เมื่อวันคริสมาสต์เคยเป็นวันแข่งยอดนิยมในลีกผู้ดี

เมื่อวันคริสมาสต์เคยเป็นวันแข่งยอดนิยมในลีกผู้ดี

ในอดีตนั้น การแข่งขันฟุตบอลในวันคริสมาสต์ของอังกฤษเป็นหนึ่งในประเพณีที่สืบทอดกันมานาน นับตั้งแต่มีการจัดตั้งลีกขึ้นมา จนกระทั่งในทศวรรษที่ 1920 เกมลูกหนังวันนี้ของทุกปีกลายเป็นนัดที่มีแฟนบอลเข้ามาชมในสนามมากที่สุดของแต่ละฤดูกาล

ประเพณีดังกล่าวได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องเทียบเคียงมากับวันบ็อกซิ่งเดยเลยในทศวรรษ 1950 แต่ทว่าทันทีที่เข้าสู่ช่วงท้ายของทศวรรษนั้น มันกลับค่อยๆเสื่อมความนิยมลงอย่างเห็นได้ชัดเจน จากในปี 1957 ที่มีคนดูเต็ม 37 จากทั้งหมด 46 เกม ในปี 1959 กลับเหลือแค่ 2 เกมเท่านั้น

UFA ARENA จึงขออาสาพาทุกท่านไปดูจุดรุ่งเรืองของลุกหนังในเทศกาลสิ้นปีในอังกฤษ และสาเหตุที่ทำให้เกมลูกหนังในอังกฤษถูกยกเลิกการแข่งขันในวันเทศกาลส่งท้ายปีไปตลอดกาล 

 

เทศกาลลูกหนังยอดฮิต

วันคริสมาสต์เกือบได้รับความนิยมเท่ากับ บ็อกซิ่งเดย์ในหมู่แฟนบอล จนกระทั่งช่วงกลางทศวรรษ 1950 ซึ่งไม่เรื่องที่น่าแปลกใจนักที่คนดูจะมีมากที่สุดในช่วงปลายทศววรษ 1940 

ในปี 1948-49 มีแฟนบอลมากกว่า 1 ล้านคนเฝ้าดูการแข่งขันในวันที่ 25 ธันวาคม โดยเกมที่มีคนดูมากที่สุดคือ นัดที่ ฮัลล์ ซิตี้ พบกับ ร็อตเตอร์แฮม ยูไนเต็ด ณ สนาม บูธเฟอร์รี่ ปาร์ค ที่มีมากเกินกว่า 50,000 คนในสนาม แม้เกมวันบ็อกซิ่งเดย์ก็ยังสูงกว่าก็ตาม

ในฤดูกาลต่อมา วันที่ 25 ธันวาคม มาตรงกับวันอาทิตย์พอดี ทำให้สโมสรต่างต้องเปลี่ยนมาเล่น 3 นัดใน 4 วัน ก็คือ วันคริสมาสต์อีฟ, บ็อกซิ่งเดย์ และ วันที่ 27 ธันวาคม ซึ่งแฟนบอลเข้าชมมากถึง 3 ล้านคนในช่วงเวลา 3 วันนั้น รวมถึงทำสถิติคนดูกว่า 1,272,185 คนในวัน 27 ธันวาคม สูงที่สุดตลอดกาลและไม่เคยทำได้มาก่อน

 

เมื่อสภาพอากาศส่งผล 

ช่วงวันหยุดคริสมาสต์มีผู้คนเข้าชมมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1956 สภาพอากาศที่เลวร้ายมากๆ ทำให้ยอดคนดูในสนามของวันนั้น และ บ็อกซิ่งเดย์ ลดลงกว่า 50 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เกมส่วนใหญ่ปกคุลมไปด้วยหิมะทั่วสนาม และ 15 เกมในวันบ็อกซิ่งเดย์ต้องถูกเลี่อนไป

ยอดคนดูตกลงเหลือ 480,000 คน จากทั้งหมด 37 นัดในวันที่ 25 ธันวาคม และอีก 370,000 คนในวันบ็อกซิ่งเดย์ อีกทั้ง หิมะที่ตกอย่างหนักยังส่งผลกระทบต่อการเดินทางของทีมต่างๆด้วย 

โค้ชที่กำลังพาผู้เล่นทีม ทอร์คีย์ ยูไนเต็ด กลับจากเกมที่พบกับ เบรนท์ฟอร์ด ในวันนั้น ต้องช่วยกันขุดหิมะออกจากทาง ท้ายที่สุดพวกเขากลับถึงมาที่ในช่วง 6 โมงเช้าของวันบ็อกซิ่งเดย์ และได้พักผ่อนนอนหลับไม่กี่ชั่วโมง ก่อนจะลงไปแข่งขันในวันนั้นและเอาชนะคู่แข่งไปได้ 2-0

