ลาร์สสันระวังไว้ : 10 แข้งตำนานชื่อเสียงพังหลังคุมทีมลีกร่างแดนผู้ดี

 

ถือเป็นข่าวใหญ่ในวงการลูกหนังแดนผู้ดีพอสมควร เมื่อ เฮนริค ลาร์สสัน อดีตแข้งระดับตำนานชาวสวีดิชกลายเป็นตัวเต็งรับตำแหน่งผู้จัดการทีม เซาธ์เอนด์ ยูไนเต็ด ในเร็วๆนี้ 

 

ซึ่งอดีตแข้งเซลติก, บาร์เซโลน่า และ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็พอมีประสบการณ์ในด้านกุนซือมาหลายทีมแล้ว นับตั้งแต่แขวนสตั๊ดอย่างเป็นทางการในปี 2009 โดยล่าสุดเพิ่งคุม เฮลซิงบอร์ก ทีมในบ้านเกิด ก่อนจะลาออกหลังอยู่กับสโมสรได้เดือนเดียว

 

แต่การย้ายมาคุมทีมระดับลีกวันอย่าง เซาธ์เอนด์ ยูไนเต็ด ที่กำลังลำบาก เก็บได้เพียง 4 แต้มจาก 10 เกมหลังสุดอาจจะไม่ใช่ความคิดที่ดีนักในการยกระดับอาชีพกุนซือ ทาง UFA ARENA จะพาทุกท่านไปดูกับแข้งชื่อดังที่เป็นถึงขั้นตำนานที่ก็กระโดดเข้ามารับงานจากทีมเล็กๆที่กำลังกระเสือกกระสนในลีกล่างๆในอังกฤษ แต่ทำผลงานได้ย่ำแย่จนเสียชื่อและแทบบอกลางานนี้ไปเลย

 

และขอบอกไว้ก่อนว่าหาก ลาร์สสัน รับงานนี้จริงๆ เขาก็ไม่ใช่อดีตแข้งชื่อดังคนแรกที่คุมทีม เซาธ์เอนด์ ยูไนเต็ด ด้วยเช่นกัน

 

 

โทนี่ อดัมส์ | วีคอมบ์ (2003)

 

 

“ผมกำลังสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์การกีฬาในมหาวิทยาลัยอยู่ ซึ่งตอนนี้ผมผ่านมาครึ่งทางแล้ว แต่ตอนนี้ผมรู้สึกว่าเหมาะสมแล้วที่มาอยู่ตรงนี้” โทนี่ อดัมส์ ได้กล่าวไว้หลังได้รับการแต่งตั้งเป็นกุนซือ วีคอมบ์ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2003 และดูเหมือนว่า อลัน แพร์รี่ ผู้อำนวยการสโมสรก็จะรู้สึกเช่นเดียวกัน

 

“เรามีความรู้สึกเดียวกับตอนที่ มาร์ติน โอนีล ได้ก้าวเข้ามาที่นี่” แพร์รี่ กล่าวถึงอดีตกุนซือทีมชาติไอร์แลนด์ได้ก้าวออกจากถิ่น อดัมส์ ปาร์ค อย่างวีรบุรุษ หลังพาสโมสรขึ้นมาเล่นในลีกวันได้ แต่ทว่าในกรณีของอดีตกองหลังอาร์เซน่อล เขากลับพา เดอะ แชร์บอยส์ ทำสิ่งตรงกันข้ามกับโอนีล คือตกชั้นจากลีกวัน

 

แม้จะอ้างว่าตอนนั้นเขาไม่ได้รับงบมาช่วยเหลือในขณะที่ทีมกำลังอยู่โซนอันตราย แต่ถึงอย่างนั้น อดัมส์ ก็ล้มเหลวในเส้นทางนี้กับสโมสรอื่นๆไม่ต่างกัน ทั้งพอร์ทสมัธ, กาบาล่า และ กรานาด้า ตามลำดับ

 

 

บ็อบบี้ มัวร์ | เซาธ์เอนด์ ยูไนเต็ด (1984)

 

 

