เร่งแก้ด่วน! ปัญหาใหญ่ VAR ไทยลีกไร้คุณภาพ

ไทยลีก

สัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่งมีประเด็นดราม่าในศึก ไฮลักซ์ รีโว่ ไทยลีก เกี่ยวกับการใช้ VAR ตัดสินจังหวะปัญหาที่เกิดขึ้นเกมที่ ขอนแก่น เอฟซี  เปิดบ้านพบ ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด ซึ่งทีมเยือนได้จุดโทษช่วงท้ายเกม ทว่าเมื่อดูจากภาพย้อนหลัง ก่อนหน้านั้นเหมือนมีจังหวะแฮนด์บอลของผู้เล่นเกมรุกไปแล้ว ซึ่งนั่นทำให้บรรดานักเตะเจ้าบ้านไม่พอใจถึงขั้นวอคเอาท์ออกจากสนามทันที

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้หลายคนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับคุณภาพการใช้งาน VAR ในศึกฟุตบอลไทยลีก ว่ามีมาตรฐาน และช่วยในการตัดสินให้มีความแม่นยำมากน้อยแค่ไหน หลังที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันมาแล้วหลายครั้ง รวมถึงปัญหาอื่นๆ อีกหลายอย่าง

โดยวันนี้ UFAARENA จะขอพาไปหาต้นตอของสาเหตุกันว่า ทำไมการใช้ VAR ในวงการฟุตบอลไทย ยังดูไร้คุณภาพ และยังไม่ดีพออย่างที่ใครหลายคนเคยคาดหวังไว้

VAR ไม่ยุติธรรม 100%

VAR ถูกนำเข้ามาใช้ในฟุตบอลไทยลีก ตั้งแต่เมื่อฤดูกาล 2020 เพื่อเป็นตัวช่วยผู้ตัดสินให้ตัดสินเกมได้แม่นยำยิ่งขึ้น ทว่าบางครั้งดูเหมือนว่าแม้จะมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ การตัดสินบางจังหวะยังคงดูค้านสายตา และถูกตั้งคำถามจากแฟนบอล

ยกตัวอย่างจากเกมที่ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เปิดบ้านพบกับ สุพรรณบุรี เอฟซี เมื่อกองหลังเจ้าถิ่นอย่าง ดิเกา เหมือนเจตนาใช้ท่อนแขนส่วนบนเล่นบอลในกรอบเขตโทษ ทว่าเมื่อผู้ตัดสินเช็ค VAR กลับมองว่าไม่เป็นลูกแฮนด์บอล และปฎิเสธการให้จุดโทษแก่ทีมเยือน ก่อนท้ายที่สุดเกมนัดนั้นจบลงด้วยผลเสมอ 0-0

อย่างไรก็ตามภายหลังทางฝั่งสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ออกมายอมรับว่า จังหวะดังกล่าวเป็นความผิดพลาดของผู้ตัดสิน และ สุพรรณบุรี เอฟซี ควรได้ลูกจุดโทษจากการทำแฮนด์บอลของ ดิเกา แม้จะออกมายอมรับข้อผิดพลาดในท้ายสุด ทว่ามันมีทีมซึ่งได้รับผลกระทบจากการตัดสินที่ผิดพลาดไปแล้ว

นอกจากนั้นยังมีอีกหลายเคสที่แม้จะใช้ VAR ช่วยตัดสิน แต่คำตัดสินยังค้านสายต่อแฟนบอล เพราะฉะนั้นหากพูดว่าการใช้ VAR เพื่อให้เกมการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพของเมืองไทย มีความยุติธรรมมากขึ้นกว่าเดิม คงยังไม่เป็นแบบนั้นในตอนนี้

 

ขาดความละเอียด

ความละเอียดของผู้ตัดสินเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรจะมีสำหรับการใช้ VAR เพราะไม่งั้นแล้วแม้จะมี VAR ในสนาม แต่มันก็อาจไม่ถูกใช้ประโยชน์แบบเต็มประสิทธิภาพสูงสุด

