แลมพ์-อาร์เตต้ารอตามรอย : 10 คนลูกหนังผู้คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ทั้งในฐานะผู้เล่นและกุนซือ

 

ศึกเอฟเอ คัพ ครั้งที่ 139 กำลังจะปิดฉากลงในนัดชิงชนะเลิศ ณ ค่ำคืนนี้ โดยเป็นการห่ำหั่นกันระหว่าง อาร์เซน่อล กับ เชลซี 2 ทีมยักษ์ใหญ่ร่วมกรุงลอนดอน

 

ที่สำคัญไปกว่านั้น นี่ยังการดวลกึ๋นกันของ มิเกล อาร์เตต้า และ แฟรงค์ แลมพาร์ด 2 กุนซือหนุ่มสายเลือดใหม่จากทั้ง 2 สโมสร ที่หวังพาต้นสังกัดของตนเองคว้าแชมป์บอลถ้วยที่เก่าแก่ที่สุดมาครองให้ได้ เหมือนกับตอนที่พวกเขาทำได้สมัยค้าแข้งอยู่

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใครจะฝ่ายได้ชูถ้วยนี้ไปครอง พวกเขาก็ไม่ใช่คนแรกที่คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ มาครองได้ทั้งในฐานะนักเตะและผู้จัดการ เพราะยังมีถึง 17 คนก่อนหน้านี้ที่ทำได้ก่อนพวกเขามาแล้ว

 

ด้วยเหตุนี้ UFA ARENA จะพาทุกท่านไปย้อนชมคนลูกหนังที่คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ทั้งตอนค้าแข้ง และเป็นกุนซือข้างสนาม โดยคัดเลือกเฉพาะ 10 คนที่แฟนหลายคนน่าจะรู้จักกันดี

 

โรแบร์โต้ ดิ มัตเตโอ

 

 

โรเแบร์โต้ ดิ มัตเตโอ เป็นหนึ่งในแข้งเชลซีชุดที่กวาดแชมป์บอลถ้วยเป็นว่าเล่นในช่วงปลายยุค 90 ทั้ง ลีก คัพ, แชร์ริตี้ ชิลด์,ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ, ยูฟ่า ซุปเปอร์ คัพ รวมถึงเอฟเอ คัพ ที่คว้ามาครองได้ถึง 2 สมัย ในปี 1997 และ 2000

 

จากนั้นโชคชะตาก็พาให้ อดีตกองกลางชาวอิตาเลี่ยน กลับมาทำงานในสแตมฟอร์ด บริดจ์ อีกครั้ง ในฐานะผู้ช่วยของ อังเดร วิลลาส-โบอาส ก่อนจะขึ้นเป็นกุนซือขัดตาทัพแทนในช่วงกลางฤดูกาล 2011-12 ซึ่งทำผลงานได้เกินคาดด้วยการทะลุถึงรอบชิง เอฟเอ คัพ และเอาชนะลิเวอร์พูลไป 2-1 พร้อมกับแชมป์แรกในฐานะกุนซือมาครอง

 

มากกว่าไปนั้น ดิ มัตเตโอ ยังสร้างความเหลือเชื่อด้วยการคว้า ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ในปีเดียวกัน เหนือ บาเยิร์น มิวนิค ตัวเต็งแชมป์ในตอนนั้นอย่างเหนือความคาดหมาย และทำให้ เชลซี กลายเป็นสโมสรแรกจากลอนดอนที่คว้าแชมป์รายการนี้ได้

 

 

จานลูก้า วิอัลลี่

 

 

นอกเหนือจาก ดิ มัตเตโอ จานลูก้า วิอัลลี่ ก็คือหนึ่งแข้งที่อยู่กับ เชลซี ในช่วงแชมป์บอลถ้วยด้วย หลังย้ายมาเล่นที่ สแตมฟอร์ด บริดจ์ ในช่วงบั้นปลายอาชีพค้าแข้ง เมื่อปี 1996 และกลายเป็นแข้งคนสำคัญที่ช่วยให้ รุต กุลลิต พาสิงห์บลู คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ มาครองได้ในปีแรก

