สั่นสะเทือนวงการ : 5 การประท้วงชื่อก้องแห่งโลกลูกหนัง

 

ช่วงเกมพักเบรกทีมชาติปลายเดือนมีนาคม ได้เกิดการประท้วงแสดงจุดยืนในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง 3 เกมติดต่อกันในศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือกโซนยุโรป 

 

นอร์เวย์ คือชาติแรกที่ออกมาสวมเสื้อประท้วงที่มีข้อความร่วมต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนแรงงานข้ามชาติที่เกิดขึ้นในประเทศกาตาร์ หลังก่อนหน้านี้มีรายงานว่า แรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในกาตาร์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับศึกฟุตบอลโลก 2022 ได้รับการปฏิบัติอย่างเลวร้ายด้วยการบังคับให้ทำงานทุกวันจนมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 6,500 คน

 

จากนั้น เยอรมัน และ เนเธอร์แลนด์ ก็เป็นอีก 2 ชาติต่อมาที่แสดงจุดยืนเพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนให้แรงงานข้ามชาติ และคาดว่าน่าจะบางประเทศร่วมส่งเสียงเรื่องนี้ไปถึง ฟีฟ่า ในช่วงเกมทีมชาติที่เหลือในสัปดาห์นี้

 

แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทีม หรือ ผู้เล่น ในการแข่งขันประท้วงแสดงออกอย่างชัดเจนเพื่อเรียกร้อง.oสิ่งที่พวกเขาต้องการ หรือต่อต้านกับสิ่งที่พวกเขามองว่าไม่เป็นธรรม ด้วยเหตุนี้ UFA ARENA จึงพอไปพบกับ 5 การประท้วงชื่อก้องเท่าที่เคยเกิดขึ้นในการแข่งขันบนโลกลูกหนังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

 

 

คุกเข่าต้านเหยียดผิว | 2020-ปัจจุบัน

 

Crystal Palace star Zaha becomes first Premier League player to stop taking  the knee in anti-racism fight | Goal.com

 

ก่อนหน้าที่ผู้เล่น 3 ชาติแสดงสวมเสื้อประท้วงเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปีหน้า เรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนและแรงงาน ทั่วโลกได้รู้จักกับการคุกเข่าต้านการเหยียดผิวมาก่อนในปีที่ผ่านมา 

 

แรกเริ่มเดิมที นักกีฬาที่ใช้การคุกเข่าประท้วงเป็นรายแรกคือ โคลิน แคเปอร์นิค นักกีฬาอเมริกันฟุตบอล อดีตควอเตอร์แบ็คของ ซาน ฟรานซิสโก โฟร์ตี้ไนเนอร์ส เพื่อประท้วงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้ความรุนแรงต่อวัยรุ่นผิวดำชาวอเมริกัน ในเดือนสิงหาคม ปี 2016 แต่การตายของ จอร์จ ฟลอยด์ หนุ่มใหญ่ผิวดำ ในปี 2020 กลายเป็นตัวจุดประกายให้ทั่วโลกหันมาสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง และเข้าร่วมคุกเข่าเพื่อต่อต้านเรื่องนี้มากมาย ทั้งจากทีมกีฬา, นักกีฬาอาชีพ รวมไปถึงในวงการฟุตบอลด้วย

 

หากนับเวลาปัจจุบัน นี่เป็นเวลาครบรอบ 1 ปีแล้วที่ ฟลอยด์ เสียชีวิตจากการเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่นเดียวกับการคุกเข่าต้านเหยียดผิวที่เริ่มใน พรีเมียร์ลีก ช่วงท้ายฤดูกาลก่อน อย่างไรก็ตาม วิลเฟร็ด ซาฮา ปีกตัวเก่งของ คริสตัล พาเลซ กลายเป็นคนแรกของลีก ที่ยืนยันจะไม่คุกเข่าก่อนแข่งต่อไป เนื่องจากมองว่า การกระทำลีกษณะนี้ไม่ได้ช่วยให้การเหยียดผิวลดลงแต่อย่างใด และควรมีมาตรการที่จริงจังกว่านี้ในการจัดการกลุ่มคนเหล่านั้น ที่คุกคามผู้เล่นบน โซเชียล มีเดีย

