ทะลุพันล้าน 5 ปีติด : สรุปการใช้จ่ายตลาดซื้อขายนักเตะพรีเมียร์ลีกซัมเมอร์ปี 2020

 

รู้หรือไม่ว่า สโมสรใช้เงินมากกว่า 1.24 พันล้านปอนด์ กับการเซ็น 107 แข้งมาร่วมทีมในตลาดนักเตะช่วงซัมเมอร์นี้ แต่ว่าสโมสรรักของแต่ละคนใช้จ่ายในการเสริมทัพหนนี้เท่าไหร่กัน?

 

แม้จะใช้เงินทะลุพันล้านปอนด์เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน ค่าใช้จ่ายทั้งหมดน้อยกว่ายอดรวมของซัมเมอร์ที่แล้วที่ 160 ล้านปอนด์ และมีค่าใช้จ่ายสุทธิ 880 ล้านปอนด์หลังจากที่ทีมชดเชยด้วยการขายผู้เล่นไปแล้วประมาณ 365 ล้านปอนด์

 

แต่ด้วยการซื้อขายที่สามารถทำได้เพิ่มเติมกับสโมสรจาก พรีเมียร์ลีก และลีกรอง ตั้งแต่วันที่ 5-16 ตุลาคม ดังนั้นคาดว่าจำนวนเงินเหล่านี้อาจจะเปลี่ยนแปลงขึ้นเล็กน้อย

 

ทาง UFA ARENA จึงขอสรุปตลาดนักเตะหน้าร้อนที่เกิดขึ้นในพรีเมียร์ลีกประจำปี 2020 ว่าทีมไหนใช้จ่ายมากที่สุด, ได้กำไรจากการขายมากที่สุด และมีค่าใช้จ่ายสุทธิเท่าไหร่ในตลาดรอบนี้

 

ดีลใหญ่ประจำตลาดหนนี้

 

 

แน่นอนว่า เชลซี คือสโมสรที่ใช้จ่ายมากที่สุดในลีก ทั้ง ไค ฮาเวิร์ตซ์ จาก ไบเออร์ เลเวอร์คูเซ่น 75.8 ล้านปอนด์ ขณะที่ เบน ชิลเวลล์ (50 ล้านปอนด์) และ ติโม แวร์เนอร์ (45 ล้านปอนด์) มีค่าตัวรองลงมา

 

ส่วน แมนเชสเตอร์ ซิตี้ จัดหนักกับแข้งใหม่ถึง 3 ราย ก็คือ รูเบน ดิอาส (65 ล้านปอนด์), นาธาน อาเก้ (41 ล้านปอนด์) และ เฟอร์ราน ตอร์เรส (37 ล้านปอนด์) ทางฝั่งอริร่วมเมืองอย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้ ดอนนี่ ฟาน เดอ เบ็ค ที่มีค่าตัว 39 ล้านปอนด์ แพงสุดเป็นอันดับ 8 ในตลาดนำเข้าของลีกผู้ดีรอบนี้

 

ลิเวอร์พูล แชมป์เก่า มีดีลแพงสุดคือการคว้า ดิโอโก้ โชต้า จากวูล์ฟแฮมป์ตัน 45 ล้านปอนด์ แต่ทีมของ นูโน่ เอสปิริโต้  ซานโต้ ก็จัดหนักคว้าทั้ง เนลสัน เซเมโด้ (36.8 ล้านปอนด์) และ ฟาบิโอ ซิลวา (35 ล้านปอนด์)

 

อาร์เซน่อล ยอมจ่ายค่าฉีกสัญญา 45 ล้านปอนด์ เพื่อดึง โธมัส ปาร์เตย์ มาร่วมทีมในวันสุดท้าย ส่วนอีก 34 ผู้เล่นที่ทีมพรีเมียร์ลีกคว้ามาร่วมทีมมีค่าตัว 10 ล้านปอนด์หรือมากกว่า, มี 21 ดีลที่มีค่าตัวเพียง 7 หลักหรือน้อยกว่านั้น, 23 ดีลถูกคว้ามาแบบไร้ค่าตัว และมี 19 รายที่ไม่เปิดเผยราคาค่าตัว