แม้จะมีโอกาสรับงานโค้ชแค่ช่วงสั้นๆ แต่คราบของความล้มเหลวก็ไม่อาจลบเลือนไปจากตัวของ บ็อบบี้ มัวร์ ได้ และถ้ากัปตันทีมชาติอังกฤษชุดแชมป์โลกคิดว่าการคุมทีมในถิ่น รู้ตส์ ฮอลล์ จะช่วยให้เขาได้งานจากที่อื่น คงต้องบอกว่าคิดผิดถนัด

 

เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นกุนซือของทีมในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1984 และทำหน้าที่ดีระดับนึง แต่ก็ถอนตัวออกจากตำแหน่งนี้ในอีก 2 ปีต่อมา เมื่อ เดอะ ชริมเปอร์ส ยังวยเวียนอยู่ในลีกระดับ 4 ของประเทศอยู่ไม่ไปไหน  “ผมไม่รู้เลยว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร” มัวร์กล่าวไว้ตอนแยกทาง และนั่นก็คืองานสุดท้ายในการคุมทีมของเขา

 

 

ปีเตอร์ ชิลตัน | พลีมัธ (1992)

 

 

ชิลตันยังคงค้าแข้งอยู่ต่อไป เมื่อเขาได้แยกทางกับ ดาร์บี้ และมุ่งหน้าไปยังตอนใต้เพื่อไปเล่นให้กับ พลีมัธ ในฐานะผู้เล่นควบตำแหน่งผู้จัดการทีม “ผมมองว่างานนี้ดูท้าทายมากๆเลยล่ะ” เขากล่าวในเดือนมีนาคมปี 1992 ซึ่งก็ดูจะเป็นอย่างที่เขาบอกจริงๆ

 

เดอะ พิลกริมส์ ตกชั้นจากดิวิชั่น 2 ในอีก 2 เดือนหลังจากนั้น แต่ แดน แม็คคัลลี่ย์ ประธานสโมสร ก็ยังไว้ใจให้เขาทำหน้าที่นี้ต่อไป

 

พลีมัธในยุคของชิลตันถือเป็นทีมที่ทำประตูได้พอสมควร แต่เกมรับของพวกเขาก็เสียประตูมากเกินไปเช่นกัน ก่อนจะลาทีมไปในปี 1995 และไม่หวนกลับมารับงานกุนซืออีกเลย

 

 

บ็อบบี้ ชาร์ลตัน | เปรสตัน (1973)

 

 

“ผมชื่นชมเปรสตันเสมอมาและ คิดว่าสโมสรนี้มีความเป็นไปได้หลายอย่างมากๆ” บ็อบบี้ ชาร์ลตัน กล่าวไว้ในเดือนพฤษภาคมปี 1973 แต่หลังจากที่ เดอะ ลิลลี่ ไวท์ส ตกชั้นจากดิวิชั่น 2 ในฤดูกาลที่เขาคุมทีม เขาได้ตัดสินใจกลับมาเล่นฟุตบอลอาชีพเพื่อช่วยเหลือทีมอีกครั้ง และยิงประตูที่ 200 ในลีกได้ ในเกมที่พบ วอลซอลล์ ในเดือนกันยายนปี 1974

 

ทว่าในซัมเมอร์ปี 1975 อดีตดาวเตะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็ตัดสินลาออกจากเปรสตัน หลังมีปัญหากับสโมสรที่ขาย จอห์น เบิร์ด นักเตะตัวเก่งให้กับ นิวคาสเซิล และไม่คิดจะกลับมารับงานคุมทีมอีกเลย แม้จะมีโอกาสเป็นกุนซือขัดตาทัพอยู่ในสมัยที่เป็น ผู้อำนวยการสโมสรของ วีแกน แอธเลติกในปี 1983 ก็ตาม

 

 

ทอมมี่ ลอว์ตัน |  เบรนท์ฟอร์ด (1953)

 

 

