ใหญ่ เช่น ลาลีก้า สเปน หรือ บุนเดสลีก้า เยอรมัน เลือกที่จะกฏนี้ต่อไป แต่ลีกสูงสุดแดนผู้ดีกลับยกเลิก โดยมีรายงานว่าทีมเล็กๆในลีกต่างกังวลว่าจะเสียเปรียบสโมสรใหญ่ๆ หากใช้กฏดังกล่าว 

 

อย่างไรก็ตามแม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับตัวเลือกของทีมและข้อได้เปรียบที่ได้รับจากการเปลี่ยนตัวเพิ่มอีก 2 คนที่จะมีผลกระทบอย่างแน่นอนในเกม แต่หากมองในระยะยาวแล้ว การกลับไปใช้การเปลี่ยนตัวเพียง 3 คน มีแนวโน้มว่าจะส่งผลเสียต่อสโมสรเล็กๆ มากกว่าทีมใหญ่ๆค่อนข้างสูงเลย รวมถึงภาระที่นักเตะทั้งลีกต้องแบกรับไปพร้อมๆกัน

 

เพื่อที่จะเข้าใจถึงเหตุผลนั้น UFA ARENA จะพาไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุดังกล่าวที่น่าจะส่งผลต่อสโมสรในพรีเมียร์ลีก 2020-21 มากพอสมควร กับการยกเลิกกฏเปลี่ยนตัว 5 คน

 

 

เปลี่ยนเพราะโควิด

 

 

ฟุตบอลลีกในยุโรปต้องถูกระงับการแข่งขัน หลังจากไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วทุกภูมิภาค โดยลีกในยุโรปนั้นหยุดแข่งไปตั้งแต่เดือนมีนาคม สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ FIFA จึงแสดงเป็นห่วงสุขภาพของนักเตะ เพราต้องพักการแข่งขันและการลงซ้อมทีมไปนาน และอาจต้องลงเล่นถี่กว่าเดิมเพื่อเร่งปิดฤดูกาลโดยเร็วที่สุด

 

ด้วยเหตุนี้ FIFA จึงจึงเสนอให้มีการปรับกฎเปลี่ยนตัวใหม่ จากเดิมอนุญาตให้เปลี่ยน 3 คน เพิ่มเป็น 5 คน แต่จะอนุญาตให้แต่ละทีมเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้แค่ 3 ครั้ง (ไม่รวมตอนพักครึ่งด้วย) ในระหว่างเกม เพื่อป้องกันไม่ให้เกมถูกหยุดบ่อยจนเกินไป

 

ก่อนที่ คณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศ หรือ IFAB สำนักงานที่ดูแลเรื่องการออกกฎในกีฬาฟุตบอล จะอนุมัติใช้กฏดังกล่าว โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป แต่จะใช้แค่เพียงชั่วคราวไปจนถึงช่วงจบฤดูกาล 2020-2021 เท่านั้น

 

ต่อมา พรีเมียร์ลีกก็เป็นอีกหนึ่งลีกที่ประกาศบังคับใช้กฎเปลี่ยนตัวได้ 5 คนต่อเกมด้วยเช่นกัน รวมถึงยังอนุญาตให้ใส่ชื่อตัวสำรองได้เพิ่มเป็น 9 คน จากเดิมที่ใส่ได้ 7 คนอีกด้วย โดยจะใช้กฎนี้เฉพาะช่วงเวลาที่เหลือของฤดูกาล 2019-20

 

 

ทีมเล็กเห็นต่าง

 

 

อย่างกล่าวไปข้างต้นว่า FIFA และ IFAB  ได้อนุญาตให้ลีกต่างๆ สามารถใช้กฎพิเศษนี้ได้จนจบฤดูกาลหน้า 2020/21 แต่ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละลีกเองว่าจะเลือกใช้ต่อหรือไม่

 

ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมได้มีการประชุมจากสโมสรในพรีเมียร์ลีก 20 ทีม รวมถึงน้องใหม่อย่าง ลีดส์ ยูไนเต็ด, เวสบรอมวิช และ ฟูแล่ม โดยมีรายงานจากสื่อว่า บรรดาสโมสรครึ่งบนของพรีเมียร์ลีกนั้น ต่างสนับสนุน เชลซี ที่ต้องการให้ใช้กฎเปลี่ยนตัว 5 คนต่อ

 

อย่างไรก็ตามเสียงโหวตในประเด็นนี้ไม่เป็นผลเนื่องจากมีเสียงสนับสนุนไม่ถึง 2 ใน 3 (หรือ 14 จาก 20 สโมสร) เพราะบรรดาทีมเล็กนั้นต่างมองว่า อาจเสียเปรียบทีมบิ๊กเนมที่ทรัพยากรนักเตะดีกว่าและเปลี่ยนตัวได้มากกว่า จึงส่งผลให้ฤดูกาลหน้าพรีเมียร์ลีกจะกลับไปใช้กฎเปลี่ยนตัวได้ 3 คนต่อเกมและมีตัวสำรอง 7 คนต่อแมตช์ตามเดิม

 

ในส่วนอื่นๆอย่างการใช้วีดีโอช่วยตัดสิน ทุกสโมสรยังเห็นพ้องให้ใช้ VAR ช่วยตัดสินในระบบตามคำแนะนำของ FIFA ที่เน้นให้ผู้ตัดสินหลักในสนามจะต้องวิ่งไปดูจอมอนิเตอร์ในจังหวะกังขา ทั้งการได้ประตู, ใบแดง หรือจุดโทษ

