แอร์เบ ไลป์ซิก : เมื่อทีมที่แฟนบอลเมืองเบียร์เกลียดกำลังเขย่าเวทียุโรป

 

คู่แข่งของ สเปอร์ส ในแชมเปี้ยนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้ายของฤดูกาลนี้อย่าง แอร์เบ ไลป์ซิก ไม่ได้มีดีแค่เจ้าของทีมที่ร่ำรวย หรือฟอร์การเล่นที่เปรี้ยงปร้างเท่านั้น แต่พวกเขายังมีการวางต้นแบบเพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืนในอนาคตด้วย

 

ทุกคนต่างรู้ดีว่า แอร์เบ ไลป์ซิก เป็นสโมสรที่ถูกเกลียดมากที่สุดในเยอรมัน เนื่องจากแฟนบอลบุนเดสลีก้า ภูมิใจกับประวัติศาสตร์และประเพณีของพวกเขาเองที่มีกฏ 50%+1 ให้พวกเขาได้ถือหุ้นเหนือผู้ใดในทีม และมีสิทธิ์มีเสียงในการโหวตหรือทำบางอย่างเพื่อสโมสรที่ตัวเองรัก 

 

ดังนั้นเมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เร้ดบลูล์ เข้ามาหาช่องทางต่างๆในการสร้างทีมใหม่ขึ้นมา ซึ่งดูไม่สนใจกับธรรมเนียบปฏิบัติที่มีสืบกันมานาน ไม่แปลกที่พวกเขาจะหมั่นไส้ทีมนี้ที่โด่งดังเพราะอำนาจเงินจากนายทุนได้

 

อย่างไรก็ตาม เร้ดบลูล์ ไม่เข้ามาในวงการลูกหนังแบบส่งๆ พวกเขาเทคโอเวอร์ ซัลซ์บวร์ก ในปี 2005 พร้อมนำประเพณีต่างๆในสโมสรออกไป และรีแบรนด์ทีมใหม่โดยใช้ตราสินค้าของบริษัท ก่อนจะนำรูปแบบนี้มาใช้กับ ไลป์ซิก ในปีต่อมา ซึ่งเป็นสโมสรฟุตบอลทีมที่ 5 ที่พวกเขาเข้ามาเทคโอเวอร์

 

มากกว่าไปนั้น พวกเขากลายร่างจากทีมน้องใหม่ในลีก กลายเป็นสโมสรที่พร้อมเขย่าบัลลังก์ลูกหนังเมืองเบียร์ที่มีเพียง 12 ทีมที่เคยคว้าแชมป์ลีกได้นับตั้งแต่ปี 1963 อีกทั้้งผลงานในฟุตบอลยุโรปก็ดีวันดีขึ้นขึ้นเรื่อยๆ

 

แต่เหตุใด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทาง UFA ARENA จะพาไปวิเคราะห์ถึงเรื่องราวของทีมจากเร้ดบลู ผู้มีลุ้นแชมป์บุนเลสลีก้าในฤดูกาลนี้กัน

 

 

ไม่ได้ใช้แต่เงิน

 

 

แหล่งเงินทุนจาก เร้ดบลูล์ ต้องบอกว่ามีมากมายมหาศาล หลังจากที่ก้าวเข้ามาในโลกของฟุตบอลอย่างเต็มตัว พวกเขาสามารถสร้างทีมสุดแกร่งได้อย่างง่ายดายด้วยการกว้านซื้อแข้งดาราดังจากทั่วทุกมุมโลก เช่นเดียวกับที่ ปารีส แซงต์ แชร์กแมง หรือ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เคยทำ

 

ทว่า พวกเขากลับเลือกเดินในเส้นทางที่แตกต่าง ด้วยการหันไปลงทุนสร้างศูนย์ฝึกเยาวชน และ ศูนย์ฝึกของสโมสรขึ้นมา, วางกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อพัฒนาฟุตบอลในทุกระดับ, เลือกโค้ชหนุ่มฝีมือดีเข้ามาทำทีม, จัดตั้งทีมแมวมองที่สายตาเฉียบคม และ ดึงแข้งพรสวรรค์ไร้ชื่อมาปลุกปั้นเป็นดาวเด่นของสโมสร