 

 

ยอดนักช็อป

 

 

อย่างที่รู้กันว่า เชลซี เป็นทีมที่ใช้เงินเสริมทัพมากที่สุด รวมแล้วเป็นเงินกว่า 226.1 ล้านปอนด์ มากกว่า เบิร์นลี่ย์, ไบรท์ตัน, เวสต์แฮม, คริสตัล พาเลซ, ฟูแล่ม, เวสต์บรอม, เซาแธมป์ตัน, นิวคาสเซิล และ เลสเตอร์ ใช้จ่ายร่วมกันเสียอีก

 

แมนเชสเตอร์ ซิตี้ คว้าอันดับ 2 จากการใช้เงินไป 147 ล้านปอนด์ ซึ่งหลักเน้นไปที่การคว้าแนวรับมาเสริมแกร่งหลังบ้าน ขณะที่ แอสตัน วิลล่า ใช้เงินไป 85 ล้านปอนด์ เพื่อต่อสู้และเอาตัวรอดให้ได้ในลีกสูงสุดฤดูกาลนี้

 

ลีดส์ (84.5 ล้านปอนด์), วูล์ฟ (83.6 ล้านปอนด์), ลิเวอร์พูล (81.7 ล้านปอนด์) และ อาร์เซน่อล (81.5 ล้านปอนด์) เป็นทีมที่ใช้จ่ายรองลงมา ตามมาด้วย เอฟเวอร์ตัน (65 ล้านปอนด์), สเปอร์ส (62 ล้านปอนด์), แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (54.4 ล้านปอนด์), เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด (53 ล้านปอนด์) และ เลสเตอร์ (51.5 ล้านปอนด์)

 

ส่วนทีมที่รั้งอันดับท้ายสุดคือ เบิร์นลี่ย์ ที่คว้า เดล สตีเฟ่นส์ และ วิลล์ นอร์ริส มาร่วมทีมแบบไม่เปิดเผยค่าตัว ขณะที่ ไบรท์ตัน (13.4 ล้านปอนด์), คริสตัล พาเลซ (16 ล้านปอนด์), เวสต์แฮม (20 ล้านปอนด์), ฟูแล่ม (23 ล้านปอนด์) และ เวสสต์บรอม (27.3 ล้านปอนด์) เป็นทีมที่ใช้จ่ายมากกว่า เดอะ คลาเร็ตส์ ไม่เกิน 30 ล้านปอนด์

 

 

ทีมขายเก่ง

 

 

วูล์ฟ กลายเป็นสโมสรยอดนักขายในตลาดรอบนี้ โดยได้เงินถึง 76 ล้านปอนด์ จากการปล่อย โชต้า ให้ลิเวอร์พูล (45 ล้านปอนด์), เฮลเดอร์ คอสต้า ให้ ลีดส์ (16 ล้านปอนด์) และ แม็ตต์ โดเฮอร์ตี้ ให้ สเปอร์ส (15 ล้านปอนด์)

 

แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่เคยโดนยูฟ่าแพ่งเล็งเรื่องการเงิน ก็จำเป็นต้องปล่อยแข้งออกจากทีมเพื่อรักษาสมดุลการเงิน โดยได้เงินราวๆ 70.5 ล้านปอนด์ ตามมาด้วย เลสสเตอร์ (51.7ล้านปอนด์), ลิเวอร์พูล (33.5 ล้านปอนด์), เวสต์แฮม (29 ล้านปอนด์) และ เซาแธมป์ตัน (21 ล้านปอนด์)

 