 

ขณะที่ เบรนท์ฟอร์ด สโมสรในแชมเปี้ยนส์ชิพ ได้ประกาศที่จะไม่คุกเข่าก่อนเกมการแข่งขันอีกต่อไป ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันของผู้เล่นภายในทีม โดยพวกเขาให้เหตุผลว่าเหมือนถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างภาพ ก่อนที่ ดาร์บี้ เคาน์ตี้, ควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ส, โคเวนทรี ซิตี้ และ บอร์นมัธ เพื่อนร่วมทีมในลีกรอง ตัดสินใจถอนตัวเองจากแคมเปญต่อต้านการเหยียดผิว ที่เคยร่วมมือกับลีกฟุตบอลอังกฤษเช่นกัน

 

 

ราปิโน่ แข้งหญิงผู้เรียกร้องความเท่าเทียม | 2016

 

Megan Rapinoe, Wearing a U.S. Uniform, Kneels for the Anthem - The New York  Times

 

เมแกน ราปิโน่ เป็นหนึ่งในนักเตะหญิงที่ยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา หลังเธอพาทีมชาติ สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งใน 4 ชาติ ทั้งบอลชายและหญิง ที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้ 2 สมัยติดต่อกัน และด้วยฟอร์มการเล่นในปัจจุบัน ก็มีสิทธิที่เธอจะพาบ้านเกิดคว้าแชมป์โลก 3 สมัยซ้อน ในปี 2023 ที่ ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ เป็นเจ้าภาพร่วม

 

อย่างไรก็ตาม ยอดแข้งหญิงวัย 35 ปี ไม่พอใจกับการเป็นแค่นักเตะที่ประสบความสำเร็จในสนามเท่านั้น เพราะบ่อยครั้งที่เธอออกมาเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ, สนับสนุนกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) รวมถึงการเดินทางไป ทำเนียบขาว เพื่อเรียกร้องค่าเหนื่อยทีมลูกหนังหญิงแดนมะกันให้เท่าเทียมกับ ฟุตบอลลชาย รวมถึงสร้างที่ทางของกีฬาหญิงในวงการด้วย

 

แต่เหตุการณ์ที่ทำให้หลายคนรู้จักชื่อของ ราปิโน่ ในแง่ของนักกิจกรรมตัวยงคือการที่เธอเป็นนักฟุตบอลคนแรกของโลกที่ตามรอยของ โคลิน แคเปอร์นิค ด้วยการคุกเข่าในเกมพบกับทีมชาติไทย เพื่อเป็นการประท้วงนโยบายเหยียดคนข้ามเพศของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสุดโต่ง ในช่วงที่เขาชนะการเลือกตั้งใหม่ ๆ 

 

นอกจากนี้ยังเคยประกาศไว้ก่อนฟุตบอลโลกปี 2019 ที่อเมริกาคว้าแชมป์ ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร เธอก็จะไม่ตอบรับคำเชิญของ ทรัมป์ ไปเยือนที่ ทำเนียบขาว แน่นอน

 

 

 แม็คคลีน กับ ดอกป็อปปี้ | 2012-ปัจจุบัน

 

James McClean and a lifelong indifference to political conventions

 

เจมส์ แม็คคลีน กลายเป็นที่สนใจของสื่อทั่วโลก ไม่ใช่เพราะฝีเท้าของเขา แต่เป็นเพราะต่อต้านการใช้ดอกป๊อปปี้ที่เขาปฏิเสธติดดอกป๊อปปี้บนเสื้อแข่งครั้งแรกในเกมที่ ซันเดอร์แลนด์ พบ เอฟเวอร์ตัน เมื่อปี 2012 ก่อนจะทำแบบนี้หลายครั้งต่อมา ทั้งการเล่นในระดับ พรีเมียร์ลีก หรือ แชมเปี้ยนส์ชิพ รวมถึงในทีมชาติไอร์แลนด์ จนถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก และเป็นเหตุที่ทำให้เขาถูกข่มขู่ปองร้ายมาแล้ว

 

