อังเก้คนที่ 7  : 6 กุนซือเซลติกโยกคุมทีมแดนผู้ดีนับตั้งแต่ปี 2000

อังเก้คนที่ 7  : 6 กุนซือเซลติกโยกคุมทีมแดนผู้ดีนับตั้งแต่ปี 2000

เรียกว่าเป็นไปตามที่สื่อหลายๆ สำนักคาดการณ์ไว้ เมื่อ อังเก้ ปอสเตโคกลู ได้อำลา กลาสโกว์ เซลติก เพื่อย้ายไปคุม ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

โดยตลอด 2 ฤดูกาลกับ ‘ม้าลายเขียวขาว’ กุนซือชาวออสซี่ ประสบความสำเร็จไม่น้อย ทั้งการคว้าแชมป์ลีกกับลีก คัพในปีแรก ก่อนจะกวาดสามแชมป์ในซีซั่นที่เพิ่งจบไป

ล่าสุด อังเก้ ก็เลือกหารับความท้าทายใหม่ด้วยการย้ายมาคุม ‘ไก่เดือยทอง’ พร้อมได้รับสัญญายาวถึง 4 ปี ซึ่งเหล่ายิด อาร์มี่ ต้องมาดูกันว่าเขาจะพาทีมไปได้ไกลแค่ไหน 

อย่างไรก็ตาม ปอสเตโคกลู ก็ไม่ใช่กุนซือจากสก็อตแลนด์ รายแรกที่ลงใต้มารับงานใหม่ในแดนผู้ดี เพราะนับตั้งแต่ปี 2000 มีกุนซือถึง 6 คนที่บอกลายอดทีมจากแดนขี้เมา เพื่อไปสร้างชื่อเสียงและความสามารถให้ตัวพวกเขาเองในอังกฤษ 

แต่ใครจะรุ่งหรือร่วง UFA ARENA จะพาไปย้อนดูพร้อมๆกันผ่านบทความชิ้นนี้

 

จอห์น บาร์นส์ (มิถุนายน 1999-กุมภาพันธ์ 2000)

On this day in 2000: John Barnes sacked by Celtic after less than nine  months | FourFourTwo

ทีมที่คุมในอังกฤษ ต่อจากนั้น : ทรานเมียร์ โรเวอร์ส

จอห์น บาร์นส์ เข้ามาคุม ‘ม้าลายเขียวขาว’ ในช่วงซัมเมอร์ปี 1999 พร้อมด้วย เคนนี่ ดัลกลิช ที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฟุตบอลของทีม เนื่องด้วยสไตล์การเล่นที่โดดเด่นทำให้หลายคนคาดว่า บาร์นส์ น่าจะไปได้สวยกับงานกุนซือ

แต่นั่นถือเรื่องที่สโมสรตัดสินใจได้ผิดพลาดมากๆ เพราะเซลติก ตามหลังคู่อริตลอดกาลอย่าง เรนเจอร์ส ที่รั้งจ่าฝูงถึง 11 แต้ม ทำให้อดีตปีกนิลกาฬของ ลิเวอร์พูล ถูกเด้งจากเก้าอี้หลังผ่านไปได้ครึ่งฤดูกาลเท่านั้น

อีก 9 ปีต่อมา บาร์นส์ ก็ได้งานกุนซืออีกครั้งกับสโมสร ทรานเมียร์ โรเวอร์ส ซึ่งอยู่ในลีก วันของอังกฤษ ณ ตอนนั้น โดยมี เจสัน แม็คเคเทียร์ อดีตเพื่อนร่วมทีมตอนค้าแข้งกับ ‘หงส์แดง’ มารับบทบาทผู้ช่วย แต่นี่เป็นอีกครั้งที่พิสูจน์ว่า บาร์นส์ ไม่เหมาะกับงานกุนซือเลย เนื่องจากเขาพาทีมชนะแค่ 3 จาก 14 เกมแรกเท่านั้น และถูกสโมสรปลดจากตำแหน่งพร้อมๆ กับ แม็คเคเทียร์  ในเดือนตุลาคมปี 2009

 

มาร์ติน โอนีล  (มิถุนายน 2000- พฤษภาคม 2005)

Anniversary of Martin O'Neill's arrival as manager

ทีมที่คุมในอังกฤษ ต่อจากนั้น : แอสตัน วิลล่า, ซันเดอร์แลนด์, น็อตติ่งแฮม ฟอเรสต์

ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ มาร์ติน โอนีล ได้คุมทีม เซลติก เขาทำให้สโมสรกลับไปเป็นยอดทีมเบอร์หนึ่งแห่งสก็อตแลนด์ อีกครั้ง โดยได้เข้ามารับตำแหน่งต่อจาก จอนห์น บาร์นส์ ที่ทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวังก่อนหน้านี้

