เลือกตั้งชี้อนาคต : ส่องแนวทาง 3 ผู้ท้าชิงเก้าอี้ประธานบาร์ซ่า

 

หากจะบอกว่าทิศทางของ บาร์เซโลน่า ในอนาคตขึ้นกับการเลือกตั้งประธานสโมสรคนใหม่ในเดือนนี้ก็คงไม่ใช่เรื่องที่เกินความจริงนัก 

 

โจน ลาปอร์ต้า, วิคตอร์ ฟอนท์ และ โทนี่ เฟรย์ช่า คือ 3 ผู้ท้าชิงสุดท้ายในตำแหน่งประธานอาซูลกราน่า หลังทั้ง 3 ได้รับเสียงโหวต 2,257 เสียงตามฏ ขณะที่ 5 คนที่เหลือไม่ผ่านเกณฑ์ จะถูกปรับตกรอบ ไม่มีสิทธิลงสมัครับเลือก โดย เอมิลี่ รูเซาด์ คือคนที่ผ่านเกณฑ์ท้าชิงแต่ถอนตัวออกจากการเลือกตั้งไปก่อน

 

การเลือกตั้งดังกล่าวจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 มกราคมนี้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงมีและส่งผลกระทบในการเงินต่อยอดทีมแคว้นกาตาลัน

 

ว่าแต่ ผู้ท้าชิงทั้ง 3 จะนำอะไรมาสู่ บาร์เซโลน่า หากชนะการเลือกตั้งจนได้เข้ามารับตำแหน่งจริง ๆ และมีแนวทางใดที่จะช่วยให้สโมสรผ่านวิกฤตการเงินในครั้งนี้ UFA ARENA จะพาไปวิเคราะห์ผ่านบทความชิ้นนี้กัน

 

 

โจน ลาปอร์ต้า | ประสบการณ์ฟื้นสโมสร

 

Joan Laporta: "La mejor decisión es que la selección española no juegue en  el Camp Nou"

 

คะแนนรอบตัดตัว : 10,272
คะแนนรอบรับรอง : 9,625

 

หากใครยังมีข้อสงสัยว่า โจน ลาปอร์ต้า เป็นตัวเต็งที่มีโอกาสชนะการเลือกตั้งเท่าไหร่ ลองดูผลโหวตทั้งในรอบตัดตัว และในรอบรับรองว่าทิ้งห่างผู้ท้าชิงคนอื่น ๆ มากแค่ไหน

 

เขาทำได้ตามที่มีการคาดหมายไว้ และมีผลโหวตไม่ห่างไปจาก สมัยของ ซานโดร โรเซลล์ ที่ได้ไป 12,635 ในปี 2010 และยังทำลายผลโหวตเดิมของเขาในปี 2003 และ 2015 ด้วย ทั้งๆ ที่อยู่ในช่วงโรคระบาด แม้จะไม่เท่ากับ โจเซป หลุยส์ นูเนซ ที่ทำสถิติสูงสุดที่ 26,610 เสียงในปี 1989

 

เมื่อพิจารณาจาก วิกฤตของบาร์ซ่าในปัจจุบัน ทั้งผลงานในสนาม รวมถึงสมดุลทางการเงิน หลายคนมองว่า ลาปอร์ต้า คือผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการพาทีมกลับไปยังจุดเดิม และมีประสบการณ์ในการรับมือกับช่วงเวลาที่ยากลำบากมาก่อนแล้ว เพียงแต่คำถามก็คือเขาจะทำได้อีกครั้งหรือไม่?

 

ในช่วงที่ ลาปอร์ต้า นั่งเก้าอี้ประธานสโมสรระหว่างปี 2003-2010 ทีมประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งในแง่ของถ้วยรางวัล การมีแข้งระดับโลกอย่าง ลิโอเนล เมสซี่, ชาบี เออร์นานเดซ, อันเดรส อิเนียสต้า หรือแม้กระทั่งการแต่งตั้ง เป๊ป กวาร์ดิโอล่า ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ได้รับคำแนะนำจาก โยฮัน ครัฟฟ์ ตำนานสโมสรผู้ล่วงลับ

 

แม้ว่าตอนนี้มีเพียง เมสซี่ คนเดียวที่ยังลงเหลือในทีมจากยุครุ่งเรือง แต่ความทรงจำอันหอมหวานเหล่านั้นก็ยังติดตราตรึงบรรดา กูเล่ส์ (แฟนบอลบาร์เซโลน่า) ทุกหมู่เหล่า เพียงแต่การทำแบบนั้นได้อีกครั้งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