 

ทว่าอีก 2 ปี ต่อมา กุตลิต ที่เคยพาเชลซีคว้าแชมป์ก็ถูกปลด ก่อนที่สโมสรจะแต่งตั้งให้ ดาวยิงชาวอิตาเลี่ยน ทำหน้าที่ผู้จัดการทีมควบตำแหน่งผู้เล่น ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1998 จากนั้นจึงประกาศแขวนสตั๊ดเพื่อโฟกัสกับตำแหน่งนี้เต็มตัวในปี 1999 ซึ่งเขาได้ต่อยอดทีมให้เป็นเจ้าบอลถ้วยต่อไป ด้วยการคว้าแชมป์ ลีกคัพ, แชร์ริตี้ ชิลด์,ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ, ยูฟ่า ซุปเปอร์ คัพ และ เอฟเอ คัพ  มาครอง

 

นอกจากนี้ วิอัลลี่ ยังจารึกเป็นกุนซือชาวอิตาเลี่ยนคนแรกที่ได้คุมทีมในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ อีกด้วย

 

 

เคนนี่ ดัลกลิช

 

 

คงไม่ต้องสาธยายให้มากความสำหรับ เคนนี่ ดัลกลิช ตำนานดาวยิงของ ลิเวอร์พูล ที่ประสบความสำเร็จสุดๆทั้งตอนที่เป็นนักเตะ หรือ ยืนคุมทีมอยู่ข้างสนาม ที่กวาดแชมป์มาครองได้เกือบทุกรายการ

 

อดีตดาวยิงเบอร์ 7 ขวัญใจเดอะ ค็อป พาหงส์แดงคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ ในปี 1986 และ 1989 ซึ่งนั้นคือตอนที่เขาทำหน้าที่นักเตะและผู้จัดการไปพร้อมๆกัน อีกทั้งยังคว้าแชมป์ลีกอีก 3 สมัย และ แชมป์โล่การกุศลอีก 4 สมัย ในช่วงเวลาดังกล่าว ก่อนจะลาทีมไปในปี 1991

 

ทั้งนี้ ดัลกลิช ยังเป็นคนที่ 2 ในวงการลูกหนังอังกฤษ ที่สามารถคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ได้ ทั้งฐานะผู้เล่นควบผู้จัดการทีม ต่อจาก จอห์น คาเมรอน ที่เคยทำไว้ในปี 1901 

 

 

เทอร์รี่ เวนาเบิ้ลส์

 

 

เทอร์รี่ เวนาเบิ้ลส์ เป็นกองกลางชาวอังกฤษที่โด่งดังมากในยุค 1960 จนถึงกลางยุค 1970 ซึ่งเคยคว้าแชมป์ลีกกับ เชลซี ในปี 1965 และ แชมป์เอฟเอ คัพ กับ ท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ในปี 1967 ด้วย

 

เมื่อผันตัวมาเป็นกุนซือเต็มตัว เอลเทล ก็ประสบความสำเร็จพอสมควรในเส้นทางนี้ที่พา บาร์เซโลน่า คว้าแชมป์ลาลีก้า ในปี 1985 จากนั้นอีก 2 ปี ต่อมา เขาจึงกลับมารับงานคุม ไก่เดือยทอง และพาทีมคว้าแชมป์เอฟเอ สมัยที่ 8 ในประวัติศาสตร์สโมสรได้ในปี 1991 และเป็นครั้งสุดท้ายที่พวกเขาสามารถชูถ้วยรายการนี้

 

บ็อบบี้ กูลด์

 

 

ในสมัยที่ค้าแข้งอยู่ บ็อบบี้ กูลด์ ถือเป็นนักเตะจอมพเนจรในลีกแดนผู้ดีที่เล่นให้กับ 9 สโมสรตลอด 16 ปี แต่ก็ยังประสบความสำเร็จในระดับนึง ในสมัยที่คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ กับ เวสต์แฮม เมื่อปี 1975

 

