ทะลุพันล้านปีที่ 6 : สรุปตลาดนักเตะพรีเมียร์ลีกซัมเมอร์ปี 2021

พรีเมียร์ลีก

รู้หรือไม่ว่า สโมสรพรีเมียร์ลีกใช้เงินราวๆ 1.04 พันล้านปอนด์ กับการเซ็น 103 แข้งแบบเปิดเผยค่าตัวมาร่วมทีมในตลาดนักเตะช่วงซัมเมอร์ปี 2021 แต่ว่าสโมสรรักของแต่ละคนใช้จ่ายในการเสริมทัพหนนี้เท่าไหร่กัน?

สโมสรใช้เงินทะลุพันล้านปอนด์เป็นปีที่ 6 ติดต่อกันแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดน้อยกว่ายอดรวมของซัมเมอร์ที่แล้ว 266 ล้านปอนด์ (1.24 พันล้านปอนด์ในซัมเมอร์ปี 2020) และมีค่าใช้จ่ายสุทธิ 593 ล้านปอนด์หลังจากที่ทีมชดเชยด้วยการขายผู้เล่นไปแล้วประมาณ 446 ล้านปอนด์

ทาง UFA ARENA จึงขอสรุปตลาดนักเตะหน้าร้อนที่เกิดขึ้นในพรีเมียร์ลีกประจำปี 2021 ว่าทีมไหนใช้จ่ายมากที่สุด, ได้กำไรจากการขายมากที่สุด และมีค่าใช้จ่ายสุทธิเท่าไหร่ในตลาดรอบนี้

 

ดีลใหญ่ประจำตลาดหนนี้

Premier League 2021-22 completed transfers: Ronaldo, Grealish, Sancho & all  the new signings | Goal.com

ดีลเบิ้มๆที่สุดในตลาดซัมเมอร์ปี 2021 คงหนีไม่พ้น แจ็ค กรีลิช ที่ทำลายสถิติด้วยการเป็นนักเตะค่าตัวสูงสุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ หลังย้ายจาก แอสตัน วิลล่า ซบ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ด้วยค่าตัว 100 ล้านปอนด์

ตามมาด้วย โรเมลู ลูกากู กองหน้าคนใหม่หน้าเก่าของ เชลซี ที่ย้ายจาก อินเตอร์ มิลาน ด้วยค่าตัว 97.5 ล้านปอนด์ และ จาดอน ซานโช่ ปีกที่ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จ่ายให้ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ 73 ล้านปอนด์

อาร์เซน่อล ที่สโมสรใหญ่(?)ในพรีเมียร์ลีกที่เสริมทัพหนักกว่าใคร โดยมี เบน ไวท์ กองหลังจาก ไบรท์ตัน แพงสุดด้วยค่าตัว 50 ล้านปอนด์ ขณะที่อันดับที่ 5 ราฟาเอล วาราน กองหลังดีกรีแชมป์โลกที่ ‘ปีศาจแดง’ สู่ขอจาก เรอัล มาดริด ด้วยค่าตัว 43 ล้านปอนด์

อย่างไรก็ตาม ดีลใหญ่สำคัญที่พูดถึงไม่ได้ก็คือ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ที่แม้ไม่ได้มีค่าตัวมากที่สุดในตลาดหนนี้แค่เพียง 19.7 ล้านปอนด์ที่จ่ายให้ ยูเวนตุส  แต่ก็การย้ายทีมที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการฟุตบอลทั่วโลก เนื่องจากนี่การกลับมา แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สโมสรที่ปลุกปั้นให้เขาเป็นดาวดังระดับโลก ในรอบ 12 ปี  

 

ยอดนักช็อป

Arsenal full list of ins and outs for 2021/22 summer transfer window -  football.london

อย่างที่รู้กันว่า อาร์เซน่อล เป็นทีมที่ใช้เงินเสริมทัพมากที่สุด รวมแล้วเป็นเงินกว่า 156.8 ล้านปอนด์ โดยทั้งหมด 5 รายล้วนเป็นแข้งดาวรุ่งอายุไม่มาก ทั้ง ไวท์, มาร์ติน โอเดการ์ด (34 ล้านปอนด์), อารอน แรมส์เดล (30 ล้านปอนด์), ทาเคฮิโระโทมิยาสุ (19.8 ล้านปอนด์), อัลเบิร์ต แซมบี้ โลล็องก้า (15 ล้านปอนด์) และ นูโน่ ตาบาเรส (8 ล้านปอนด์)

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตามเป็นมาเป็นอันดับ 2 โดยใช้เงินใกล้เคียงกับ ‘ปืนใหญ่’ ที่สุดด้วยจำนวน 133.7 ล้านปอนด์ กับ ซานโช่, วาราน และ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ขณะที่ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ใช้เงินทุกเพนนี่ไปกับ กรีลิช แค่คนเดียว

 ตามมาด้วย เชลซี ที่ใช้เงินช็อป 97.5 ล้านปอนด์ และ แอสตัน วิลล่า ที่นำเงินจากการขาย กรีลิช มาใช้เสริมทัพอุดช่องว่างในทีมเป็นเงินรวม 93 ล้านปอนด์

