มากกว่าแฟชั่น : ย้อนรอย Wristband ไอเทมสุดฮิตในโลกลูกหนังยุค 2000

 

นับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่ยุคมิเลนเนี่ยม ฟุตบอล กับ แฟชั่น มักจะเป็นของที่อยู่คู่กันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หน้าผม รองเท้า หรือ สายรัดข้อมือที่หลายคนอาจหลงลืมไปบ้างอย่าง ริชแบนด์ (Wristband) 

 

หากย้อนกลับในช่วงต้นยุค 2000 นี่คือสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งนักฟุตบอล หรือหมู่แฟนบอลทั่วโลก ที่ต่างคนต้องมีสวมใส่ไว้ที่ข้อมือซักข้าง หรืออาจจะ 2 ข้างเลยก็มี

 

แม้ ริชแบนด์ จะค่อยๆเสื่อมความนิยมตามกาลเวลา เราก็เห็นนักเตะบางคนสวมใส่สิ่งนี้อยู่ในเห็นกันบ้างในปัจจุบัน อย่างเช่น ลุค ชอว์ แบ็คซ้ายจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด กับนัดที่บุกเฉือน นอริช ซิตี้ แบบหืดจับ 2-1 ในศึกเอฟเอ คัพ รอบ 8 ทีมสุดท้าย เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา

 

ทาง UFA ARENA จึงขอพาทุกท่านไปย้อนระลึกถึงอีกหนึ่งไอเทมสุดฮิตที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการลูกหนังทั่วโลกมาแล้วผ่านบทความชิ้นนี้กัน

 

 

แลนซ์ อาร์มสตรอง ผู้จุดกระแส

 

 

ในช่วงต้นยุค 2000 สายรัดข้อมือ ที่ผลิตจากซิลิโคนเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยผู้คนที่สวมใส่ต้องการสนับสนุนให้กับ องค์กรการกุศลหรือ หน่วยงานต่างๆ ที่มีแนวคิดคล้ายกับรูปโบว์ไขว้ (Awareness ribbons) ที่เป็นสัญลักษณ์หรือปลุกจิตสำนึกให้กับคนที่พบเห็น

 

แต่สิ่งนี้เริ่มเข้ามาเป็นกระแสทั่วโลกครั้งแรกจริง เกิดจากฝีมือของ แลนซ์ อาร์มสตรอง อดีตนักปั่นจักรยานชื่อดังชาวอเมริกัน ผู้ถูกแบนจากวงการนักปั่นตลอดชีวิตจากการใช้สารกระตุ้นในช่วงที่คว้าแชมป์

 

ในช่วงปี 1999-2005 นักปั่นแดนมะกันคว้าแชมป์ ตูร์ เดอ ฟรองซ์ 7 สมัยติดต่อกัน แต่ในปี 1996 เขาตรวจว่าเป็นโรคมะเร็งที่อัณฑะ แต่ก็ต่อสู้จนสามารถเอาชนะโรคร้ายได้อย่างปาฏิหารย์ในปี 2004 กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาก่อตั้ง มูลนิธิแลนซ์ อาร์มสตรอง ผลิตสายรัดข้อมือโดยใช้ตนเองเป็นนายแบบรณรงค์หาเงินเข้ามูลนิธิ เพื่อการวิจัยและต่อต้านมะเร็ง ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและเจ็บป่วยจากมะเร็ง 

 

ริชแบนด์สีเหลืองที่มาจากสีเสื้อแชมป์ในตูร์ เดอ ฟรองซ์  พร้อมสลักคำว่า “Live Strong” (จงมีชีวิตอยู่อย่างแข็งแรง) เมื่อบวกกับเรื่องราวสุดสร้างแรงบันดาลใจของเขา ทำให้นี่กลายเป็นสินค้ายอดฮิตติดลมบนไปทั่วโลกด้วยยอดขายกว่า 80 ล้านเส้น อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสสายรัดข้อมือเพื่อการกุศลที่มีการทำออกมามากมายแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร

 

 

วงการลูกหนังขอตามรอย

 

 

ความมนิยมสายรัดข้อมือได้ขยายตัวมาสู่วงการฟุตบอลเช่นกัน แต่มันก็มีเหตุผลและปัจจัยสำคัญที่ทำให้ สินค้านี้ ได้รับความนิยม มากกว่าอิงตามกระแสจาก แลนซ์ อาร์มสตรอง

 

ในปี 2004 เรื่องฉาวโฉ่เกิดขึ้นในหน้าสื่อลูกหนัง เมื่อ หลุยส์ อราโกเนส ที่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติสเปนในขณะนั้น กลับพูดเรื่องที่ไม่ใครคิดว่าเขาจะพูดออกมาแบบชวนช็อค

