เดเด้ขอตามรอย : วิตโตริโอ ปอซโซ่ กุนซือผู้คว้าแชมป์โลก 2 สมัยติด

เดเด้ขอตามรอย : วิตโตริโอ ปอซโซ่ กุนซือผู้คว้าแชมป์โลก 2 สมัยติด

ดิดิเย่ร์ เดส์ชองส์ คงหวังพาฝรั่งเศส ป้องกันแชมป์ฟุตบอลโลกที่ กาตาร์ หลังเข้าไปเล่นรอบตัดเชือกกับ โมร็อกโก และกลายเป็นกุนซือคนที่ 2 ที่คว้าแชมป์โลกได้ 2 สมัยติด ตามรอย วิตโตริโอ ปอซโซ่ กุนซือระดับตำนานของอิตาลี

มีเพียง 2 ชาติเท่านั้นในประวัติศาสตร์ที่เคยป้องกันแชมป์โลกได้ โดยมี อิตาลี ในปี 1934 กับ ปี 1938 และ บราซิล ในปี 1958 กับ ปี 1962 แต่การที่กุนซือของ ‘เซเลเซา’ มีการเปลี่ยนมือในช่วงที่คว้าแชมป์โลกทั้ง 2 ครั้งนั้น ทำให้ ปอซโซ่ กลายเป็นตำนานที่ยืนหนึ่งในเรื่องนี้เหนือใคร

เจ้าของฉายา ‘อิล เวคคิโอ้ เมสโตร’ หรือ ‘อาจารย์ใหญ่’ กลายมาเป็นหนึ่งในสุดยอดโค้ชที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลโลก และเป็นผู้ให้กำเนิดระบบการเล่นแบบ ‘เมโทโด’ (Metodo) หรือแผนการเล่นแบบสามเหลี่ยมที่เป็นต้นแบบของแผน 4-3-3 ในปัจจุบัน

ทว่าแม้เป็นกุนซือคนเดียวที่คว้าแชมป์โลก 2 สมัย แต่ทว่าชื่อของ วิตโตริโอ ปอซโซ่ กลับไม่เป็นที่รู้จักมากนัก และ UFA ARENA จะพาไปพบกับเรื่องราวของยอดกุนซือรายนี้ พร้อมเหตุผลที่เป็นเช่นนั้น

 

จุดเริ่มต้นสู่ตำนาน

Quando Vittorio Pozzo perse il posto | Storie di Calcio

วิตโตริโอ ปอซโซ่ เกิดวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1886 ในเมืองตูริน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี เขาเข้าศึกษาที่ลิเซโอ กาวัวร์ เมืองบ้านเกิด พร้อมกับฝึกหัดฟุตบอลไปด้วย

โดยเขาเริ่มต้นอาชีพค้าแข้งกับ กราสฮอปเปอร์ ซูริค สโมสรดังจากสวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงที่ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมไปถึงได้เล่นกับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ช่วงสั้นๆด้วย ก่อนย้ายกลับมาเล่นใน โตริโน่ บ้านเกิด ตั้งแต่ปี 1906-1911 และเริ่มต้นงานกุนซือหลังจากนั้น

และแน่นอนว่าในเส้นทางการคุมทีม กุนซือชาวอิตาเลี่ยน ประสบความสำเร็จมากๆกับ อิตาลี ทั้งการคว้าแชมป์โลก 2 สมัย รวมไปถึงเหรียญทองโอลิมปิกในปี 1936 ด้วย ยิ่งทำให้เขาคู่ควรกับการได้รับการยกย่องด้วย

ทว่าความสำเร็จของเขาถูกมองข้ามหรือถูกทำให้หลงลืม เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในยุคที่ อิตาลี ปกครองในระบอบฟาสซิสต์ ภายใต้การนำของ เบนิโต มุสโสลินี่

 

ระบอบฟาสซิสต์เป็นเหตุ

Flashback: No 2: Italy 1934: Pozzo's victory overshadowed by Mussolini |  The Independent | The Independent

“นี่เป็นการจงใจให้มีเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่าเขาเป็นใคร” ดร.อเล็กซ์ อเล็กซานโดร นักประวัติศาสตร์ ประธานและผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่าย Football and War กล่าว

“ถ้าคุณนึกถึงอิตาลีหลังปี 1945 และวิธีที่ฟีฟ่าและสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลีทำโครงการและโปรโมตตัวเอง สิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่ต้องการทำคือให้ความเชื่อมั่นต่อ ปอซโซ่ และสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 เพราะมีนัยสำคัญเชื่อมโยงกับฝ่ายขวาจัดและลัทธิฟาสซิสต์อยู่”