ส่วนทีมที่รั้งอันดับท้ายสุดคือ เอฟเวอร์ตัน ที่รัดเข็มขัดแบบสุดๆในซัมเมอร์นี้ด้วยการใช้เงินเพียง 1.5 ล้านปอนด์ ตามมาด้วย วัตฟอร์ด (4.5 ล้านปอนด์), เซาแธมป์ตัน (15 ล้านปอนด์), วูล์ฟแฮมป์ตัน (16.4 ล้านปอนด์) และ เบิร์นลี่ย์ (17.5 ล้านปอนด์)

 

ทีมขายเก่ง

Transfer window 2021 done deals: The full list of Premier League deals  completed with deadline day approaching

แอสตัน วิลล่า ขึ้นมารั้งอันดับหนึ่งในด้านอย่างไม่ต้องสงสัยกับการขายแค่ กลิริช ทำลายสถิติด้วยค่าตัว 100 ล้านปอนด์ ตามมาด้วย เชลซี ที่แม้ช็อปหนัก แต่ก็ขายออกไปในราคาพอๆกัน ทั้ง แทมมี่ อับราฮัม (โรม่า, 34 ล้านปอนด์), เคิร์ต ซูม่า (เวสต์แฮม, 28.8 ล้านปอนด์), ฟิคาโย่ โทโมริ (25 ล้านปอนด์), โอลิวิเย่ร์ ชิรูด์ (มิลานทั้งคู่, 1.7 ล้านปอนด์) และ วิคเตอร์ โมเซส (สปาร์ตัก มอสโก, 3.9 ล้านปอนด์)

ไบรท์ตัน เป็นทีมอันดับ 3 หลังขาย ไวท์ ด้วยค่าตัว 50 ล้านปอนด์, เซาแธมป์ตัน (40 ล้านปอนด์ จาก แดนนี่ อิงส์ และ ยานนิค เวสเตอร์การ์ด), นอริช (38 ล้านปอนด์ จาก เอมิเลียโน่ บูเอนเดีย)

ส่วนอันดับไล่ลงมาประกอบไปด้วย แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (30 ล้านปอนด์), แมนเชสเตอร์ ซิตี้ (27.3 ล้านปอนด์), อาร์เซน่อล (25 ล้านปอนด์) และ ลิเวอร์พูล (24.5 ล้านปอนด์) ที่ขายได้ในระดับหนึ่ง ขณะที่ วัตฟอร์ด (10 ล้านปอนด์), วูล์ฟส์ (4 ล้านปอนด์) และ สเปอร์ส (2.5 ล้านปอนด์) ขายนักเตะได้ในราคาไม่มากนัก

ขณะเดียวกันมีถึง 8 สโมสรที่ไม่มีรายได้จากการปล่อยนักเตะออกไปในดีลที่มีการเปิดเผยค่าตัว ซึ่งก็คือ เบรนท์ฟอร์ด, เบิร์นลี่ย์, คริสตัล พาเลซ, เอฟเวอร์ตัน, ลีดส์, เลสเตอร์, นิวคาสเซิล และ เวสต์แฮม

 

การใช้จ่ายสุทธิ

Premier League landscape stands altered as clubs spend over a billion  pounds | Sports News,The Indian Express

เมื่อนำค่าใช้จ่ายกับรายได้ในตลาดนักเตะมาหักลบกันก็จะได้ค่าใช้จ่ายสุทธิของสโมสรในลีก และไม่แปลกใจที่ทีมของ มิเกล อาร์เตต้า  มีค่าใช้จ่ายรวมสูงสุดที่ 131.8 ล้านปอนด์ ตามมาด้วย แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (103.7 ล้านปอนด์) และ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ (72.7 ล้านปอนด์)

‘ขุนค้อน’ ของ เดวิด มอยส์ ตามมาเป็นที่ 3 ในค่าใช้จ่ายสุทธิที่ 63.3 ล้านปอนด์ ตามมาด้วย เลสเตอร์ (55 ล้านปอนด์), สเปอร์ส (54.6 ล้านปอนด์), ลีดส์ (43 ล้านปอนด์), เบรนท์ฟอร์ด (31.1 ล้านปอนด์),  คริสตัล พาเลซ (28.5 ล้านปอนด์), นิวคาสเซิล (25 ล้านปอนด์), เบิร์นลี่ย์ (17.5 ล้านปอนด์),วูล์ฟส์ (12.4 ล้านปอนด์), ลิเวอร์พูล (11.5 ล้านปอนด์), เชลซี (3.1 ล้านปอนด์) และ เอฟเวอร์ตัน (1.6 ล้านปอนด์)

มีเ 5  สโมสรที่ได้กำไรจากตลาดนักเตะหนนี้ นั่นก็คือ เซาแธมป์ตัน (กำไรมากที่สุด 25 ล้านปอนด์), ไบรท์ตัน (17.9 ล้านปอนด์), แอสตัน วิลล่า (7 ล้านปอนด์), นอริช (6.1 ล้านปอนด์) และ วัตฟอร์ด (5.5 ล้านปอนด์)