 

“นายจะโชว์ให้ไอ้ดำนั่นเห็นว่านายทำได้ดีกว่ามัน” กุนซือผู้ล่วงลับกล่าวกับ โฆเซ่ อันโตนิโอ เรเยส ดาวรุ่งในแคมป์ทีมกระทิงดุ

 

แน่นอนว่าคนที่ อราโกเนส กล่าวถึงในลักษณะเหยียดแบบนี้ไม่ใช่การพูดใส่ เรเยส ตรงๆแน่น่นอน และหลายคนชี้ไปว่าบุคคลที่ 3 ในบทสนทนาดังกล่าวก็คือ เธียร์รี่ อองรี ดาวยิง อาร์เซน่อล ทีมที่ เรเยส ค้าแข้งในตอนนั้น

 

ณ จุดนี้ ทำให้ ไนกี้ แบรนด์ ผลิตกีฬาชื่อดังจากอเมริกา ก็จัดตั้งโปรเจ็ค ‘Stand up Speak up’ ต่อต้านการเหยียดสีผิวในวงการฟุตบอล พร้อมกับดึง ตำนานปืนใหญ่มาเป็นพรีเซ็นเตอร์หลักในแคมเปญ และเป็นคนแรกที่ได้สวมใส่ริชแบรด์ชิ้นนี้ด้วย

 

“หลายคนบอกว่า พวกเขา (สมาคมฟุตบอลสเปน) ต้องปลดเขา และเรื่องเหล่านี้ออกไป ทุกคนล้วนทำเรื่องผิดพลาดอย่างที่ผมเคยพูดไป และความผิดพลาดครั้งใหญ่หลังจากนี้ สมาคมฟุตบอลสเปน ควรรู้ว่าต้องทำอะไร” อดีตกองหน้าชาวฝรั่งเศสกล่าวในงานแถลงข่าวนั้น

 

“พวกเขาควรได้รับการปกป้องมากกว่านี้ในวงการ เพราะ คุณคงไม่ต้องการให้คนพวกนี้มีส่วนร่วมในการแข่งขันแน่นอน”

 

คำพูดที่ตรึงใจของ อองรี ทำให้เพื่อนร่วมวงการลูกหนังหลายคนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการต้านเหยียดผิวนี้ ไม่ว่าจะเป็น คริสเตียโน่ โรนัลโด้, โรนัลดินโญ่, การ์เลส ปูโยล, รุด ฟาน นิสเตลรอย หรือ ริโอ เฟอร์ดินานด์ โดยทุกคนล้วนหวังว่า พฤติกรรมน่ารังเกียจเหล่านี้จะหายไปจากเกมกีฬาที่พวกเขารักเสียที

 

ผลตอบรับในเรื่องนี้ไปในทิศทางบวกอย่างมาก มีเงินบริจาคมากกว่า 6.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในยุโรป แถมแคมเปญนี้ยังทำให้ โครงการต่างกว่า 238 แห่งได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มไปด้วย

 

 

แคมเปญต่างๆที่ตามมา

 

 

หลังจากนั้น ริชแบนด์ ก็ได้รับความนิยมในวงการฟุตบอลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แข้งดังต่างส่วมใส่มันลงสนาม ขณะที่แฟนบอลก็ส่วมใส่ไว้ที่ข้อมือเช่นกัน และกลายเป็นแฟชั่นสุดฮิตครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในกีฬาชนิดนี้ 

 

หนึ่งในแคมเปญริชแบนด์ที่ได้รับความนิยมในวงการฟุตบอลไม่แพ้กันคือ การต่อต้านการกลั่นแกล้งหรือ Anti-Bullying ซึ่งจัดตั้งโดย บีบีซี เรดิโอ วัน และรัฐบาลอังกฤษ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2004

 

 เป้าหมายก็ตรงตามชื่อโครงการที่ต้องการสร้างความตระหนักถึงและหยุดการกลั่นแกล้งต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม โดยริชแบนด์แคมเปญจะมีสีฟ้า พร้อมกับคำว่า ‘เอาชนะการกลั่นแกล้ง’ (Beat Bullying) 

 

แต่สิ่งที่ทำให้ ริชแบนด์แคมเปญได้รับความนิยมนอกเกาะอังกฤษมาจาก แฟรงค์ แลมพาร์ด กองกลางตัวเก่งของ เชลซี และ ริโอ เฟอร์ดินานด์ กับ เวย์น รูนี่ย 2 แข้งจากแมนยูไนเต็ด ที่สวมใส่มันในขณะแข่งขัน จนแฟนบอลต้องหามาครอบครองกันมากมาย