 

อย่าง นาบี เกอิต้า ที่ขายให้ ลิเวอร์พูล ด้วยค่าตัวมหาศาล แม้จะดูเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะรั้งนักเตะไว้กับทีมได้ แต่ก็มีหลายคนที่ค้าแข้งอยู่ทีมมานานหลายปี จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของสโมสร ซึ่งปัจจุบัน พวกเขาก็ยังเล่นอยู่ไลป์ซิกในตอนนี้

 

 

ยูซุฟ โพลเซ่น หัวหอกชาวเดนส์ ย้ายมาอยู่กับทีมในปี 2013 ตั้งแต่อายุ 19 ปี ซึ่ง ณ เวลานั้น ไลป์ซิก ยังวนเวียนอยู่ในลีกระดับ 3 ของเยอรมัน, ลูคัส โครสเตอร์มันน์ ที่ย้ายมาจาก โบคุม ในปี 2014, กองกลางชาวออสเตรียวัย 18 ปี มาร์เซล ซาบิตเซอร์ ที่ย้ายมาในปี 2014, เพลย์เมกเกอร์ชาวสวีดิช เอมิล ฟอร์สเบิร์ก ที่ลา มัลโม่ ทีมดังในบ้านเกิดเพื่อมาร่วมทีมดิวิชั่น 2 ในปี 2015 แม้จะไม่ได้รับความสนใจในเยอรมันเท่าไหร่ก็ตาม

 

กัปตันทีมคนปัจจุบัน วิลลี่ ออร์บัน ที่ย้ายจาก ไกเซอร์สเลาเทิร์น ในปี 2015 หรือ มาร์เซล ฮาลสเทนเบิร์ก ที่ลา โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ชุดสำรอง มาร่วมทีมในปี 2015 และช่วยให้ไลป์ซิก เลื่อนชั้นไปเล่นในบุนเดสลีก้าได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

 

นักเตะทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น พวกเขายังเป็นผู้เล่นตัวหลักในสโมสร ขณะที่ โครสเตอร์มันน์ และ ฮัลสเท่นเบิร์ก ติดทีมชาติเยอรมัน ไลป์ซิกก็กลายร่างเป็นทีมหน้าใหม่ที่น่าสนใจและมีแรงดึงดูดอย่างปฏิเสธไม่ได้ ทั้งการเล่นบอลที่รวดเร็ว, เน้นเกมบุก และ การไล่บี้กดดันคู่แข่งอย่างหนัก เมื่อบวกกับการเข้ามาของ ยูเลี่ยน นาเกิลส์มันน์ ยิ่งทำให้ พวกเขาเหมือนติดปีก และมีลุ้นคว้าแชมป์บุนเดสลีก้าอย่างเต็มตัวในฤดูกาลนี้

 

 

แรงกระเพื่อมถึงเสือใต้

 

 

กลยุทธ์สุดประสบความสำเร็จ ถูกก่อร้างสร้างมาจากชายที่ชื่อว่า ราล์ฟ รังนิก ผู้เคยเป็นกุนซือ และนั่งแทนเป็น ผู้อำนวยการกีฬาของไลป์ซิกอยู่ในตอนนี้ โดยเข้าร่วมโปรเจ็คยักษ์ตั้งแต่ปี 2012 จริงอยู่ที่ ไลป์ซิก ไม่ได้ครองอำนาจเบ็ดเสร็จในการแข่งขัน เหมือนกับ เปแอชเช ในลีกเอิง แต่พวกเขาก็ทำให้ ลีกเมืองเบียร์มีการแข่งขันเข้มข้นมากขึ้น  และ สั่นคลอนความยิ่งใหญ่ของ บาเยิร์น มิวนิค ทีมเต็งแชมป์ของลีกได้เป็นอย่างดี 

 

ยักษ์ใหญ่จากแคว้นบาวาเรีย อาจเป็นสโมสรดั้งเดิมที่ทำตามกฏ 50+1 แต่ด้วยอำนาจทางการเงิน และ กลยุทธ์การคว้านักเตะคู่แข่งมาร่วมทีม ทำให้พวกเขายึดอำนาจในลีกได้มากกว่าใคร แต่ปัจจุบัน สิ่งเหล่านั้นดูไม่แน่นอนมากขึ้น ต้องขอบคุณการเข้ามาของ ไลป์ซิก จริงๆ