ส่วน คาร์ดิฟฟ์ พวกเขาโชคดีตรงที่ไม่มีเกมแข่งขันในวันเทศกาล และเตรียมออกเดินทางมาโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ในช่วง 5 โมงเย็น แต่ก็ต้องลำบากในการเดินทางไม่น้อย เมื่อทีมต้องสลับไปนั่งรถไฟ และถึงชรูว์สบิวรี่ในตอนเที่ยงคืน

หลังจากที่พักผ่อนที่โรงแรม พวกเขาก็เดินทางต่อไปในเวลา 10 โมงของเช้าวันต่อมา และไปถึงสนามแข่งก่อนเริ่มเตะไม่นาน โดยในสนามโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด มีคนดูแค่ 28,607 คน ซึ่งเป็นจำนวนผู้ชมที่มากที่สุดในเกมลีกวันนั้น

 

ความนิยมเสื่อมถอย

สภาพอากาศของวันคริสมาสต์ในปี 1957 ดีขึ้นกว่าปีก่อนมาก แต่ถึงแม้ว่าคนดูในเกมบ็อกซิ่งเดย์จะกลับไปอุ่นหนาฝาคลั่งเหมือนเมื่อก่อน แต่ในเกมวันที่ 25 ธันวาคมในเวลาต่อมากลับไม่เป็นเช่นนั้น 

ตอนนี้ สโมสรในลีกผู้ดีสามารถลงเล่นในสนามที่มีฟลัดไลท์ (floodlights) ส่องเพื่อลดการปกคลุมของหิมะและหมอกในสนาม แม้จะมีตารางการแข่งขันที่แน่นเอี๊ยด แต่ส่วนใหญ่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในช่วงต้นฤดูกาลแล้ว 

แต่มีเพียง 13 เกมที่จัดขึ้นในวันครสิมาสต์เท่านั้น นั่นทำให้ลีกเริ่มมองว่าเกมฟุตบอลในวันที่ 25 ธันวาคมควรหยุดลงได้แล้ว 

เวลาเดินทางมาถึงในปี 1959 ลีกอังกฤษไม่มีการแข่งขันจัดขึ้นในวันนั้นแม้แต่เกมเดียว มีเพียงแค่ 2 ครั้งเท่านั้นที่จัดแข่งในวันนั้นใหม่อีกครั้ง ก็คือนัดที่แบล็คเบิร์น พบ โคเวนทรี่ ในปี 1959 และนัดสุดท้ายที่แบล็คพูลในปี 1965 นับตั้งแต่นั้นเกมลูกหนังในวันเทศกาลส่งท้ายปีก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย

 

นักเตะไม่ปลื้ม

แม้จะได้รับความนิยมจากแฟนบอล แต่การแข่งขันในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ไม่ใช่สิ่งที่ผู้เล่นปลาบปลื้มเท่าไหร่นัก เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถสนุกหรือรื่นเริงในเทศกาลแห่งความสุขนี้กับครอบครัวได้เลย 

จิมมี่ กรีฟส์ อดีตกองหน้าทีมชาติอังกฤษ เคยกล่าวเรื่องนี้กับ เดอะ เดลี่ เอ็กเพรซ ในปี 1958 ว่า “พวกเขาส่วนใหญ่อยากเห็นเกมในวันเทศกาลนี้จบลงเสียที มันไม่ได้ดึงดูดคนดูมากมาย แต่มันรบกวนวิถีชีวิตของผู้เล่นทุกคน”

“ไม่มีคริสมาสต์พูดดิ้งสำหรับนักเตะ และถ้ามีเกมเยือนแบบที่เราเจอกับ แบล็คเบิร์น ในปีนี้ ก็ถือว่าไม่มีคริสมาสต์เลยเช่นกัน”

ขณะที่ เรย์ บาร์โลว์ กองหลังระดับตำนานของเวสต์บรอม ได้กล่าวกับ สปอร์ตส อากัส ในปีเดียวกันว่า เขากำลังรอคอยที่จะสนุกกับวันเทศกาลช่วงสิ้นปีเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี หลังจากที่ เดอะ แบ็กกี้ส์ เลื่อนไปเล่นกับ เบอร์มิงแฮม ซิตี้ ในช่วงกลางสัปดาห์แทน 