 

ทว่าหากมองถึงผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตลอดฤดูกาล 2020-21 การเปลี่ยนตัวได้แค่ 3 คน ย่อมส่งกระทบต่อทุกทีมในลีกผู้ดี ต่อให้เป็นทีมใหญ่นักเตะเยอะ หรือทีมเล็กที่มีผู้เล่นจำกัดก็ตาม

 

ผลกระทบระยะยาว

 

 

โดยปกติแล้วเมื่อผู้เล่นกลับมาจากช่วงพักร้อน ระดับความฟิตจะลดลงโดยธรรมชาติ ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นในการซ้อมที่ยกระดับความเข้มข้นขึ้นตั้งแต่ช่วงแคมป์ฝึกซ้อมตอนซัมเมอร์ไปจนถึงช่วงพรีซีซั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงแข่งขันจริงจะมีความเสี่ยงสูงสุดต่อการบาดเจ็บ

 

สำหรับฤดูกาล 2020/21 การเพิ่มความเข้มข้นในการฝึกซ้อมมีแนวโน้มที่หนักขึ้นน้อยกว่าปกติเนื่องจากผู้เล่นหลายคนลงแข่งขันกันตลอดในช่วงซัมเมอร์ ทำให้ระดับความฟิตลดลงไม่มากนัก

 

ดังนั้นความกังวลหลักจึงกลายเป็นการเหนื่อยล้าสึกหรอที่เพิ่มขึ้นเมื่อฤดูกาลดำเนินการแข่งขันต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตารางแข่งที่จะมีความแออัดมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะมีเวลาในการฟื้นตัวจากการบาดเจ็บที่มาจากการฝึกซ้อมหรือการแข่งขันน้อยลง

 

ดังนั้นเราอาจเห็นการบาดเจ็บในช่วงแรกไม่มากเมื่อฤดูกาลกำลังดำเนินไป แต่การบาดเจ็บจะเพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา เนื่องจากความเหนื่อยล้าสะสม และเชื่อว่าสโมสรต่างๆเลือกปฏิเสธกฎเปลี่ยนตัว 5 คนโดยไม่ได้คิดถึงสถานการณ์เหล่านี้ในระยะยาวเลย

 

เหตุที่เป็นเช่นนั้นทีมเล็กๆอาจมองว่าพวกเขาต้องใช้ความสามารถหลักในการจัดการความฟิตและความเหนื่อยล้าในเกมสูง ซึ่งสโมสรใหญ่ๆที่มีตัวเลือกผู้เล่นมากมายในการช่วยลดการสึกหรอหรือสามารถหมุนเวียนนักเตะได้ ยามมีใครบาดเจ็บในระหว่างฤดูกาล

 

แต่ทีมเล็กอาจลืมมองไปว่าหากทีมของพวกเขามีผู้เล่นที่บาดเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนๆนั้นคือตัวหลัก ย่อมส่งผลหนักต่อพวกเขาที่ขนาดทีมไม่ใหญ่หรือมีตัวเลือกใช้งานที่น้อยกว่า

 

การไม่เลือกกฏเปลี่ยนตัว 5 คน ไม่เพียงแต่ตัดช่องทางในการจัดการกับความเหนื่อยล้าของผู้เล่น อีกยังส่งผลหนักหากมีใครบาดเจ็บขึ้นมา เพราะหากกุนซือเลือกได้จริง เขาคงต้องการผู้เล่นที่สามารถลงเล่นได้อย่างสม่ำเสมอ มากกว่าที่พลาดลงสนามหรือหายจากทีมไปพักใหญ่แน่นอน

 

 

ภาระหนักตกที่ผู้เล่น

 

 

เมื่อมองออกไปในมุมที่กว้างกว่าเดิม การปฏิเสธใช้กฏเปลี่ยนตัวแบบพิเศษนี้ไม่ใช่แค่ส่งผลต่อผู้เล่นที่ฟาดแข้งกันในลีกเท่านั้น เมื่อคุณคำนึงถึงทัวร์นาเม้นต์ระดับทวีปอย่าง โคปา อเมริกา กับ ศึกชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร ในซัมเมอร์ปี 2021

 

นักเตะจำนวนไม่น้อยจะมีส่วนร่วมในตารางการแข่งขันที่อัดแน่นในช่วง 1 ปีก่อนทัวร์นาเม้นต์เหล่านั้นจะเริ่มขึ้น (นับตั้งแต่ช่วงรีสตาร์ทจนถึงสิ้นสุดฤดูกาล 2020-21) จากนั้นพวกเขาก็จะถูกขอให้ลดเวลาพักฟื้นตัวในช่วงซัมเมอร์ปีหน้าเพื่อเตรียมตัวแข่งขันในฤดูกาล 2021-22 ต่อไปอีก

 

นั่นคือการขอให้ผู้เล่นรับภาระหนักเกินควรและจะนำไปสู่การบาดเจ็บที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ กฏการเปลี่ยนตัว 5 คน ถูกสร้างมาเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น แต่ตัวเลือกเหล่านั้นกลับถูกลบออกไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากกังวลว่าความหลากหลายของและคุณภาพทีมจากผู้เล่นสำรองจะส่งผลต่อเกม

 

หลายทีมในพรีเมียร์ลีกไม่ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของสถานการณ์หรือปัญหาในระยะยาวเลย และสุดท้ายผลกรรมก็ตกอยู่ที่ผู้เล่นที่ต้องเป็นคนจ่ายมันหลังจากนี้