 

ตอนนี้ สิ่งที่ทำให้ ลาปอร์ต้า ได้เปรียบในช่วงที่ผ่านมาคือการติดแบนเนอร์หาเสียงยักษ์ใหญ่ใกล้กับ ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว รังเหย้า เรอัล มาดริด ทีมอริตลอดกาล พร้อมคำแถลงการณ์ว่า “เฝ้ารอที่พบคุณอีกครั้ง” ซึ่งเหมือนเป็นการย้ำเตือนทุกคนถึงช่วงเวลาที่ บาร์ซ่า อยู่เหนือกว่า ราชันชุดชาว 

 

นอกจากนี้ ลาปอร์ต้า ยังแสดงท่าทีที่ดื้อรั้นหัวแข้งน้อยลง เพื่อให้อยู่ในเส้นทางการเลือกตั้งและช่วยให้โซซิโอ (สมาชิกของบาร์ซ่า) ที่อาจจะไม่ชอบเขาในอดีต กลับมาพอใจในตัวเขามากขึ้น

 

ด้วยการสนับสนุนที่มากมายที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน อาจทำให้มองว่า ลาปอร์ต้า จ่อคว้าตำแหน่งนี้แล้ว แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแน่นอนเสมอไปในการเลือกตั้งของบาร์ซ่า และเขาก็รู้ดีเรืองนี้กว่าใคร เนื่องจากในปี 2003 ลาปอร์ต้า ชนะการเลือกตั้งประธานเหนือ ลุยส์ บาสซาต แม้ว่าในตอนแรกจะมีคะแนนตามหลังกว่า 4,000 เสียงก็ตาม 

 

 

วิคตอร์ ฟอนท์ | เพื่อยุคใหม่ของสโมสร

 

FC Barcelona News: Präsidentschaftskandidat Victor Font im Sky Interview |  Fußball News | Sky Sport

 

คะแนนรอบตัดตัว : 4,710
คะแนนรอบรับรอง : 4,431

 

วิคตอร์ ฟอนท์ คือผู้ท้าชิงที่มีลุ้นตำแหน่งไล่เรี่ยกับ ลาปอร์ต้า มากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งเจ้าตัวเคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2018 ก่อนใครจะลงชิงตำแหนงประธานสโมสร

 

ความคิดเดิมของ ฟอนท์ คือการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งปี 2016 แต้เมื่อเข้าสู่ปี 2015 เขาก็ตัดสินใจที่จะไม่เร่งรีบลงสมัครและใช้เวลาเพื่อทำงานในโครงการต่อไปก่อน

 

ฟอนท์มีสโลแกนหลัก 2 อย่าง นั่นก็คือ ‘Sí al Futur’ (สู่อนาคต) และ ‘Foc Nou i Bon Govern’ (จุดประกายสิ่งใหม่และการดูแลที่ดี) ทั้ง 2 แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นว่าเขาพร้อมปรับเปลี่ยนให้สโมสรเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มที่

 

เขาวางแผนที่จะทำแบบนี้ในหลากหลายวิธี อย่างแรกเลยคือต้องการให้ โซซิโอมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจของสโมสร ไม่ใช่แค่ให้พวกเขาโหวตเลือกประธานในทุก ๆ 6 ปีเท่านั้น (ซึ่งจะเปลี่ยนกรอบเวลาเป็น 4 ปีในยุคของเขา) และในปี 2019 เขามีสมาชิกเพียงพอที่จะสนับสนุนข้อเสนอของเขาในการให้ใช้การลงคะแนนเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่การเคลื่อนไหวของเขาไม่ได้รับการสนับสนุนเพียงพอในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของสโมสร ด้วยการแพร่ระบาดที่คุกคามการเลือกตั้งในปัจจุบัน น่าจะทำให้เรื่องนี้มีประโยชน์

 

อีกทั้ง ฟอนท์ ยังริเริ่มความเท่าเทียมทางเพศในสโมสรด้วยการเลือกผู้หญิงมาทำงานในบอร์ดบริหาร 5 คน และนี่จะกลายเป็นสถิติของสโมสรเลย

 

จุดชูโรงที่สำคัญขอ ฟอนต์ คือการ ปฏิวัติโครงสร้างภายในทีมที่จะลดการแทรกแซงของบอร์ดในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับเรื่องฟุตบอลให้น้อยลง นี่จะทำให้ ชาบี เอร์นานเดซ จะเข้ามาทำหน้าที่ผู้จัดการทีมทันที หากฟอนท์ได้รับการเลือกตั้ง พร้อมด้วยการสนับสนุนจากอดีตนักเตะที่รู้เรื่องราวของ บาร์ซ่า เป็นอย่างดี เช่น ยอร์ดี้ ครัฟฟ์ หรือ ติโต้ บลังโก้