อย่างเช่นในเกมที่ เมืองทอง ยูไนเต็ด เปิดบ้านรับการมาเยือนของ ชลบุรี เอฟซี ช่วงท้ายเกมจังหวะที่ กรวิชญ์ ทะสา โดน จูเนียร์ เอลด์สตอล สกัดล้มในกรอบ ผู้ตัดสินเป่าเป็นจุดโทษทันที ท่ามกลางการประท้วงของผู้เล่นทีมเยือนซึ่งมองว่าปราการหลังทีมชาติมาเลเซีย เข้าที่บอลชัดเจน หลังจากนั้นผู้ตัดสินได้ทำการสื่อสารกับผู้ช่วยซึ่งทำหน้าที่ดู VAR ก่อนยืนยันตรงกันว่าเป็นจุดโทษของ “กิเลนผยอง” แน่นอนว่าตามกดไม่จำเป็นต้องให้ผูตัดสินเดินออกไปเช็ค VAR ข้างสนาม หากความเห็นตรงกันกับผู้ช่วยที่อยู่ในห้องคอนโทรลรูม ท้ายที่สุดเป็น อดิศักดิ์ ไกรษร รับหน้าที่สังหารลูกดังกล่าวเข้าไปตุงตาข่าย ช่วยให้ เมืองทอง ตามตีเสมอ ชลบุรี จากโดนนำ 3-0 เป็น 3-3 ภายในระยะเวลาแค่เพียง 11 นาที

ทว่าหลังเกมสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ออกมายอมรับว่า จังหวะดังกล่าวไม่สมควรเป็นจุดโทษของ เมืองทอง ยูไนเต็ด เนื่องจากภาพที่ปรากฏกชัดเจนว่า จูเนียร์ เอลด์สตอล สกัดโดนบอลก่อนที่มีจังหวะฟอลโล่ทรูไปปะทะกับ กรวิชญ์ ทะสา ทว่าผู้ตัดสินดันเลือกที่จะไม่ไปเช็ค VAR ซึ่งแม้จะมีความเห็นตรงกับผู้ช่วย ถึงกระนั้นจังหวะที่มีผลต่อเกมและมีความก่ำกึ่งขนาดนี้ อย่างน้อยผู้ตัดสินก็น่าจะเลือกเดินไปดู VAR ด้วยตัวเองก่อนที่จะทำการตัดสินใจครั้งสุดท้าย

 

ใช้เวลานานเกิน

นี่ถือเป็นหนึ่งปัญหาใหญซึ่งเกิดขึ้นกับการใช้ VAR ของผู้ตัดสินไทย เวลานี้ นั่นคือเรื่องระยะเวลาของการเช็คที่อาจจะนานเกินไป ทั้งที่บางกรณีน่าจะตัดสินใจได้เร็วกว่านี้

หลายครั้งที่เรามักเห็นผู้ตัดสินไทย ยืนเช็ค VAR วนซ้ำไปซ้ำมาทั้งที่บางจังหวะน่าจะใช้ดุลยพินิจตัดสินไม่นาน ซึ่งมันส่งผลให้เกมต้องหยุดเป็นเวลาหลายนาที นอกจากทำให้การแข่งขันยืดเยื้อโดยใช้เหตุแล้ว มันยังทำให้แฟนบอลเสียอรรถรสในการรับชมไม่น้อย

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าด้วยประสบการณ์การใช้ VAR ที่ยังไม่มากพอของผู้ตัดสินไทย ด้วยแรงกดดัน และความลังเล คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวให้ดีขึ้นในเร็วนี้

 