แม้ว่า วิตโตริโอ ปอซโซ่ จะรับหน้าที่คุมทีมชาติในโอลิมปิกปี 1912 เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่พวกฟาสซิสต์จะขึ้นสู่อำนาจในอิตาลี และไม่เคยเป็นสมาชิกของพรรคฟาสซิสต์แห่งชาติ แต่เรื่องราวของเขาก็เชื่อมโยงอย่างแยกไม่ออกกับขบวนการขวาจัดที่นำไปสู่การปกครองแบบเผด็จการของเบนิโต มุสโสลินี่

ดาวทั้ง 4 ดวงปักชื่ออย่างภาคภูมิบนเสื้อทีมชาติอิตาลีเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะในฟุตบอลโลก 4 สมัย แสดงถึงการยอมรับชัยชนะในปี 1934 และ 1938 แต่ก็ยังมีความไม่สบายใจอยู่บ้างรอบตัวพวกเขา

จอห์น ฟุต ผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอลอิตาลีอธิบายในหนังสือเล่มใหม่ว่า “มีกลิ่นแบบนี้เล็กน้อยหลังสงคราม ปอซโซ่ ไม่โด่งดังหรือถูกยกย่องอย่างที่ควรเพราะเขาคว้าแชมป์โลกภายใต้ระบอบฟาสซิสต์” จอห์น ฟุต ผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอลอิตาลี อธิบายเรื่องนี้

“เขาไม่ได้ถูกบังคับให้ทำอย่างนั้น เขาเข้าร่วมด้วย นักเตะทำความเคารพฟาสซิสต์และมีวาทศิลป์รอบตัวพวกเขา ดังนั้นมันจึงเป็นปัญหาของอิตาลี ว่าฟุตบอลโลกเหล่านั้นนับรวมด้วยหรือไม่”

ด้าน ศจ.ฌอง วิลเลี่ยมส์ นักประวัติศาสตร์การกีฬา กล่าวเสริมว่า “หลายคนมองว่า ปอซโซ่ ยอมจำนนต่อระบอบการปกครอง เขาเข้าร่วมกับมันมากกว่ายืนหยัดต่อสู้”

“เว้นแต่คุณจะออกจากประเทศ มันเป็นเรื่องยากมากที่จะหลีกเลี่ยง เช่นเดียวกับที่ชายหนุ่มจำนวนมากจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของยุวชนฮิตเลอร์ (ในนาซีเยอรมนี) เพราะโดยพื้นฐานแล้วเป็นลูกเสือของพวกเขา”

ด้วยเหตุผลดังกล่าว อาจทำให้ ปอซโซ่ ไม่มีเวลามากสำหรับการเมืองต่อตนเองหรือแม้แต่กับพวกฟาสซิสต์เอง แต่เขารักฟุตบอลของเขาและต้องอยู่รอดในระบอบการปกครองนั้น เขาจึงทำในสิ่งที่เขารู้สึกว่าต้องทำ ทำหน้าที่ที่เขาอยากทำก็คือการคุมทีมนั่นเอง

 

ข่าวลือเผด็จการเอื้อเพื่อคว้าแชมป์

World Cup stunning moments: Mussolini's blackshirts' 1938 win | Italy | The  Guardian

รัฐบาลฟาสซิสต์ของมุสโสลินี่ ได้พยายามยึดโยงความสัมพันธ์และคุณค่าของฟุตบอลอย่างรวดเร็วหลังจากการยึดอำนาจในปี 1922 และการมีส่วนร่วมกับเกมระดับชาติของอิตาลีนั้นลึกซึ้งยิ่งขึ้นเมื่อประเทศกลายเป็นเผด็จการ

เงินไหลเข้าสู่วงการกีฬาเพื่อค้นหาโอกาสที่ดีที่สุดในการประสบความสำเร็จในเวทีระดับนานาชาติ โดย เซเรียอา ลีกของประเทศได้จัดโครงสร้างใหม่ในปี 1929 เพื่อสร้างการแข่งขันที่แข็งแกร่งขึ้นและช่วยพัฒนาผู้เล่นที่สามารถแข่งขันในระดับสูงสุดได้

นายพล จอร์จิโอ้ วัคคาโร่ ได้รับการติดตั้งเป็นหัวหน้าสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี แต่พอมาทีมชาติ ปอซโซ่ ผู้ทำหน้าที่คุมทีมกลับกลายเป็นแค่คนบนโปสเตอร์โปรโมตเท่านั้น