ทว่าชื่อของ กูลด์ ค่อยๆเป็นที่รู้จักมากขึ้น เมื่อเขาผันตัวเข้ามาเป็นผู้จัดการทีมเต็มตัวในปี 1981 และช่วงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคงหนีไม่พ้นตอนที่กุมบังเหียน วิมเบิลดัน ในระหว่างปี 1987-1990 ซึ่งพา ขุนพล เครซี่ แก๊ง คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ เหนือ ตัวเต็งอย่าง ลิเวอร์พูล ด้วยลีลาการเล่นสุดโหดเกินใครในปี 1988

 

จอร์จ เกรแฮม

 

 

ตำนานอาร์เซน่อลอีกคนที่พาทีมประสบความสำเร็จสมัยค้าแข้งในระหว่างปี 1966-1972 ทั้งแชมป์ลีกดิวิชั่น 1 กับ เอฟเอ คัพ ในปี 1971 และถึงแม้เคยย้ายไปค้าแข้งกับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด หรือ เชลซี ก่อนหน้านี้ ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่านี้

 

หลังแขวนสตั๊ด เกรแฮม ได้เริ่มต้นงานโค้ชกับ คริสตัล พาเลซ จากนั้นจึงค่อยก้าวมาเป็นผู้จัดการทีมเต็มตัวกับ มิลวอลล์ ในปี 1982 และด้วยผลงานที่เข้าตาทำให้ อดีตกองกลางชาวสก็อตเข้ามาคุมปืนใหญ่ ทีมเก่าที่เคยค้าแข้งในปี 1986 

 

และ เกรแฮม ก็ไม่ทำให้เหล่ากูนเนอร์ส ผิดหวัง เมื่อพาทีมคว้าแชมป์ลีกเพิ่มอีก 2 สมัย, แชมป์ลีก คัพ 2 สมัย, วินเนอร์ส คัพ 1 สมัย และ เอฟเอ คัพ เหนือ เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์ ในปี 1993 ก่อนจะลาทีมไปในปี 1995

 

 

ดอน เลวี่ย์

 

 

แม้จะไม่ใช่ช่วงที่ประสบความสำเร็จหรือยิ่งใหญ่เท่ากับปัจจุบัน แต่ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในยุค 1950 ก็ยังได้เชยชมถ้วยรางวัลบ้าง นั่นก็คือ เอฟเอ คัพ ปี 1956 โดยมี ดอน เรวี่ย์ เจ้าของรางวัลแข้งยอดเยี่ยมประจำสมาคมนักข่าวปี 1955 เป็นแข้งคนสำคัญ

 

อย่างไรก็ตาม ชื่อเสียงของ เลวี่ย์ โด่งดังสุดขีด ยามที่เขาเข้ามาเป็นผู็จัดการทีมให้กับ ลีดส์ ยูไนเต็ด ในปี 1961 ซึ่งในตอนนั้นยังอยู่ในดิวิชั่น 2 และไม่ประสบความสำเร็จอะไรเลย แต่เขากลับเปลี่ยนให้นกยูงทองเป็นแชมป์ลีกดิวิชั่น 1 ถึง 2 สมัย, เอฟเอ คัพ ในปี 1972 และ ลีก คัพอีกสมัย ทั้งๆที่นี่คือทีมแรกของเขาในการเป็นกุนซือ

 

ด้วยความยอดเยี่ยมดังกล่าวทำให เลวี่ย์ ได้โอกาสคุมทีมชาติอังกฤษในปี 1974 ต่อจาก อัลฟ์ แรมซี่ย์ ที่พาทีมไม่ผ่านฟุตบอล และ ยูโร รอบสุดท้าย แต่ทัพทรีไลอ้อนส์ในมือของ เลวี่ย์ ก็ย่ำแย่ไม่แพ้กัน หลังไม่ผ่าน ยูโร และฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย จนก้าวลงจากตำแหน่งในปี 1977

 

บิล แชงค์ลี่ย์

 

 