 กุนซือชาวไอร์แลนด์เหนือ พา ‘ม้าลายเขียวขาว’ คว้าแชมป์ลีก 3 สมัย, สก็อตติช คัพ 3 สมัย และ ลีก คัพอีก 1 สมัย นอกจากนี้เขายังพาทีมเข้ารอบชิงยูฟ่า คัพได้ในปี 2002-2003 ด้วย แม้จะแพ้ให้ ปอร์โต้ ก็ตาม แถมสถิติต่างๆ กับทีมก็สุดยอด ไม่ว่าจะเป็นการคว้าชัย 7 นัดรวดในศึกโอลด์เฟิร์ม ดาร์บี้ หรือพาทีมคว้าชนะ 25 เกมติดต่อกันเมื่อปี 2003-2004

แต่ในเดือนพฤษภาคมปี 2005 โอนีล ก็ตัดสินใจเซ็นใบลาออกจากสโมสร เพื่อไปดูแล เจอร์รัลดีน ภรรยาที่ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ก่อนจะไปสร้างชื่อเสียงในอังกฤษ กับ แอสตัน วิลล่า ในอีก 1 ปีต่อมา และย้ายไปคุม ซันเดอร์แลนด์ ในเวลาต่อมา 

 

กอร์ดอน สตรัคคัน (พฤษภาคม 2005- พฤษภาคม 2009)

On this Day in 2005, Ten Days after Black Sunday, WGS is appointed Celtic  Manager

ทีมที่คุมในอังกฤษ ต่อจากนั้น : มิดเดิ่ลสโบรห์

กอร์ดอน สตรัคคัน เข้ามารับงานใหญ่ที่ โอนีล ทิ้งไว้แบบทันทีทันใด แม้จะเริ่มได้ลำบากพอสมควร แต่ต่อมาเขาก็ทำผลงานได้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนพาทีมคว้าแชมป์สก็อตติช พรีเมียร์ลีก ได้ตั้งแต่ปีแรกที่เข้ามาคุมทีม รวมถึงคว้าแชมป์บอลถ้วยมาครองได้ในอีกฤดูกาลต่อมาด้วย

ด้วยสไตล์การเล่นที่ดุดันและแข็งแกร่งทำให้ทีม ‘ม้าลายเขียวขาว’ เข้ารอบน็อกเอาท์เป็นครั้งแรกในยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก ฤดูกาล 2006-07 ทั้งที่พวกเขาอยู่ในกลุ่มที่มีแต่ทีมแข็งๆ อย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, โคเปนเฮเก้น และ เบนฟิก้า ด้วย ก่อนจะโดนว่าที่แชมป์ในปีนั้นอย่าง เอซี มิลาน เขี่ยตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายไป

แต่ในฤดูกาล 2008 อดีตกองหลังทีมชาติสก็อตแลนด์ ไม่สามารถพาทีมป้องกันแชมป์ลีกได้ ทำให้เขาตัดสินใจลาออกจากทีมหลังจบฤดูกาลนั้น แม้จะได้แชมป์ลีกคัพมาก็ตาม ต่อจากนั้นไม่นาน สตรัคคันก็ได้งานกุนซือใหม่กับ มิดเดิ้ลสโบรห์ แต่ด้วยผลงานที่ย่ำแย่ตั้งแต่เริ่มฤดูกาลทำให้ทีมสิงห์แดงไล่เขาออก หลังจากเข้ามารับงานในอังกฤษ เกือบ 1 ปี

 

โทนี่ โมว์เบรย์ (มิถุนายน 2009- มีนาคม 2010)

5 Worst Celtic FC Managers Ever - 1SPORTS1

ทีมที่คุมในอังกฤษ ต่อจากนั้น : มิดเดิ้ลสโบรห์, โคเวนทรี และ แบล็คเบิร์น

โทนี่ โมว์เบรย์ ได้รับการแต่งตั้งให้นั่งเก้าอี้ผู้จัดการทีมของ เซลติก ในช่วงซัมเมอร์ปี 2009 แต่ดูเหมือนว่า กุนซือชาวอังกฤษ คนนี้จะลืมพกฟอร์มเก่งเช่นในสมัยที่คุม เวสต์บรอมวิช อัลเบี้ยน ในอังกฤษ มาด้วย

โมว์เบรย์ พายอดทีมจากกลาสโกว ์โชว์ฟอร์มได้อย่างย่ำแย่ในลีก และพาทีมแพ้กระทั่งทีมที่อยู่คนละระดับชั้นกัน ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง หรือตัวนักเตะในทีมอย่าง ดันดี ยูไนเต็ด, ฮิเบอร์เนี่ยน และ เซนต์ เมียร์เรน ทำให้เขาต้องบอกลาแดนวิสกี้ในช่วงท้ายฤดูกาลนั้น

 ต่อมา โมว์เบรย์ ได้มีโอกาสคุมมิดเดิ้ลสโบรห์ แทนกุนซือคนเก่าอย่าง กอร์ดอน สตรัคคัน  แต่ด้วยฟอร์มอันย่ำแย่ ชนะแค่ 2 จาก 12 เกมทำให้เขาถูกเด้งอย่างไม่ต้องสงสัย จากนั้น เขาไปคุมโคเวนทรี่อยู่ 1 ฤดูกาล ก่อนไปย้ายคุม แบล็คเบิร์น ตั้งแต่ปี 2017 จนถึงปี 2022 จากนั้นก็ย้ายไปคุม ซันเดอร์แลนด์