ความผิดพลาดจากผู้ตัดสิน

อยากที่รู้กันดี VAR ถูกนำเข้ามาใช้งานเพื่อให้การตัดสินเกมมีความถูกต้องมาที่สุด แต่มันกลับเป็นเสมือนดาบสองคมของผู้ตัดสิน หากพวกเขาเลือกที่จะใช้มันแล้ว และยังคงตัดสินใจผิดพลาดแบบไม่น่าให้อภัย

แม้ VAR จะเข้ามาเป็นตัวช่วยให้กับผู้ตัดสิน ทว่าหากผู้ตัดสินกลับเป็นฝ่ายผิดพลาดเสียเอง คงไม่พ้นที่จะโดนวิจารณ์จากแฟนบอล ซึ่งมันเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง

ย้อนกลับไปในเกมที่ เมืองทอง ยูไนเต็ด เปิดบ้านเจอกับ สพรรณบุรี เอฟซี ช่วงท้ายเกมนาทีที่ 90+4 เจ้าถิ่นน่าจะได้ประตูที่ 3 จากจังหวะ เจสซี่ เคอร์แรน จ่ายบอลให้กับ กรวิชญ์ ทะสา หลุดเดียวพาบอลเข้ากรอบเขตโทษ และซัดผ่านมือ แพทริค เดย์โต บอลซุกก้นตาข่าย ทว่าผู้ตัดยกเลิกประตูหลังมีการคุยกับผู้ช่วย VAR และมองว่าเป็นลูกล้ำหน้า ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วศูนยหน้า “กิเลนผยอง” ยังอยู่ต่ำกว่าไลน์ของกองหลังฝั่งตรงข้าม และไม่ล้ำหน้าแน่นอน

ท้ายที่สุดสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทษไทยฯ ออกมายอมรับว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด พร้อมกับสั่งลงโทษ ภาณุมาศ พันธ์สะโม (ผู้ช่วยผู้ตัดสิน VAR) 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีการตรวจสอบการล้ำหน้าที่ผิดพลาด และไม่แจ้งให้กับผู้ตัดสินได้รับรู้ และ บินหลา ปรีดา (ผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 2) แบน 6 สัปดาห์ เนื่องจากยกธงล้ำหน้า ทั้งที่ไม่ล้ำหน้าชัดเจน และเกิดการทำประตูขึ้น อาจมีผลต่อการแข่งขันโดยตรง

 

ซูซูกิ คัพ ไม่มี VAR จะเป็นยังไง

นับเป็นข่าวใหญ่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา กับการที่ศึก เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2020 หรือฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน ซึ่งจะลงเตะช่วงเดือนธันวาคม ที่ประเทศสิงคโปร์ จะไม่มีการนำเอา VAR มาช่วยใช้สำหรับการตัดสิน

อย่างที่รู้กันดีว่าฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นชื่อเรื่องการตัดสินที่มีข้อกังขามาตลอดนับตั้งแต่มีการจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว ซึ่งทีมชาติไทย ก็เคยถูกเล่นงานจากการตัดสินที่ค้านสายตามาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะการเสียจุดโทษให้กับ สิงคโปร์ ในเกมนัดชิงชนะเลิศเมื่อปี 2007 และอีกครั้งในเกมนัดชิงชนะเลิศปี 2014 กับ มาเลเซีย

แม้จะถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินทุกครั้งที่มีการจัดการแข่งขัน ทว่าใน เอเอฟเอฟ ซูซูกิ  2020 ก็ยังคงไม่มีการรำเอา VAR มาใช้เช่นเคย ด้วยเหตุผลเรื่องความพร้อมขอผู้ตัดสิน

คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าในเมื่อไม่มีการนำ VAR มาใช้นการแข่งขันคราวนี้ จะมีจังหวะตัดสินของผู้ตัดสินแบบน่ากังขาหรือไม่ เพราะหากมีเราคงอดคิดในแง่ลบ และตั้งคำถามถึงความยุติธรรมในการลงเล่นฟุตบอลรายการดังกล่าวไม่ได้

 

มาโน่