 

การใช้ชื่อของตระกูล ครัฟฟ์ เป็นแรงสนับสนุน หรือสร้างทีมในฝันอาจทำให้เขาได้รับความนิยมกับสมาชิกของ บาร์เซโลน่า แต่ก็อาจไม่เพียงพอที่ก้าวข้ามชื่อชั้นของ ลาปอร์ต้า ได้เช่นกัน

 

 

โทนี่ เฟรย์ช่า | ผู้ภักดีต่อบาร์ซ่า

 

FC Barcelona - La Liga: Freixa: Not approving a bid for Eric Garcia was an  act of responsibility | MARCA in English

 

คะแนนรอบตัดตัว : 2,821
คะแนนรอบรับรอง : 2,821

 

โทนี่ เฟรย์ช่า เป็นแคนดิเดตคนที่ 3 และคนสุดท้ายของการเลือกตั้งในปี 2021 แม้จะได้ผลโหวตน้อยที่สุด แต่ก็ไม่มีอะไรต้องเสียแล้วเช่นกัน หลังผ่านคะแนนผ่านเกณฑ์ในรอบสุดท้าย

 

ทว่า เฟรย์ซ่า เริ่มต้นการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานสโมสรแบบเต็มตัวไม่สวยเท่าไหร่นัก เมื่อ เอมิลี่ รูโซ่ ได้ผลโหวต 2,534 เสียง ตัดสินถอนตัวในชั่วโมงสุดท้ายของการนับคะแนนรอบรอง มีข่าวว่าพยายามจะร่วมทีมกัน แต่ถูก เฟรย์ช่า ปฏิเสธข้อเสนอในเวลาต่อมา 

 

แม้จะมีเรื่องดราม่าชวนตั้งคำถาม แต่ถึงอย่างนั้น เฟรย์ช่า เป็นตัวเลือกที่หลายคนมองว่ามีแนวทางคล้ายคลึงกับ โจเซป มาเรีย บาร์โตเมว และ ซานโดร โรเซลล์ อีกทั้งในบรรดา 3 ผู้ท้าชิง เขาเป็นคนเดียวที่ไม่ถูกโหวตไม่ไว้วางใจ และไม่เคยถูกวิจารณ์อย่างหนักในยุคของ บาร์โตเมว ช่วง 2-3 ปีหลัง

 

เขาพยายามที่จะเป็นกลางและออกห่างจากการเชื่อมโยงข่าวลือไม่ดีเหล่านั้น แม้ว่าเขาจะอยู่ในคณะกรรมการของ บาร์โตเมว และ โรเซลล์ อีกทั้ง เฟรย์ซ่า ยังเคยอยู่ในทีมของ ลาปอร์ต้า ระหว่างปี 2003-2005 ก่อนจะลาออกมาปัญหาภายในบอร์ด พร้อมกับความสัมพันธ์ที่แตกหักลง

 

โดยรวมแล้ว เฟรย์ช่า มีส่วนร่วมกับ บาร์เซโลน่า มากกว่าทศวรรษ เขารู้จักสโมสรเป็นอย่างดีและขยายคอนเนคชั่นมากมายในโลกของฟุตบอล นั่นอาจเป็นเหตุผลสำหรับสโลแกนของเขาว่า ‘Fidels al Barça’ (ภักดีต่อบาร์ซ่า)

 

สำหรับตอนนี้ เฟรย์ช่า ได้เปิดเผยว่า ลุยส์ การ์เรเรส อดีตแข้งบารซ๋า จะเป็นผู้อำนวยการฟุตบอลของเขา และจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการพัฒนาแข้งเยาวชนใน ลา มาเซีย นอกจากนี้เขายังต้องการให้ โรนัลด์ คูมัน ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมต่อไปจนหมดสัญญา

 

โอกาสที่ เฟรย์ช่า จะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ มีน้อยมาก แต่เมื่อ รูโซ่ ไม่อยู่ในแคนคิเดตท้าชิง เขาคงหวังว่าโน้มน้าวคะแนนโหวต 25,823 เสียงที่เคยสนับนสนุน บาร์โตเมว ในปี 2015 เพื่อช่วยให้เข้าได้ก้าวขึ้นไปเป็นสโมสรคนใหม่ของ บาร์ซ่า ได้อย่างที่ตั้งใจไว้