ปีเดียวเป็นตำนาน : ยานเซ่นผู้พาเซลติกคว้าแชมป์ลีกในรอบ 10 ปี

ยานเซ่น

กลายเป็นอีกข่าวเศร้าในวงการฟุตบอล เมื่อ วิม ยานเซ่น ตำนานกองกลางทีมชาติฮอลแลนด์ เสียชีวิตด้วยวัย 75 ปี จากโรคสมองเสื่อมเมื่อวันที่อังคารที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา

มิดฟิลด์ร่างเล็กถือเป็นหนึ่งในขุนพล ‘อัศวินสีส้ม’ ชุดรองแชมป์โลกปี 1974 และ 1978 รวมไปถึงเป็นตำนานแข้งของ เฟเยนูร์ด คว้าแชมป์เอเรดิวิซี่ 4 สมัย, ดัตช์ คัพ 1 สมัย รวมถึง แชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพ, ยูฟ่า คัพ และ อินเตอร์คอนติเนนทัล คัพ อย่างละสมัย

ทว่าอีกหนึ่งในบทบาทที่หลายคนจดจำ ยานเซ่น ได้ในวงการลูกหนังก็คือตำแหน่งผู้จัดการทีม ซึ่งจริงๆก็ไม่ประสบความสำเร็จมากมายเช่นตอนค้าแข้ง ทั้งกับ เฟเยนูร์ด ที่คว้าแชมป์บอลถ้วย 2 สมัย หรือ โลเคอเรน สโมสรในลีกดัตช์ กับ ซานเฟรเซ่ ฮิโรชิม่า ในญี่ปุ่น ที่ไม่มีแชมป์ติดไม้ติดมือมาเลย

อย่างไรก็ตาม สำหรับแฟนบอล กลาสโกว เซลติก แล้ว อดีตกองกลางผู้ล่วงลับถือเป็นหนึ่งในตำนานของสโมสรอย่างแท้จริง แม้ว่าจะคุมทีมแค่ฤดูกาลเดียวเท่านั้น

ว่าแต่ทำไม แฟนบอล ‘ม้าลายเขียวขาว’ ถึงคิดเช่นนั้น UFA ARENA จะพาไปหาคำตอบผ่านบทความนี้กัน 

 

เกือบล้มละลาย

When Fergus McCann saved Celtic - how the Daily Record reported that historic day in 1994 - Daily Record

อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่าใน สกอตติช พรีเมียร์ลีก มีเพียง 2 ทีมเต็งที่ลุ้นแชมป์ นั่นก็คือ กลาสโกว เรนเจอร์ และ กลาสโกว เซลติก ซึ่งวงจรนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคก่อตั้งลีกในสกอตแลนด์ และคงอยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แม้มีบางทีมโผล่ขึ้นเป็นม้ามืดคว้าแชมป์ แต่สุดท้าย 2 สโมสรจากกลาสโกวก็กลับมาทวงความเป็นมหาอำนาจในวงการลูกหนังแดนวิสกี้อยู่ดี

แน่นอนว่าทั้ง เซลติก และ เรนเจอร์ส ที่ห้ำหั่นกันร่วมศตวรรษ ก็มีบางช่วงที่ทีมใดทีมหนึ่งต่างครองความเป็นหนึ่งในประเทศได้อย่างชัดเจน และคงไม่ผิดนักหากจะบอกว่าช่วงปลายยุค 80 จนถึง 90 คือตอนที่ เรนเจอร์ส เหนือกว่า เซลติก อย่างปฏิเสธไม่ได้

‘ม้าลายเขียวขาว’ คว้าแชมป์ลีกครั้งสุดท้ายในปี 1988 รวมถึงแชมป์ สกอตติช คัพ ในปีเดียวกัน ทว่าหลังจากนั้นทีมก็ประสบภาวะตกต่ำ เสียตำแหน่งเบอร์หนึ่งของลีกให้ เรนเจอร์ส คู่ปรับตลอดกาลในเวลาต่อมา

เมื่อไร้ความสำเร็จ เรื่องเงินๆทองๆก็กลายเป็นปัญหาของทีมตามมา ส่งผลให้ เซลติก มีหนี้ก้อนใหญ่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จนทำท่าว่าจะไปต่อไม่ไหว

อย่างไรก็ตาม เฟอร์กัส แม็คเคนน์ นักธุรกิจเชื้อสกอต-แคนาเดี่ยน ก็เข้ามาเทคโอเวอร์ เซลติก ในปี 1994 ด้วยจำนวนเงิน 9 ล้านปอนด์ แทนที่ กลุ่มครอบครัวตระกูล เคลลี่, ไวท์ และ แกรนท์ ที่เป็นเจ้าของสโมสรมานานเกือบศตวรรษ โดยมีรายงานว่าการเข้ามาของ แม็คเคนน์ ช่วยให้ทีมรอดพ้นจากการล้มละลายด้วย