ในฐานะกองหน้ายุคนั้น เขามีค่าเฉลี่ยการทำประตูเหนือกว่านักเตะส่วนใหญ่ทั่วไป แต่ทว่า ทอมมี่ ลอว์ตัน ก็ตัดสินใจลาเชลซีเพื่อไปเล่นให้กับ น็อตส์ คันทรี่ ในดิวิชั่นที่ 3 แทนในปี 1947 ซึ่งกลายเป็นช่วงเวลาที่ยุ่งเหยิงที่สุดอาชีพการค้าแข้งของเขาด้วย

 

แต่ด้วยโปรไฟล์ที่โดดเด่นทำให่มีข่าวลือว่าหลายทีมดังต้องการดึงเขากลับไปเล่นในลีกสูงสุด แต่เมื่อถึงคราวย้ายทีมจริงในปี 1952 ลอว์ตันกลับมุ่งหน้าไปยังถิ่น กริฟฟิน ปาร์ค ของ เบรนท์ฟอร์ด แทน ก่อนจะได้ตำแหน่งกุนซือควบผู้เล่นของทีมในปี 1953 

 

อย่างไรก็ตาม งานผู้จัดการทีมอาจจะไม่ใช่ที่เหมาะกับเขาเลย เนื่องจาก ลอว์ตันไม่สามารถจัดการนักเตะได้ในห้องแต่งตัวได้ จนส่งผลต่อฟอร์มการเล่นของเขาในสนาม และพาทีมออกสตาร์ทฤดูกาลได้ย่ำแย่ในปี 1953-54 ทำให้เขาถูกแฟนบอลโห่ใส่เป็นครั้งแรกในชีวิต ก่อนจะตัดสินลาออกจากสโมสรในเวลาไม่นานนัก

 

 

เคอร์รี่ ดิ๊กซัน | ดอนคาสเตอร์ (1996)

 

 

อดีตหัวหน้า แซมมี่ ชุง ไม่รู้เลยว่า อดีตลูกน้องของเขาอย่าง ดิ๊กซัน ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมดอนคาสเตอร์ จนกระทั่งเขาเปิดประตูออฟฟิศเข้ามา และเห็นว่าโต๊ะทำงานของเขาถูกนั่งโดยอดีตแข้งเชลซีอยู่ ซึ่งเป็นเวลา 90 นาทีก่อนที่เกมเปิดสนามในฤดูกาล 1996-97 จะเริ่มขึ้นเท่านั้น

 

ดิ๊กซันได้ทำหน้าที่จนจบฤดูกาลนั้น แต่ในฤดูกาลต่อมา เขาต้องลาทีมหลังจากคุมทีมไปแค่ 3 นัดเท่านั้น โดยนัดสุดท้ายของเขากับ ดอนคาสเตอร์ คือเกมที่โดน น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ถล่มไป 8-0 ในลีกคัพ ส่งผลให้ เคน ริชาร์ดสัน ประธานสโมสรตัดสินแยกทางกับเขาทันที

  

 

เอียน รัช | เชสเตอร์ ซิตี้ (2004)

 

 

มาร์ค ลอว์เรนสัน ได้ตั้งข้อสังสัยถึง เอียน รัช ว่าจะมีความสามารถเพียงพอในการคุมทีมหรือไม่ ก่อนจะจรดปากกาเซ็นสัญญากับ เชสเตอร์ ซิตี้ แต่ทางอดีตแข้งชาวเวลว์ก็โต้กลับอดีตเพื่อนร่วมทีมแบบหอมปากหอมคอว่า “สิ่งที่เขาพูดไม่ได้เป็นการต่อว่าผมเพียงคนเดียว แต่สำหรับผู้บริหารในเชสเตอร์ ด้วย ผู้ที่ได้สัมภาษณ์กุนซือมากฝีมือหลายคน ก่อนที่พวกเขาจะเลือกผม”

 

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาในการทำหน้าที่เป็นผู้วิเคราะห์เกมของ ลอว์โร่ ยังยาวหน้าและยืนยาวกว่า การเป็นกุนซือของเพชรฆาตหน้าติดหนวดหลายเท่า เพราะเชสเตอร์เป็นสโมสรเดียวที่ รัช มีโอกาสคุมทีมและอยู่ได้เพียง 1 ปีเท่านั้น แถมค่อนไปในทางที่ไม่ดีอีกด้วย