ด้วยบารมีของมุสโสลินี่ รวมถึงความพร้อมมากกว่าชาติอื่นๆ ทำให้อิตาลีเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 1934 ซึ่งผู้ปกครองของประเทศมองว่าการคว้าแชมป์โลกให้ได้เป็นสิ่งสำคัญ และหากทำได้ก็ตอกย้ำค่านิยมชาตินิยมที่แข็งแกร่งของลัทธิฟาสซิสต์และถ่ายทอดภาพลักษณ์ของประเทศที่ทันสมัยและกล้าแสดงออกไปยังส่วนที่เหลือของโลก

แม้ว่าการผสมผสานยุทธวิธีของ ปอซโซ่ และกลุ่มแฟนบอลเจ้าบ้านจะช่วยให้อิตาลีมีโอกาสรุ่งโรจน์ แต่ก็มีข่าวลือว่าพวกเขาเล่นตุกติกนอกกติกา โดยมุสโสลินีถูกกล่าวหาว่าเข้าร่วมประชุมกับผู้ตัดสินทัวร์นาเมนต์ในคืนก่อนแมตช์สำคัญ

แม้ว่าจะไม่มีการพิสูจน์การทุจริตใดๆ เรเน่ เมอร์เชต ผู้ตัดสินชาวสวิสยังถูกสั่งพักงานโดยสมาคมฟุตบอลของเขาเองหลังจากอ้างว่าเขาได้ทำการตัดสินใจที่ขัดแย้งหลายครั้งในขณะที่อิตาลี เอาชนะ สเปน ในเกมรอบรีเพลย์ของรอบ 8 ทีมสุดท้าย

 

แนวทางของ ปอซโซ่

Vittorio Pozzo, o único treinador que ganhou duas Copas do Mundo -  Calciopédia

แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่มีข้อสงสัยถึงกลยุทธ์ของ วิตโตริโอ ปอซโซ่ ที่ทำให้ ‘อัซซูรี่’ เสียประตูแค่ 3 ลูกจาก 5 นัด กับ เมโทโด แผนการเล่นแบบสามเหลี่ยม ที่วางระบบ  2–3–5 มีฮาล์ฟแบ็กคอยช่วยดึงตัวประกบผู้เล่นกองกลางฝ่ายตรงข้าม ซึ่ที่ช่วยสร้างเกมรับที่แข็งแกร่งมากกว่าการเล่นแบบเดิม และเป็นจุดเริ่มต้นในการเล่นแบบตั้งรับแล้วรอสวนกลับ หรือ คาเตนัชโช่ สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของทีมชาติตั้งแต่ตอนนั้นด้วย

ในอีกแง่หนึ่ง ปอซโซ่ อาจถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษของผู้จัดการทีมชาติยุคใหม่ในการยืนกรานที่จะควบคุมการเลือกทีมอย่างเต็มที่ ก่อนหน้านี้ ทีมชาติหลายแห่งถูกเลือกโดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง แต่ ปอซโซ่ มองว่าโอกาสที่ดีที่สุดในความสำเร็จคือการที่โค้ชต้องรับผิดชอบทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่เซอร์ อัลฟ์ แรมซีย์ทำเช่นกันเมื่อเข้ามาเป็นผู้จัดการทีมชาติอังกฤษในปี 1963

โดยกุนซือชาวอิตาเลี่ยน ได้เรียกเหล่า ‘โอริอุนดี’ (oriundi) หรือก็คือคนต่างชาติที่มีเชื้อสายอิตาเลี่ยนเข้ามาสู่ทีมของเขา ทั้ง หลุยส์ มอนติ ที่เคยเล่นให้ทีมชาติอาร์เจนติน่าในฟุตบอลโลกปี 1930 หรือ ไรมุนโด ออร์ซี อดีตผู้เล่นอาร์เจนตินาอีกคนที่ทำประตูให้อิตาลีในนัดชิงชนะเลิศปี 1934 ที่ชนะเชโกสโลวาเกีย 2-1

สิ่งนี้ไม่ได้รับความนิยมในระดับสากลของชาติที่ปกครองระบอบฟาสซิสต์ แต่ความคาดหวังในการทำให้ชาติแข็งแกร่งขึ้นทำให้ทุกอย่างเป็นไปตามแนวทางของปอซโซ่ ทีมใหม่ได้รับการจัดระเบียบอย่างดี ลงแข่งขันไม่ต่างจากการต่อสู้ในสงคราม และจะไม่หยุดยั้งที่จะชนะ ค่ายฝึกซ้อมถูกคั่นด้วยข้อความชาตินิยมที่รุนแรง และปฏิบัติราวกับว่าผู้เล่นเป็นทหารเช่น การเดินขบวนผ่านป่า

ปอซโซ่ ยังคงพัฒนาวิธีการของเขาต่อไปในอีก 4 ปีถัดมา นำอิตาลีไปสู่ชัยชนะในโอลิมปิกปี 1936 ที่กรุงเบอร์ลิน และกลายเป็นผู้จัดการทีมคนแรกที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในต่างประเทศที่ฝรั่งเศสในปี 1938