ไม่มีแฟนบอลลิเวอร์พูลคนไหน ไม่รู้จัก บิล แชงค์ลี่ย์ ชายผู้ทำให้หงส์แดงกลายเป็นเครื่องจักรสีแดงที่น่าจับตามองที่สุดในยุคกลาง 1960 ถึง ต้นยุค 1970 

 

กุนซือชาวอังกฤษ เข้ามารับงานในแอนฟิลด์ เมื่อปี 1959 และค่อยๆพัฒนาทีมจนคว้าแชมป์ลีกได้ในปี 1964 ซึ่งครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1947 ก่อนจะคว้าแชมป์ลีกเพิ่มอีก 2 สมัย ร่วมถึงแชมป์เอฟเอ คัพ อีก 2 สมัย ก่อนจะวางมือ ส่งต่อให้ บ็อบ เพรสลี่ย์ สร้างให้ลิเวอร์พูลกลายเป็นยอดทีมแห่งเกาะอังกฤษในเวลาต่อมา

 

แชงค์ลี่ย์ อาจถูกยกย่องให้เป็นกุนซือตำนานอีกคนของ ลิเวอร์พูล แต่ก่อนหน้านั้น แฟนบอล เปรสตัน นอร์ธเอนด์ ก็ยกให้เขาเป็นตำนานแข้งของสโมสรเช่นกัน ที่เล่นให้ทีมมากกว่า 297 นัด ตลอด 16 ปี แม้จะคว้าแชมป์เมเจอร์อย่าง เอฟเอ คัพ มาครองได้แค่รายการเดียวในปี 1938 ก็ตาม

 

 

แม็ตต์ บัสบี้

 

 

หากใครที่ไม่รู้จัก แม็ตต์ บัสบี้ ก็คงเรียกตัวเองว่าเป็นแฟนบอลปีศาจแดงได้ไม่เต็มปาก เพราะเขาผู้นี้คือกุนซือในตำนานที่พา แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ครองความยิ่งใหญ่ ทั้งในอังกฤษ และ ยุโรป ช่วงปี 1945 จนถึง 1969

 

แชมป์ลีก 5 สมัย, แชมป์เอฟเอ คัพ 2 สมัย และ แชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ 1 สมัย ก็บ่งบอกถึงความเก่งกาจในการคุมทีมของกุนซือชาวสก็อตได้เป็นอย่างดี

 

แต่ก่อนหน้านั้นในสมัยที่ค้าแข้งอยู่ บัสบี้ เคยเล่นให้กับ 2 ทีมอริสำคัญของยูไนเต็ดมาแล้ว นั่นก็คือ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ และ ลิเวอร์พูล แม้จะไม่ประสบความสำเร็จเหมือนตอนเป็นผู้จัดการทีม บัสบี้ ก็คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ กับ เรือใบมาครองได้ในปี 1934

 

ร็อบ สโตโค่

 

 

มีไม่กี่คนในวงการลูกหนังอังกฤษที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับ นิวคาสเซิล และ ซันเดอร์แลนด์ 2 สโมสรอริร่วมเมืองแถบอีสานในแดนผู้ดี โดยหนึ่งในนั้นต้องมี ร็อบ สโตโค่ อยู่ด้วยแน่นอน

 

กองหลังชาวอังกฤษเริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพกับ สาลิกาดงก่อนในปี 1950 จนถึงปี 1960 พร้อมกับพาทีมคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ได้ในปี 1955 ก่อนจะย้ายซบเบิร์นลี่ย์ในช่วงบั้นปลายอาชีพ  และเริ่มต้นงานกุนซือนั่นไปพร้อมๆกับการค้าแข้ง

 

ถึงอย่างนั้น เส้นทางคุมทีมของ สโตโค่ ก็ไม่ได้สวยหรูหรือโดดเด่นกว่าใครเท่านั้นนัก แต่ช่วงที่เขารับงานกับ ซันเดอร์แลนด์ ทีมคู่อริของ นิวคาสเซิล กลับกลายเป็นช่วงที่เขาประสบความสำเร็จมากที่สุดในเส้นทางนี้ ด้วยการเอาชนะ ลีดส์ ยูไนเค็ด คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ มาครองในปี 1973