ปีกวัย 31 ปี ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ Bloody Sunday ปี 1972 เหตุการณ์ที่ทหารอังกฤษยิงผู้เดินประท้วงอย่างสันติชาวไอร์แลนด์เหนือไปถึง 28 คน ให้เหตุผลเรื่องนี้ไว้ว่า ดอกป๊อปปี้ในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ที่รำลึกถึงทหารผู้เสียชีวิตในสงคราม แต่เป็นสัญลักษณ์ที่เปรียบเสมือนการสร้างอำนาจ ความชอบธรรม ให้แก่กองทัพของประเทศต่าง ๆ 

 

เขากล่าวเสริมว่า เขาให้การเคารพผู้ที่ยอมสละชีวิตในสงครามโลกทั้งสองครั้งอย่างเต็มใจ แต่ดอกป๊อปปี้ถูกใช้รำลึกถึงเหยื่อจากความขัดแย้งอื่นๆ ด้วยมาตั้งแต่ปี 1945 และ การสวมดอกป๊อปปี้สำหรับเขาไม่ต่างจากการลบหลู่ผู้บริสุทธิ์ ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงที่กองทัพอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เขายืนยันว่าเขาไม่ได้ดูหมิ่นบรรดาทหารที่ต้องเสียชีวิตในช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง ซึ่งมีชาวไอร์แลนด์เหนือ-ไอร์แลนด์ร่วมรบด้วย อย่างที่หลายฝ่ายกล่าวหา

 

มีหลายคนในวงการที่เห็นด้วยกับเขาในเรื่องนี้ ทั้ง เดวิด เมย์เลอร์ กองกลางเพื่อนร่วมชาติ, โจวานนี่ ตราปัตโตนี่ อดีตกุนซือทีมชาติไอร์แลนด์ หรือ ริโอ เฟอร์ดินานด์ อดีตกองหลังชาวอังกฤษ ที่มองว่าเรื่องนี้เป็นส่วนตัว แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยกับแนวคิดของ แม็คคลีน เช่นกัน

 

 

ฟาวเลอร์ขอประท้วงเพื่อชนชั้นแรงงาน | 1997

 

10 reasons why Robbie Fowler will always be God to Liverpool fans -  PlanetFootball

 

ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ คือหนึ่งในตำนานลิเวอร์พูล ที่ยังได้รับความรักและเทิดทูนจาก เดอะ ค็อป ทั่วโลก ถึงแม้ความสำเร็จในสนามของเจา จะไม่เท่ากับ เคนนี่ ดัลกริช, เอียน รัช หรือ ว่าที่ตำนานอย่าง โมฮาเหม็ด  ซาลาห์ ก็ตาม

 

ฉายา ‘เดอะ ก็อด‘ ที่เหล่าแฟนหงส์แดงมอบให้คือสิ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขายกย่อง อดีตกองหน้าทีมชาติอังกฤษมากเพียงใด และเชื่อว่าหลายคนคงไม่ลืมกับเกม ยูฟา คัพวินเนอร์ส คัพ ปี 1997 ที่พบกับ บรานน์ สโมสรจาก นอร์เวย์ เมื่อ ขวัญใจแข้งหงส์คนนี้ ได้ทำการฉลองประตูด้วยการโชว์ข้อความที่สกรีนบนเสื้อยืดตัวข้างในว่า ‘Support the 500 Sacked doCKers’ 

 

โดยมีเนื้อหาสนับสนุนการประท้วงเพราะไม่ได้รับค่าจ้างของชนชั้นแรงงานในท่าเรือที่เมือง ลิเวอร์พูล ขณะที่ สตีฟ แม็คมานามาน ก็มีเอาเรื่องนี้ด้วยกับฟาวเลอร์ ก่อนที่ทั้งคู่จะโดน ยูฟ่า ปรับไปคนละ 900 ปอนด์ แม้ก่อนหน้านี้ องค์กรลูกหนังยุโรป เพิ่งจะส่งแฟ็กซ์ มาชื่นชม ฟาวเลอร์ ที่ปฏิเสธจุดโทษในเกมเจอ อาร์เซน่อล อยู่หมาด ๆ ก็ตาม

 

มาเธียส ซินเดลาร์ ยอดแข้งผู้กล้างัดข้อนาซี | 1938

 