“ส่วนตัวแล้ว ผมไม่เห็นเลยว่านักเตะคนไหนชอบไอเดียการแข่งในวันนั้นเลย” บาร์โลว์กล่าว

 

แฟนบอลอยากให้มีต่อ

Football fans at Bournemouth & Boscombe v Portsmouth FC on 25 December 1914

อย่างไรก็ตาม แฟนบอลส่วนใหญ่เห็นต่างอย่างมากในเรื่องนี้ หลังจากที่ เดลี่ เอ็กเพรส ได้เผยแพร่บทความของ สแตน เคอร์ลิส กุนซือวูล์ฟแฮมป์ตัน ที่เรียกร้องให้มีการแข่งขันในวันเทศกาลส่งท้ายปีอีกครั้ง 

ฟีดแบ็คที่ได้รับกลับมาจากแฟนบอลถือว่าเกินคาด และมากกว่า 83 เปอร์เซนต์อยากให้กลับมาเป็นแบบเดิมเหมือนที่เคยแข่งขันในช่วงนั้นอีก แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่พวกเขาหวังเท่านั้น

หากย้อนไปดูสถิติในเกมวันเทศกาล ก็ไม่แปลกใจที่แฟนบอลทั่วไปจะเรีกยร้องแบบนั้น เนื่องจากผลการแข่งขันที่คาดเดาไม่ได้กับจำนวนประตูที่เกิดขึ้นมากมายกว่าเกมทั่วไปทำให้มันได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ

อย่างในปี 1956 สเปอร์ เอาชนะ เอฟเวอร์ตันไป 8-0 ในไวท์ ฮาร์ท เลน, บิวรี่ ที่เอาชนะ บริสตอล โรเวอร์ส 7-2 แต่ในเกมต่อมากลับแพ้ในวันบ็อกซิ่งเดย์ 6-1 

หรือในปีต่อมา เชลซีจัดหนักใส่ พอร์ทสมัธ 7-4 ในวันที่ 25 ธันวาคม แต่วันบ็อกซิ่งเดย์กลับบุกมาแพ้ ปอมปีย์ ในแฟรตตัน ปาร์ค 3-0

 

ปัจจัยสำคัญ

ทำไมการแข่งขันฟุตบอลในวันเทศกาลส่งท้ายปีของแดนผู้ดีถึงจบอย่างรวดเร็ว? ผู้ชมที่ลดน้อยลงไปน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องนี้ อีกทั้งทำให้สโมสรตะหนักว่าคนจะเข้าชมเกมในสนามมากขึ้น หากติดตั้งฟลัดไลท์ในช่วงที่สภาพอากาศที่ย่ำแย่

แม้ระบบขนส่งสาธารณะอาจนำมาเป็นเหตุผลของเรื่องนี้ได้อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะในปี 1950 ระบบขนส่งมวลชนต่างเปิดให้บริการในวันอาทิตย์ และการลดการให้บริการของรถไฟในวันที่ 25 ธันวาคมก็ยังไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งปี 1961 

ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลไม่น้อยคือการเข้าถึงและเป็นของโทรทัศน์ที่เติบโตมากขึ้น ในปลายปีปี 1956 จำนวนน้อยกว่าครึ่งของครัวเรือนในสหราชอาณาจักรมีโทรทัศน์ของตัวเอง และมี 1 ใน 6 ของทั้งหมดที่สามารถดูช่อง BBC และ ITV ที่มีการถ่ายทอดสดได้

แต่อีก 3 ปีต่อมา 2 ใน 3 ของครัวเรือนในเกาะอังกฤษมีจอแก้วไว้ครอบครองแล้ว อีกทั้งกว่าครึ่งก็เข้าถึง 2 ชองดังกล่าวได้เรียบร้อย นับตั้งแต่นั้นโทรทัศน์ก็ค่อยๆกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนทั่วอังกฤษในการเฉลิมฉลองเทศกาลช่วงสิ้นปี

อย่างไรก็ตาม โทรทัศน์ ไม่ใช่สิ่งที่ฆ่าเกมลูกหนังในวันคริสมาสต์ แต่เป็นตัวของสโมสรฟุตบอลเองต่างหาก ที่เลือกเปลี่ยนการแข่งขันจากวันนั้น และส่งผลให้ลีกแดนผู้ดีตัดสินใจไม่จัดการแข่งขันในวันดังกล่าวอีกต่อไป

และไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกตลอดกาล… 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

มันส์เกินคาด : รวมบทสรุปที่สุดฟุตบอลโลก 2022
มันส์เกินคาด : รวมบทสรุปที่สุดฟุตบอลโลก 2022