 

เก็บตกคืนหมาหอน

Transfer Deadline Day Summer 2021: All the confirmed deals

ปีศาจแดง, เรือใบสีฟ้า และ หงส์แดง คือ 3 ทีมใหญ่ที่แฟนบอลสามารถเข้านอนแบบไม่ต้องลุ้นอะไร เนื่องจากไม่มีดีลฟ้าผ่าเกิดขึ้นอย่างที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะทีมของ เจอร์เก้น คล็อปป์ ที่เลือกต่อสัญญามากกว่าซื้อเพิ่ม หลังได้แค่ อิบราฮิม่า โคนาเต้ มาตั้งแต่ตลาดเปิดใหม่ในเดือนมิถุนายน

 โดยทีมของ โอเล่ กุนนาร์ โซลชา ก็ปล่อย แดเนี่ยล เจมส์ ให้กับ ลีดส์ ในราคา 25 ล้านปอนด์ หลังยืนยันคว้า CR7 ได้แล้ว ส่วนทีมของ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า ก็ทยอยดาวรุ่งไปเก็บเลเวลกับทีมอื่นก่อน ทั้ง ฟิลิปป์ แซนด์เลอร์, แพทริค โรเบิร์ตส์, ยานเกล เอร์เรร่า และ ทอมมี่ ดอยล์ 

ด้าน 3 ทีมในลอนดอน ทั้ง สเปอร์ส, อาร์เซน่อล และ เชลซี ก็ได้แข้งใหม่ส่งท้ายวันปิดตลาดกันทีมละ 1 คน กับ เอแมร์สัน รอยัล, โทมิยาสุ และ ซาอูล ญิเกซ

ขณะที่ เวสต์แฮม ช็อปเพิ่มมากที่สุดในวันที่ 31 สิงหาคม ด้วยการคว้า นิโคโล่ วลาซิช จาก ซีเอสเคเอ มอสโก และ อเล็กซ์ คราล กองกลางจาก สปาร์ตัก มอสโก มาร่วมทีมเป็น 2 รายสุดท้าย

สำหรับการปล่อยแข้งออกไปในวันสุดท้าย ส่วนใหญ่ล้วนเป็นการปล่อยให้ทีมอื่นยืมนักเตะไปใช้งาน โดยมี แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ปล่อยออกไปมากที่สุด 4 ราย, ตามมาด้วย อาร์เซน่อล 3 ราย, แอสตัน วิลล่า กับ เอฟเวอร์ตัน เท่ากัน 2 ราย และ เชลซี,ลีดส์ กับ เลสเตอร์ ทีมละ 1 ราย

ส่วนดีลนำเข้าที่แพงที่สุดในตลาดนักเตะวันสุดท้ายของพรีเมียร์ลีก คือ การคว้า เอแมร์ซอน รอยัล ของ สเปอร์ส ที่ดึงตัวมาจาก บาร์เซโลน่า ด้วยค่าตัว 25.8 ล้านปอนด์ โดยมีดีลยืม ซาอูล ญิเกซ จาก แอตเลติโก้ มาดริด ของ เชลซี ปิดท้ายให้แฟน ‘สิงห์บลูส์’ เนื้อเต้นกัน

 

จำนวนการเสริมทัพ

Birmingham TV | COVID HITS: Premier League clubs spend £1.1bn in transfer  window

นอริช เป็นสโมสรที่เซ็นแข้งใหม่มาร่วมทีมถาวรมากที่สุด ด้วยจำนวน 10 ราย หากรวมดีลยืมตัวอีกก็เท่ากับพวกเขาได้แข้งใหม่ถึง 14 ราย เพื่อเสริมแกร่งเอาตัวรอดหนีตกชั้นในฤดูกาลนี้ หลังขาย บูเอนเดีย ออกไป

ขณะที่ วัตฟอร์ด (11 รายรวมดีลยืมตัว), แอสตัน วิลล่า (9 ราย )และ ลีดส์ (8 ราย) เป็นทีมที่คว้าแข้งใหม่มาร่วมรองลงมา

ทางฝั่ง ทีมของ โธมัส ทูเคิ่ล เป็นสโมสรที่ปล่อยนักเตะยืมตัวมากที่สุดถึง 17 รายในซัมเมอร์นี้ เช่นเดียวกับ ไบรท์ตัน ที่ปล่อยในจำนวนที่เท่ากัน

ในส่วนของการปล่อยแข้งแบบขาดขาย เชลซี, สเปอร์ส และ วัตฟอร์ด  เป็นทีมเบอร์หนึ่งในด้านนี้ของลีก ด้วยการโละนักเตะในทีมออกไปเท่ากันที่ 22 ราย โดยมี นิวคาสเซิล และ เซาแธมป์ตัน ตามมาเป็นอันดับ 2 (18 รายเท่านั้น) 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความสนุกที่รอคอย : เหตุผลที่พรีเมียร์ลีกซีซั่นนี้น่าดูยิ่งกว่าเดิม