Matthias Sindelar: the great pre-war footballer who danced before the Nazis

 

นี่เป็นการประท้วงที่ทรงพลังและมีราคาที่ต้องจ่ายมากที่สุดเท่าที่วงการฟุตบอลเคยพบเจอมา หลัง มาเธียส ซินเดลาร์ ลงเล่นให้ ออสเตรีย ทีมบ้านเกิด พบกับ นาซี เยอรมัน ในวันที่ 3 เมษายน ปี 1938 

 

ซินเดลาร์ เป็นนักเตะที่เก่งกาจที่สุดในทวีปยุโรป อาจเรียกได้ว่าเป็นซุปเปอร์สตาร์คนแรกของวงการก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นลีลาการเลี้ยง หรือ ทำประตูที่ยอดเหนือใคร จนพา ออสเตรีย เข้าไปไกลถึงรอบตัดเชือกในฟุตบอลโลกปี 1934 รวมถึงเลือกเล่นกับ ออสเตรีย เวียนนา สโมสรรักในบ้านเกิดทีมเดียว ตลอดอาชีพ แม้ได้รับความสนใจจากสโมสรดังจากต่างแดนก็ตาม

 

อย่างไรก็ตามเมื่อนาซียึดออสเตรียในปี 1938 ซินเดลาร์ ก็ทนประเทศที่เขารักพังทลายจากเหล่าจอมผเด็จการ จากนั้นพวกนาซีก็เริ่มดำเนินการกวาดล้างชาวยิวและวัฒนธรรมของชาวยิวในประเทศ รวมไปถึงการไล่ผู้เล่นที่เป็นชาวยิว (หรือคิดว่าเป็นชาวยิว) ออกจากออสเตรียเวียนนาและทีมชั้นนำอื่น ๆ ในประเทศ 

 

นอกจากนี้ นาซีเยอรมันยังต้องการให้นักเตะที่ดีที่สุดของออสเตรียมาเล่นให้กับพวกเขา แมตช์ ‘รวมชาติ’ ระหว่างออสเตรียเก่า และ ออสโตร-เยอรมัน (ออสเตรียที่เป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน) แน่นอนว่า ซินเดลาร์ ลงเล่นในเกมนั้นให้กับ ออสเตรียเก่า ด้วย พร้อมกับคำเตือนห้ามทำอะไรหยามหน้าพวก นาซี เด็ดขาด

 

แต่ ซินเดลาร์ ที่เกลียด นาซี เป็นทุนเดิมมีหรือจะเล่นตามเกมที่ฝั่งตรงข้ามต้องการ เมื่อทำการกดประตูแรกให้ ออสเตรีย ขึ้นนำก่อนในนาที 70 ก่อนที่ ซาสตี้ เซสต้า เพื่อนร่วมทีมสุดซี้จะยิงฟรีคิกให้เจ้าถิ่นชนะไป 2-0 ตามมาด้วยท่าเต้นฉลองชัยแบบยั่วยวนกวนประสาทจากทั้งคู่ และไม่แปลกที่คนใหญ่คนโตในกองทัพนาซี จะไม่ปลื้มกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเกมนี้

 

เกือบ 1 ปีให้หลังต่อมา ซินเดลาร์ และ แฟนสาวชาวอิตาเลี่ยนของเขา (ที่มีข่าวลือว่ามีเชื้อสายยิว) ถูกพบเป็นศพไร้วิญญานในอพาร์ทเม้นท์กลางกรุงเวียนนา มีสรุปสำนวนว่าทั้งคู่เสียชีวิตจากการสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มากเกิน โดยสันนิษฐานสาเหตุไว้ 2 เรื่องใหญ่ๆ คืออุบัติเหตุ กับการฆ่าตัวตาย จากความซึมเศร้าหลังได้เห็นทีมและเมืองอันเป็นที่รักล่มสลาย แต่ก็มีไม่น้อยที่เชื่อว่า ตำนานแข้งชาวออสเตรีย ต้องมาจบชีวิต เพราะน้ำมือของพวกนาซี ที่โดนหยามหน้าในเกมกระชับมิตรเมื่อราว ๆ 9 เดือนก่อน