 

นีล เลนนอน (มีนาคม 2010- พฤษภาคม 2014)

Celtic offer Neil Lennon permanent manager job after 2-1 Scottish Cup  victory over Hearts | The Independent | The Independent

ทีมที่คุมในอังกฤษต่อจากนั้น : โบลตัน วันเดอร์เรอร์ส

ทุกอย่างกลับมาเข้ารูปเข้ารอบอีกครั้ง หลังจาก นีล เลนนอน เข้าแทนที่ โทนี่ โมว์เบรย์ และทวนคืนความเป็นที่หนึ่งในวงการลูกหนังของสก็อตแลนด์ ในฤดูกาลต่อมา หลังพาทีมกลับมาคว้าแชมป์ลีกได้อีกครั้ง แม้จะตกรอบตัดเชือกในบอลถ้วยก็ตาม

ใน 4 ปีที่ เลนนอน ทำหน้าที่อยู่ใน เซลติก ปาร์ค เขาคว้าแชมป์ลีกสก็อตแลนด์ ได้ 3 สมัยซ้อน และบอลถ้วยสก็อตติช คัพ อีก 2 สมัย อย่างไรก็ตามในฟุตบอลยุโรป เขาก็พาทีมเข้าไปลึกสุดแค่รอบ 16 ทีมสุดท้ายในแชมเปี้ยนส์ลีกเท่านั้น

ต่อมา เลนนอน ประกาศในเดือนพฤษภาคมปี 2014 ว่าตัวเขาจะสิ้นสุดการทำหน้าที่กุนซือให้กับ ‘ม้าลายเขียวขาว’ หลังจบฤดูกาล และรับงานกุนซือที่โบลตัน แทน แต่เขาก็มีช่วงเวลาที่ไม่ดีซักเท่าไหร่ยามอยู่ในลีกผู้ดี และได้กลับมา สก็อตแลนด์ อีกครั้งในปี 2016 เพื่อมาคุมฮิเบอร์เนี่ยน ก่อนกลับมาคุม เซลติก อีกครั้งในปี 2019 พร้อมคว้าแชมป์ลีกเพิ่มอีก 1 สมัย แต่ปัจจุบันก็ว่างงานอยู่ หลังคุม โอโมเนีย ทีมจากไซปรัส ได้ไม่ถึงปีก็โดนปลดในปี 2022

 

เบรนแดน ร็อดเจอร์ส (พฤษภาคม 2016- กุมภาพันธ์ 2019)

Brendan Rodgers open to Celtic return as manager | Football News | Sky  Sports

ทีมที่คุมในอังกฤษต่อจากนั้น : เลสเตอร์

การคุมทีมระดับแบบ เซลติก ที่มีทั้งความยิ่งใหญ่และทะเยอทะยานแบบนี้ ทำให้กุนซือที่เข้ามานั้นต้องพบกับความกดดันมหาศาล แต่ว่าไม่ใช่กับ เบรนแดน ร็อดเจอร์ส เพราะเขาสร้างความสำเร็จแบบเป็นรูปธรรมให้ทีมตั้งแต่ปี 2016 ที่เข้ามาในกลาสโกว์ 

โดยตลอด 2 ปีกว่าในสก็อตแลนด์ บีร็อด พาทีมคว้าแชมป์ลีก 2 สมัย, สก็อตติช คัพ 2 สมัย และ ลีกคัพอีก 3 สมัย ซึ่งผลงานนี้ก็เข้าตา เลสเตอร์ จึงจัดการดึงตัวมาร่วมทีมกลางซีซั่น 2018-19 ซึ่งเข้ามาแทนที่ โคล้ด ปูแอล ที่โดนปลดไป

ช่วง 3 ปีแรกกับ ‘จิ้งจอกสีน้ำเงิน’ กุนซือชาวไอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จอย่างดี ทั้งการคว้าอันดับ 5 ใน 2 ปีติด รวมถึงความสำเร็จสูงสุดอย่าง แชมป์เอฟเอ คัพ ในฤดูกาล 2020-21 หลังเอาชนะ เชลซี ในนัดชิง

อย่างไรก็ตาม ฤดูกาล 2022-23 กลายเป็นช่วงสุดท้ายสุดขื่นขมสำหรับ ร็อดเจอร์ส ในถิ่น คิง พาวเวอร์ สเตเดี้ยม เมื่อพาทีมรั้งโซนตกชั้น หลังผ่านไป 28 นัด จนถูกไล่ออกเป็นหนที่ 2 ในอาชีพกุนซือ นับตั้งแต่โดน ลิเวอร์พูล เด้งในปี 2015

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

กุนโดกันเบอร์หนึ่ง : 4 แข้งยิงเร็วสุดรอบชิงเอฟเอ คัพ
กุนโดกันเบอร์หนึ่ง : 4 แข้งยิงเร็วสุดรอบชิงเอฟเอ คัพ