 

ชีวิตหลังคว้าแชมป์โลก

The winning Italian team, with coach Vittorio Pozzo, after winning the  World Cup Final in 1938. | Calcio, Calciatori, Football

การเผชิญหน้ากับฝูงชนที่ต่อต้านอิตาลีในนัดเปิดการแข่งขันกับนอร์เวย์ ที่มาร์กเซย ปอซโซ่ และผู้เล่นของเขาแสดงความเคารพแบบฟาสซิสต์เป็นการท้าทายและไม่ยอมลดแขนลงจนกว่าเสียงเชียร์จะสงบลง เมื่อลดคำนับลง เสียงโห่ก็เริ่มดังขึ้นอีกครั้ง ทำให้ กุนซือ ‘อัซซูรี่’ ตะโกนสั่งให้ผู้เล่นยกแขนขึ้นอีกครั้ง

ขณะที่อิตาลี ผ่านเข้าไปในรอบลึกๆของทัวร์นาเมนต์ การพบกันรอบก่อนรองชนะเลิศกับเจ้าภาพฝรั่งเศสมีแต่จะทำให้ความตึงเครียดทางการเมืองเพิ่มขึ้น และการสีชุดแข่งเหมือนกัน ทำให้ทีม ‘อัซซูรี่’ เปลี่ยนจากเสื้อสีน้ำเงินตามปกติ มาเป็นเสื้อสีดำทั้งหมดแทนที่จะเป็นสีขาว ซึ่งเป็นชุดที่ 2 ตามคำสั่งจากเบื้องบน

วันนั้น จูเซปเป้ เมอัซซ่า กลายเป็นดาวเด่นในแดนกลาง ที่ วิตโตริโอ ปอซโซ่ สร้างขึ้นมาอย่างพิถีพิถัน โดยดาวเตะกัปตันทีมมีส่วนสำคัญช่วยให้ทีมเอาชนะ ‘ตราไก่’ 3-1 จากนั้นเขาก็ยิงจุดโทษให้ทีมเอาชนะ บราซิลในรอบรองชนะเลิศ 2-1 ก่อนเป็นคนจ่ายบอลให้ ลุยจิ โคเลาซี่ และซิลวิโอ ปิโอล่า 2 กองหน้าเพื่อนร่วมทีมทำคนละ 2 ประตูในเกมที่ชนะฮังการี 4-2 ในนัดชิงชนะเลิศ

ความสำคัญของชัยชนะในฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 ติดต่อกันไม่ได้หายไปจากรัฐบาลฟาสซิสต์ที่บ้านเกิด โดยมีเรื่องเล่าขานกันว่า มุสโสลินี่ ส่งโทรเลขถึงทีมก่อนรอบชิงชนะเลิศว่า “ไม่ชนะก็ตาย” ซึ่งเป็นรายละเอียดที่ไม่เคยได้รับการยืนยัน

แต่มันกลายเป็นจุดจบของของ ปอซโซ่ ในฟุตบอลโลก หลังการปะทุของสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายความว่าการแข่งขันจะไม่กลับมาอีกจนกระทั่งปี 1950 ซึ่งเป็นช่วงที่เขาถูกปลดออกจากหน้าที่และถูกแบนจากฟุตบอลอิตาลีเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลฟาสซิสต์ที่ถูกโค่นล้ม 

ปอซโซ่ ผันตัวกลายเป็นนักข่าวที่น่านับถือซึ่งรายงานข่าวทีมชาติอิตาลีสำหรับหนังสือพิมพ์รายวัน La Stampa แต่ก็ไม่เคยกลับไปคุมทีมอีกเลย และเขาเสียชีวิตในเดือนธันวาคม ปี 1966 ด้วยอายุ 82 ปี ซึ่งเป็นช่วง ‘อัซซูรี่’ คว้าแชมป์ยูโรสมัยที่ 2 ไปครอง

น่าเสียดายที่ชื่อของ วิตโตริโอ ปอซโซ่ ที่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของแฟนบอลมากนักในยุคปัจจุบัน แต่ความยอดเยี่ยมของเขาก็คู่ควรได้รับการยกย่องกว่าที่เป็นในฐานะกุนซือคนแรกและคนเดียวที่คว้าแชมป์ได้ 2 สมัยซ้อนในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลโลก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไปต่อหรือพอแค่นี้ : โรนัลโด้กับเส้นทางต่อไปหลังฝอยทองร่วงโลก
ไปต่อหรือพอแค่นี้ : โรนัลโด้กับเส้นทางต่อไปหลังฝอยทองร่วงโลก