  

 

สแตนลี่ย์ แมทธิวส์ | พอร์ท เวล (1967)

 

 

สแตนลี่ย์ แม็ทธิวส์ เป็นปีกจอมพริ้วที่มีลีลาการลากเลื้อยเหนือใครๆในยุคเดียวกัน แต่ทว่า การเขาจะเริ่มต้นเส้นทางสายกุนซือก็อายุปาเข้าไป 50 ปีแล้ว

 

และ 3 ปีที่เขาทำหน้าที่นี้กับ พอร์ท เวล สโมสรก็เจอแต่เรื่องสุดช็อก ทั้งโดนปรับจากความไม่แน่นอนทางการเงิน และถูกขับออกจากลีกผู้ดี ซึ่งเหตุการณ์หมดเกิดขึ้นโดยที่แมธทิวส์ไม่ได้ค่าจ้างแม้แต่เพนนีเดียว ด้วยประสบการณ์สุดเจ็บปวดแบบนี้ ไม่แปลกที่เขาจะหันหลังให้กับวงการนี้โดยสิ้นเชิง

 

 

คริส ซัตตัน | ลินคอร์น ซิตี้ (2009)

 

 

คริส ซัตตัน เคยเป็นนักเตะที่มีค่าตัวสูงที่สุดในฟุตบอลอังกฤษ เมื่อเขาย้ายจาก นอริช มาอยู่กับ แบล็คเบิร์น ในปี 1994 แต่กว่าเขาจะหันมารับงานกุนซือครั้งแรกก็ล่วงเลยอีก 15 ปีต่อมา

 

หัวหอกชาวอังกฤษได้เข้ามารับงานคุมทีมกับ ลินคอร์น ซิตี้ ในปี 2009 โดยที่ตัวเขาเองไม่เคยมีประสบการณ์ที่ไหนมาก่อน ซึ่งการที่ทีมมีสภาพร่อแร่จมอยู่ท้ายตารางภายใต้การดูแลของ ซัตตัน ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจเท่าไหร่นัก

 

แต่อย่างน้อย อดีตแข้งกุหลาบไฟก็ช่วยให้ทีมอยู่รอดปลอยภัยในลีกทู และค่อยก้าวลงจากตำแหน่งผู้จัดการทีมในฤดูกาลต่อมา เนื่องจากเหตุผลทางด้านครอบครัว

 

 

เอ็ดการ์ ดาวิดส์ | บาร์เน็ต (2012)

 

 

ไม่มีใครคิดว่า อดีตแข้งทีมชาติฮอลแลนด์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกุนซือทีมบาร์เน็ต รวมไปถึงการไปยืนคุมทีมอยู่ข้างสนาม แม้ทีมจะหล่นไปเล่นในลีกระดับคอนเฟเรนซ์ก็ตาม แต่หลังจากที่สโมสรตกชั้น เอ็ดการ์ ดาวิดส์ ก็เริ่มเทรนด์สุดแหวกด้วยการสวมเสื้อเบอร์ 1 แทนที่จะเป็นเบอร์อื่นเหมือนกองกลางทั่วไป

 

เรื่องบ้าบอคอแตกยังมีอยู่มากมายในช่วงที่เขากุมบังเหียน ไม่ว่าจะเป็นการที่แข้งชาวดัตช์ปฏิเสธเดินทางไปเล่นในเกมเยือน และ คว้าใบเหลือง 6 กับ ใบแดงอีก 3 ในฤดูกาล 2013-14

 

อย่างไรก็ตาม คงไม่มีใครบอกว่า ดาวิดส์ เข้ามาในเส้นทางคุมทีมง่ายกว่าใคร และคงมีไม่กี่คนบอกว่าเขาไม่มีความตั้งใจและทุ่มเทให้สโมสรเลย เมื่อเจ้าของฉายา พิตบลู ลงเล่นในลีกไป 36 นัด พร้อมกับพาทีมห่างจากโซนเพลย์ออฟเลื่อนชั้นแค่ 3 แต้มเท่านั้น ก่อนจะลาสโมสรไปในเดือนมกราคมปี 2014