 

และที่สำคัญ เหตุการณ์การรังแกในแดนผู้ดียังลดลงราว 39 เปอร์เซนต์ หลังจากมีแคมเปญนี้ด้วย

 

นับตั้งแต่นั้น โครงการต่างๆที่ใช้ริชแบนด์เป็นสัญลักษณ์ก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโดยตรง แต่ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ยกตัวอย่างเช่น Make Poverty History กับการรณรงค์การกำจัดความยากจนด้วยริชแบนด์สีขาว, Keep a Child Alive การช่วยเหลือเด็กที่ติดเชื้อเอดส์ทั่วโลกด้วยริชแบนด์สีแดง หรือ แคมเปญที่รณรงค์ผู้หญิงตรวจมะเร็งเต้านม พร้อมเข้าใจโรคนี้ด้วยริชแบนด์สีชมพู  

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้กลับค่อยๆเสื่อมความนิยมในวงการลูกหนังไปตามกาลเวลา หลังจากที่โครงการ Stand Up Speak Up ของ ไนกี้ สิ้นสุดลงในปี 2009

 

 

กระแสเล็กๆในฤดูกาล 2019-20

 

 

แต่เรื่องราวการเหยียดผิวในวงการฟุตบอลก็ยังไม่หายไปแบบหมดจด ซ้ำร้ายยังแสดงออกมาให้เห็นแบบชัดเจนในช่วงเวลา 10 ปีหลังจากนั้น

 

แต่นี่กลับทำให้ กระแสริชแบนด์ กลับมาได้รับความสนใจจากแฟนบอลทั่วโลกอีกครั้ง หลังจาก พอล ป็อกบา กองกลางตัวเก่งจาก แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ถูกชาวเน็ตในทวิตเตอร์ด่าทอในลักษณะเหยียดสีผิวแบบรุนแรง เมื่อเดือนสิงหาคมปี 2019

 

สาเหตุที่เกิดการเหยียดครั้งใหญ่ในโลกออนไลน์นี้ เป็นเพราะ แข้งปีศาจแดงพลาดจุดโทษในเกมเจ๊ากับ วูล์ฟแฮมป์ตัน 1-1 ทำให้สโมสรต้องออกแถลงการณ์เพื่อปกป้องนักเตะของพวกเขา

 

รวมไปถึง ราฮีม สเตอร์ลิ่ง ดาวเตะแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ก็โดนแฟนบอลเชลซี กล่าวโจมตีในเรื่องสีผิว ขณะที่ แทมมี่ อับราฮัม หอกดาวรุ่งของ สิงห์บลู ก็โดนโจมตีไม่แพ้กันทางโซเชียล มีเดีย  และอีกมากมายในลีกทั่วยุโรป

 

นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ มิดฟิลด์เลือดน้ำหอม แนะนำให้เพื่อนร่วมทีมส่วนใส่ ริชแบนด์ 2 เส้น สีขาวกับดำ บริเวณข้อมือขวา ในเกมพรีเมียร์ลีกช่วงบ็อกซิ่ง เดย์ เพื่อเป็นการต่อสู้กับการเหยียดผิวที่เกิดขึ้นในวงการกีฬาอีกครั้ง

 

“นี่เป็นความคิดของผมเอง ผมหมายถึงผมคิดถึงเรื่องนี้มาแล้ว แต่ไม่อยากทำเรื่องนี้ผ่านทาง ยูฟ่า หรือ ฟีฟ่า ผมทำมันด้วยตัวเอง” ป็อกบากล่าว

 

“ผมคิดว่าเรามีโอกาสนี้ที่จะแสดงพลังในฟุตบอลผ่านทางโทรทัศน์ ซึ่งผู้คนต่างจะเห็นมัน นั่นทำให้ผมคิดว่านั่นจะทำให้ผู้คนเข้าใจบางอย่าง”

 

น่าเศร้าที่การเหยียดผิวของเหล่าแฟนบอลหรือผู้คนในโลกออนไลน์ ยังมีเห็นอยู่บ่อยครั้งในวงการฟุตบอล และดูเหมือนว่า แคมเปญ Stand up Speak up เมื่อ 16 ปีก่อนน่าจะเป็นแคมเปญที่ต่อต้านการเหยียดผิวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ฟุตบอลเคยมี

 

แต่แค่การเรียกร้องของ นักเตะดัง หรือ ริชแบนด์สุดคูล ก็ไม่อาจขจัดการเหยียดเหล่านี้ให้หมดไปได้และอาจเป็นได้แค่ฝัน หากแฟนบอลทั่วโลกไม่ทำความเข้าใจและช่วยกันสนับสนุนเรื่องนี้อย่างจริงจัง