ฟุตบอลกลางไฟสงคราม : ทำความเข้าใจวงการลูกหนังอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน

 

การเข้ายึดอัฟกานิสถานของกลุ่มตาลิบันสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนในประเทศอย่างมาก รวมถึงคนในวงการฟุตบอลเองก็ด้วย จะเห็นได้จากนักฟุตบอลดาวรุ่งที่พยายามหนีออกจากประเทศด้วยการเกาะเครื่องบินไปจนตกลงมาเสียชีวิต และกัปตันทีมฟุตบอลหญิงที่ออกมาร้องให้ฟีฟ่าช่วยเหลือแข้งสาวในประเทศของเธอ

 

วันนี้ UFA ARENA จะมานำเสนอเรื่องราววงการลูกหนังในประเทศที่เต็มไปด้วยสงครามและความขัดแย้ง ตั้งแต่อดีตจนถึงสถานการณ์ปัจจุบัน

 

ฟุตบอลในอัฟกานิสถาน

Kabul erupts with joy after South Asian football victory - World - DAWN.COM

สำหรับฟุตบอลในอัฟกันถือเป็นหนึ่งในสองกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศพอๆกับ คริกเก็ต โดยเริ่มตั้งไข่มาตั้งแต่ปี 1922 ก่อนจะได้เข้าร่วมกับฟีฟ่าในปี 1948 พร้อมกับตั้งสมาคมและทีมชาติขึ้นมา ซึ่งได้เริ่มลงแข่งรายการแรกในโอลิมปิกเกมในปีเดียวกัน แม้จะเริ่มได้ไม่สวยนักกับการแพ้ให้กับ ลักเซมเบิร์กไปถึง 6-0 หลังจากนั้นก็ได้เล่นในเอเชี่ยนเกมอีก 2 ครั้ง

 

อย่างไรก็ตามวงการลูกหนังในประเทศก็ต้องหยุดชะงักไปในช่วงปี 1984-2002 หลังจากมีความขัดแย้งต่อเนื่องกันมาถึงช่วงที่ตาลิบันเข้ายึดประเทศระหว่างปี 1996-2001 กว่าจะได้กลับมาสู่การแข่งขันฟุตบอลอีกครั้งก็ในเอเชี่ยนเกม 2003 ที่เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ และพวกเขาก็สามารถคว้าชัยชนะครั้งแรกของชาติได้สำเร็จกับการเอาชนะ คีร์กีซสถาน 2-1 ในขณะที่โทรฟี่แรกและโทรฟี่เดียวของพวกเขาคือแชมป์ SAFF แชมเปี้ยนส์ชิพ ที่พวกเขาเอาชนะ อินเดียมาได้เมื่อปี 2013

 

ความเปลี่ยนแปลงหลังตาลิบันยึดเมื่ออดีต

ย้อนไปในช่วงปี 1996-2001 ที่กลุ่มตาลิบันเคยยึดอัฟกานิสถานได้สำเร็จ ทำให้วงการฟุตบอลในระดับชาติของพวกเขาถูกแช่แข็งไม่ได้ไปลงเล่นในรายการใดเลย แต่จากหนังสือที่ชื่อว่า ‘Terrorism and Sport’ ของ คาร์ลอส อิกวาลาดา นักเขียนชาวสเปนได้เปิดเผยข้อเท็จจริงไว้ว่า “ฟุตบอลเป็นหนึ่งในกีฬาที่ตาลิบันใช้เพื่อดึงดูดประชาชนในช่วงปี 1996-2001 และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการส่งข้อความออกไปสู่สังคม”

 

แม้ว่ากีฬาฟุตบอลจะไม่ได้ถูกห้ามโดยกลุ่มตาลิบัน และการแข่งขันระดับลีกในประเทศยังคงแข่งกันได้ แต่เกมลูกหนังก็ต้องอยู่ภายใต้กฏของกลุ่ม หากว่าทำผิดหลักต้องโดนลงโทษ อย่างเช่นในกรณีของ ทีมจากปากีสถานเดินทางมาอัฟกานิสถานเพื่อทัวร์ช่วงฤดูร้อน เมื่อปี 2000 พวกเขาถูกจับโกนหัว เพียงเพราะใส่กางเกงขาสั้น

 

ในขณะที่ โมฮัมหมัด อิซัค กัปตันทีมชาติอัฟกานิสถาน ก็เคยออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์ของนักฟุตบอลในประเทศว่า “พวกเขา(ตาลิบัน) เป็นผู้ตัดสินใจเงินเดือนของบรรดานักเตะ และควบคุมการเงินทุกอย่าง”

 

สนามกีฬาแดนประหาร

สนามกีฬาประจำชาติของอัฟกานิสถานที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของกรุงคาบูลเมืองหลวง เคยเป็นสังเวียนการแข่งขันระดับชาติครั้งแรกของทีมที่เจอกับ อิหร่าน เมื่อปี 1941 แถมยังเคยเป็นที่จัดคอนเสิร์ตในปี 1963 อีกด้วย นอกจากนี้ด้วยความจุถึง 26,000 ที่นั่ง ทำให้นี้คือสนามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

 

อย่างไรก็ตามย้อนไปสมัยที่ตาลิบันมีอำนาจ สนามแห่งนี้ถูกใช้ในการเป็นลานประหารกลางแจ้งสำหรับผู้ที่ต่อต้านและทำผิดกฏหมาย แม้ว่าหลังจากนั้นในปี 2011 สนามแห่งนี้จะได้ถูกปรับปรุงและเปิดอีกครั้ง แต่ก็ไม่มีใครกล้าไปเยือนในช่วงหลังพระอาทิตย์ตก โดยทางเจ้าหน้าที่สนามอย่าง โมฮัมหมัด นาซิม ได้เปิดเผยว่า “บางคนบอกว่าวิญญาณของคนที่โดนประหารยังคงอยู่ มันมีเลือดไหลนองเต็มสนาม ดังนั้นเราจึงต้องถมชั้นดินเพิ่มเพื่อปิดทุกอย่าง”