พร้อมกันนี้ แม็คเคนน์ ยังได้ก่อตั้งธุรกิจสโมสรขึ้นใหม่ในฐานะบริษัทมหาชน ในชื่อ ‘Celtic PLC’ และจัดการเปลี่ยนแปลง เซลติก รังเหย้าของสโมสรให้เป็นสนามแบบนั่งทั้งหมด จนมีความจุ 60,832 ที่นั่ง

 

เริ่มต้นไม่สวย

Wim Jansen dead at 75 as ex-Celtic manager passes away after dementia battle and football world pays tribute

แม้การเงินของสโมสรจะดีขึ้นมาก แต่ความสำเร็จก็มีแค่ แชมป์ สกอตติช คัพ ในปี 1995 เท่านั้น นั่นทำให้ แม็คเคนน์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากแฟนบอล เซลติก ไม่น้อย และมองว่าเขาสนใจแต่การเพิ่มมูลค่าทางการเงินให้กับสโมสรมากเกินไป จนละเลยเรื่องในสนาม

ส่งผลให้ตำแหน่งผู้จัดการทีมมีการเปลี่ยนอีกครั้งในรอบ 3 ปี เมื่อ ทอมมี่ เบิร์นส์ ที่ถูกปลดจากตำแหน่งนายใหญ่ในปี 1997 ก่อนที่สโมสรจะแต่งตั้ง วิม ยานเซ่น เป็นกุนซือคนใหม่ ซึ่งทำให้เขากลายเป็นกุนซือนอกสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์คนแรกของสโมสรอีกด้วย

กุนซือชาวดัตช์ จัดการเสริมทัพแบบรัวๆด้วยการคว้า ดาร์เรน แจ็คสัน, เคร็ก เบอร์ลี่ย์, สเตฟาน มาเห่, เรจี้ บลิงเกอร์, พอล แลมเบิร์ต, โจนาธาน กูลด์, มาร์ค รีเปอร์ รวมไปถึง เฮนริค ลาร์สสัน ดาวรุ่งที่เขาเคยปลุกปั้นในสมัยคุม เฟเยนูร์ด มาผจญภัยในแดนวิสกีด้วยกัน

ถึงเสริมทัพมากมาย แต่ผลงานช่วเริ่มต้นฤดูกาล 1997-98 ของ เซลติก ต้องบอกว่าย่ำแย่ ด้วยการแพ้ 2 นัดต่อ ฮิเบอร์เนี่ยน และ ดันเฟิร์มลิน ตามลำดับ แตกต่างจาก เรนเจอร์ส ของ วอลเตอร์ สมิธ ที่เล่นได้สมราคาเต็งแชมป์ ซัดไป 8 ประตูจาก 2 เกมแรก

นั่นทำให้ใครหลายมองว่านี่อาจเป็นอีกที่ เซลติก ต้องตกอยู่ภายใต้เงาของ เรนเจอร์ส อีกฤดูกาลแน่นอน

 

แชมป์ลีกในรอบ 10 ปี

Wim Jansen dead at 75: Ex-Celtic manager passes away after dementia battle as football world pays tribute

อย่างไรก็ตาม ยานเซ่น ก็ค่อยๆเค้นฟอร์มทีมในนัดต่อๆมา รวมไปถึงนักเตะหน้าเก่าและใหม่เริ่มปรับตัวกับแผนของกุนซือชาวดัตช์จนสามารถทำผลงานได้ดีขึ้น 

โดยเฉพาะ ลาร์สสัน ที่เจอฝันร้ายในช่วงแรกของฤดูกาล ทั้งจ่ายบอลให้คู่แข่งจนทีมเสียประตูในเกมพบ ฮิเบอร์เนี่ยน หรือทำเข้าประตูตัวเองในเกม ยูฟ่า คัพ รอบคัดเลือกพบ ทิรอล อินส์บรุค ก็ได้รับความเชื่อมั่นจาก กุนซือแดนกังหันลม จนสามารถพิสูจน์ตัวเองพร้อมกลายเป็นแนวรุกคนสำคัญของทีมในเวลาต่อมา

เมื่อประกอบกับที่ เรนเจอร์ส มาตรฐานตกลงมาจากฤดูกาลก่อน ทำให้ เซลติก ยังสามารถทำแต้มไล่จี้อยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งในเกมโอลด์ เฟิร์ม ดาร์บี้ นัดที่ 2 ของซีซั่นช่วงปีใหม่ ซึ่ง ‘ม้าลายเขียวขาว’ เป็นคว้าชัยไป 2-0 จากประตูของ เบอร์ลี่ย์ และ แลมเบิร์ต ทำให้พวกเขาผงาดขึ้นมาเป็นจ่าฝูงได้

ทว่ามีหรือที่ เรนเจอร์ส จะยอมให้คู่แข่งลอยลำไปง่าย ก็เร่งเครื่องในเกมต่อๆมา พร้อมผลัดกันเป็นจ่าฝูงนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา

อย่างไรก็ตามในช่วงโค้งสุดท้ายของฤดูกาล ถือเป็นช่วงไคล์แม็กซ์ก็ว่าได้ เนื่องจากทั้ง 2 ทีมต่างผลัดกันทำแต้มหล่นแบบไม่น่าเชื่อในบางนัดทำให้คะแนนมีช่องว่างห่างกันไม่กี่แต้ม

แต่การพลาดท่าพ่าย อเบอร์ดีน ในเกมนัดที่ 33 ส่งผลเสียหายหลายแสนต่อ เรนเจอร์ส อย่างมาก เพราะทำให้ เซลติก ทำแต้มไล่มาทันที่ 66 คะแนนเท่ากัน

จริงๆ เซลติก เป็นฝ่ายพลาดท่าก่อนด้วยซ้ำ จากการเจ๊า 2 เกมติดกับ ฮิเบอร์เนี่ยน และ ดันเฟิร์มลิน ตามลำดับ แต่การที่ทีมของ สมิธ พลาดท่าพ่าย คิลมาร์น็อค 0-1 ในเกมรองสุดท้ายทำให้ พวกเขาหล่นมารั้งอันดับ 2 ทันที

และกลายเป็น เซลติก ที่ผงาดคว้าแชมป์ลีกสกอตแลนด์ในนัดสุดท้าย หลังเอาชนะ เซนต์ จอห์นสโตน 2-0 ซึ่งนอกจากเป็นการหยุดสถิติคว้าแชมป์ลีก 10 ปี ของ เรนเจอร์ส แล้ว นี่ยังเป็นแชมป์ลีกครั้งแรกของสโมสรในรอบทศวรรษด้วย

 

ตำนานตลอดไป

Wim Jansen, former Celtic manager, has sadly passed away aged 75 - Football Scotland

ไม่เพียงแค่นั้น ยานเซ่น พาทีมคว้าดับเบิ้ลแชมป์ในฤดูกาลนั้นด้วยการเอาชนะ ดันดี ยูไนเต็ด 3-0 ใน สกอตติช ลีก คัพ ด้วย และเกือบคว้าทริปเบิ้ลแชมป์ได้ด้วย หากไม่พ่าย เรนเจอร์ส 1-2 ในนัดชิง สกอตติช คัพ เสียก่อน

อย่างไรก็ตาม แม้ประสบความสำเร็จอย่างมากในปีนั้น แต่ กุนซือชาวดัตช์ ก็ขู่ว่าจะลาออก เนื่องจากความยากลำบากในการทำงานร่วมกับ จ็อค บราวน์ ผู้จัดการทั่วไปของสโมสร และ แม็คแคนน์ เจ้าของทีม

ท้ายที่สุด ยานเซ่น ก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง หลังพาทีมคว้าแชมป์ลีกได้เพียง 2 วัน โดยที่ เมอร์โด้ แม็คเลาด์ มือขวาของกุนซือดัตช์แมน ก็โดนไล่ออกหลังจากนั้นใน 1 สัปดาห์ต่อมา

ฤดูกาล 1998-99 โยเซฟ เวนโกลส กุนซือชาวสโลวัก เข้ามาคุมทีมในถิ่น เซลติก ปาร์ค ซึ่งไม่เป็นที่ปลื้มใจของแฟนบอลนัก เพราะ เวนโกลส พาทีมตกรอบบอลถ้วยทุกรายการ พร้อมเสียแชมป์ลีกให้กับ เรนเจอร์ส อีกครั้ง

และการให้ จอห์น บาร์นส์ ที่ไม่เคยประสบการณ์กุนซือเข้ามาคุมทีมในปี 1999 ก็ล้มเหลวอย่างที่หลายคนคาดไว้พร้อมถูกปลดในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2000 จน เคนนี่ ดัลกลิช ต้องทำหน้าที่ขัดตาทัพ

กว่าที่ เซลติก จะครองการเป็นเบอร์หนึ่งใน สกอตแลนด์ ได้อีกครั้งก็ในช่วงที่ มาร์ติน โอนีล เข้ามาในฤดูกาล 2000-01 พร้อมคว้าทริปเบิ้ลแชมป์ตั้งแต่ปีแรก

และการที่ ‘ม้าลายเขียวขาว’ มาถึงจุดนี้ นอกเหนือจาก แม็คกินน์ ที่สร้างความมั่นคงทางการเงินให้สโมสรแล้ว ชื่อของ ยานเซ่น ย่อมมีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะการคว้า ลาร์สสัน มาร่วมทีม หรือสู้สุดใจพลิกสถานการณ์จนคว้าแชมป์ลีกได้ในรอบ 10 ปี 

นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่แฟนบอล เซลติก จะจดจำ ยานเซ่น ตลอดไป แม้เข้ามาคุมทีมแค่เพียงฤดูกาลเดียวก็ตาม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปืนใหญ่
พิธีกรปากแจ๋ว : 7 แข้งปืนใหญ่โดนมอร์แกนแขวะผ่านโซเชียล