 

นอกจากนี้ ทีมจากฝั่งตะวันออกคงไม่มีทางได้เิชิดฉายในลีกสูงสุดของประเทศแน่ๆ หากไม่มีพวกเขา เนื่องจาก ไลป์ซิกเป็น 1 ในไม่กี่สโมสรจากฝั่งตะวันออกของ เยอรมัน ที่ได้มาโลดแล่นในบุนเดสลีก้าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา (ก่อนหน้านี้มี แฮร์ธ่า เบอร์ลิน และ ยูนิโอน เบอร์ลิน ที่เพิ่งเลื่อนขึ้นมาในซัมเมอร์ก่อน) และทีมส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้จะวนเวียนอยู่ในลีกระดับล่างๆทั้งสิ้น 

 

หากเทียบกับกรณีของ ซัลซ์บวร์ก อาจดูแตกต่างพอสมควร เนื่องจากสมัยที่ เร้ดบลู เทคโอเวอร์ ทีมยังเป็นสโมสรขนาดเล็กๆที่เล่นอยู่ในดิวิชั่น 5 ของประเทศเท่านั้น และไม่มีแรงต่อต้านจากผู้คนในลีกเท่าไหร่ แต่ในทางกลับกัน พวกเขาได้ทำให้ เมืองที่คลั่งไคล้ในกีฬาลูกหนังว่า 600,000 ชีวิต มีทีมที่ยอดเยี่ยมไว้ตามสนับสนุนในเวลาต่อมา

 

แฟนบอลรุ่นเก่าของ ไลป์ซิก คงจดจำได้ดีในวันที่ โลโคโมทีฟ ไลป์ซิก พบกับ อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม ในนัดชิงวินเนอร์ส คัพ ปี 1987 เพราะฉะนั้น หากในตอนนี้ ไลป์ซิก ประสบความสำเร็จขึ้นมาจริงๆ ทำไม แฟนบอลรุ่นใหม่จากฝั่งเยอรมันตะวันออกจะปฏิเสธที่จะติดตามเชียร์ทีมแบบนี้ล่ะ?

 

 

เป้าหมายในเวทียุโรป

 

 

ณ ตอนนี้ ไลป์ซิก กุมความได้เปรียบด้วยการบุกไปเอาชนะ ท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ถึงถิ่น 1-0 ในเกมแชมเปี้ยนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้ายในนัดแรก และเชื่อว่าพวกเขากำลังตั้งเป้าทะลุเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย และประกาศศักดาในฟุตบอลยุโรปให้ได้

 

หรือถึงแม้พวกเขาจะไม่ได้ไปต่อในเวทียูซีแอล หลังจากวันนี้ ไลป์ซิก ก็ยังอยู่ในเส้นทางลุ้นแชมป์บุนเดสลีก้า ร่วมกับ บาเยิร์น มิวนิค และ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ อยู่ 

 

หลายคนจะไม่ชื่นชอบในแนวทางเชิงพาณิชย์ของสโมสรแห่งนี้ แต่การสร้างทีมใหม่ขึ้นใหม่ในบางครั้ง ก็ไม่ได้แย่เสมอไป และดูดีกว่าการที่ถูกเทคโอเวอร์จนทำลายจิตวิญญานที่มีมานานของทีมด้วยน้ำมือของรัฐบาลจากต่างแดน (เช่นกลุ่ม กาตาร์ ในเปแอชเช), มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน (เช่น ตระกูลเกลเซอร์ จากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด) หรือ ผู้มีอิทธิพลจากรัสเซีย (เช่น โรมัน อับราโมวิช จากเชลซี) 

 

หากทำใจยอมรับและทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้ แฟนบอลหลายๆคนอาจติดตามเชียร์สโมสรจาก เร้ดบลูล์ ได้อย่างมีความสุข และไม่ตะขิดตะขวงใจ

 

อีกทั้ง ผลงานที่เห็นอยู่ในปัจจุบันก็แสดงให้เห็นว่าวิธีที่พวกเขาทำอยู่ในตอนนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแย่แม้แต่นิดเดียว