 

ฟุตบอลแบบ เรียลลิตี้

หลังจากที่ลีกฟุตบอลในอัฟกานิสถานเปลี่ยนจาก คาบูล พรีเมียร์ลีก ที่มีทีมทั้งหมด 12 ทีมแต่เป็นทีมที่กระจุกรวมกันอยู่แค่ในเมืองหลวงของประเทศ มาเป็น อัฟกันพรีเมียร์ลีก ในปี 2012 ซึ่งมี 8 ทีมจากทั่วประเทศ ซึ่งด้วยความที่ไม่มีโครงสร้างของลีกฟุตบอลที่เป็นมืออาชีพนัก ทำให้เกิดรายการเรียลลิตี้โชว์ขึ้นมาที่เรียกว่า ‘Green Field’

 

รายการดังกล่าวเป็นรายการที่จะให้แต่ละทีมสามารถเลือกนักเตะที่จบจากรายการ 18 คนเข้าไปสู่ทีมได้ เหมือการดราฟตัว โดยเยาวชนจากทั่วประเทศจะสมัครเข้ามาในรายการจำกัด 30 คน ต่อภูมิภาาค ก่อนที่คณะกรรมการจะคัดให้เหลือ 18 คนสุดท้าย เพื่อให้บรรดาทีมฟุตบอลได้เข้ามาทาบทามตัวนักเตะไป

 

โดยทีมที่ได้รับนักเตะเข้าทีมไปมากที่สุดคือ ชาฮีน อัสมายี ในฐานะทีมประจำเมืองหลวง และเป็นทีมที่คว้าแชมป์ลีกได้ถึง 5 ครั้งในช่วง 8 ซีซั่นที่ผ่านมา ถัดมาในปี 2017 พวกเขาก็กลายเป็นทีมแรกในอัฟกานิสถานที่ได้ไปเล่นในศึก เอเอฟซีคัพ แม้จะจอดป้ายแค่รอบคัดเลือกก็ตาม

 

อนาคตที่มืดสนิทของฟุตบอลหญิง

Former Captain Of Afghanistan Female Football Team Tells Players To Burn Uniforms, Delete Photos As Taliban Take Over - The Onion News

อย่างที่รู้กันดีว่ากฏหมายสุดโต่งของตาลิบันจำกัดสิทธิของสตรีภายในประเทศมากแค่ไหน ผู้หญิงไม่สามารถออกจากบ้านได้ เว้นแต่จะมีผู้ชายไปด้วย พร้อมกับต้องใส่ผ้าคลุมปิดบังใบหน้าและร่างกายที่เรียกว่า บุรกา พวกเธอไม่สามารถเรียนหรือทำงานได้ แม้กลุ่มตาลิบันในปัจุบันจะบอกว่าพวกเธอสามารถทำงานได้ก็ตาม

 

ในขณะที่ส่วนของกีฬาฟุตบอล ทางผู้ก่อตั้ง และอดีตกัปตันทีมชาติหญิงอย่าง ชามิลา โคเฮสตานี ได้ออกมาพูดถึงกรณีนี้ไว้ว่า “การตีกรอบของสังคมอิสลาม พวกเขากำลังบอกว่าจะอนุญาตให้ผู้หญิงทำงานได้ ภายใต้กฎหมายชะรีอะห์ แต่กฎหมายนั้นไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเล่นกีฬา และเท่าที่ฉันรู้เมื่อสองวันก่อน เราบอกลาทีมฟุตบอลหญิงได้เลย”

 

สิ่งที่น่าจับตามองคือการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2022 รอบคัดเลือก ที่ทีมชาติอัฟกานิสถานอยู่ในกลุ่ม B ร่วมกับ เวียดนาม , มัลดีฟส์ และเจ้าภาพอย่างทาจิกิสถาน โดยจะลงเตะกันในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งถ้าหากพวกเธอได้รับอนุญาตให้ไปแข่งขันได้ นั่นก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับวงการลูกหนังสาว

 

สถานการณ์ปัจจุบัน

Afghanistan football

นับตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคมที่กลุ่มตาลิบันได้เข้ายึดอัฟกานิสถานได้สำเร็จ แน่นอนว่าหลังจากนี้หลายสิ่งจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน ในขณะที่วงการฟุตบอลเองดูเหมือนจะยังไม่ได้รับผลกระทบต่อเหตุการณ์ เนื่องจากในวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา การแข่งขันชิงแชมป์ ฮารัต พรีเมียร์ลีกระหว่าง แอทแทค เอเนอจี้ คลับ พบกับ เฮรัต มันนี่ ชาเลนเจอร์ ซึ่งจบด้วยชัยชนะของ แอทแทค เอเนอจี้ คลับ ด้วยสกอร์1-0

 

 

ชัยชนะดังกล่าวจะทำให้พวกเขาได้เลื่อนชั้นไปเล่นใน อัฟกันพรีเมียร์ลีกในปีหน้า แต่โปรแกรมการแข่งขันทั้งหมดยังไม่ถูกประกาศออกมา และต้องรอลุ้นกันอีกทีว่าวงการฟุตบอลภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลิบันจะเป็นอย่างไรต่อไป ทั้งในส่วนของทีมชายและทีมหญิง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สุดหดหู่! ดาวรุ่งอัฟกานิสถาน ดับสลดจากเหตุร่วงเครื่องบินหนีตาย

อัฟกัน