ขณะเดียวกันมีถึง 6 สโมสรที่ไม่มีรายได้จากการปล่อนนักเตะออกไปแม้แต่เพนนีเดียว ซึ่งก็คือ แอสตัน วิลล่า, เบิร์นลี่ย์, ฟูแล่ม, ลีดส์, นิวคาสเซิล และ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด

 

 

การใช้จ่ายสุทธิ

 

 

เมื่อนำค่าใช้จ่ายกับรายได้ในตลาดนักเตะมาหักลบกันก็จะได้ค่าใช้จ่ายสุทธิของสโมสรในลีก และไม่แปลกใจที่ทีมของ แฟรงค์ แลมพาร์ด มีค่าใช้จ่ายรวมสูงสุดที่ 212.6 ล้านปอนด์ ส่วน แอสตัน วิลล่า คือทีมที่มีค่าใช้จ่ายรองลงมาที่ 85 ล้านปอนด์ ห่างจากทีมสิงห์บลู 128 ล้านปอนด์

 

ทีมนกยูงทองตามมาเป็นที่ 3 ในค่าใช้จ่ายสุทธิที่ 84.5 ล้านปอนด์ ตามมาด้วย แมนเชสเตอร์ ซิตี้ (78.5 ล้านปอนด์), อาร์เซน่อล (64.5 ล้านปอนด์), เอฟเวอร์ตัน (63 ล้านปอนด์), เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด (53 ล้านปอนด์), สเปอร์ส (50 ล้านปอนด์), ลิเวอร์พูล (48.2 ล้านปอนด์), แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (36.4 ล้านปอนด์), นิวคาสเซิล (35 ล้านปอนด์) และ เวสต์บรอม (26.3 ล้านปอนด์)

 

วูล์ฟ เกือบรักษาสมดุลการเงินได้ แม้จะมีการเสริมทัพที่หนักพอตัว โดยมีค่าใช่จ่ายสุทธิที่ 7.6 ล้านปอนด์ ขณะที่ ไบรท์ตัน (3.4 ล้านปอนด์), คริสตัล พาเลซ (6 ล้านปอนด์), เซาแธมป์ตัน (13.9 ล้านปอนด์) และ ฟูแล่ม (23 ล้านปอนด์) คือทีมที่ใกล้เคียงกับการมีค่าใช้จ่ายและรายได้เท่ากับศูนย์มากที่สุด

 

มีเพียง 2 สโมสรที่ได้กำไรจากตลาดนักเตะหนนี้ นั่นก็ตือ เวสต์แฮม (กำไร 9 ล้านปอนด์) และ เลสเตอร์ (กำไร 150,000 ปอนด์)

 

 

เก็บตกคืนหมาหอน

 

 

แม้จะคว้า ฟาน เดอ เบ็ค มาร่วมทีมได้เพียงรายเดียวก่อนหน้า แต่ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ปิดดีลแข้งใหม่ถึง 5 ราย มากกว่าทีมไหนในวันสุดท้ายของตลาดนักเตะซัมเมอร์ที่ผ่านมา ที่ได้ อเล็กซ์ เตลเลส, อาหมัด ดิยัลโล่ ตราโอเร่, เอดินสัน คาวานี่, ฟากุนโด้ เปยิสตรี้ และ วิลลี่ ก็อมบวาล่า โดยจะมีแค่ปีกดาวรุ่งของ อตาลันต้า ที่ย้ายมาร่วมทีมเดือนมกราคม

 

ขณะที่ ฟูแล่ม และ เอฟเวอร์ตัน ตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยการปิดดีล 2 แข้งใหม่ในวันสุดท้าย โดยทางฝั่งเจ้าสัวได้ ลอฟตัส-ชีค และ โยอาคิม อันเดอร์เซ่น มาร่วมทีม ขณะที่ ท็อฟฟี่สีน้ำเงินได้ เบน ก็อดฟรี่ย์ กับ โรบิน โอลเซ่น มาในเวลาไล่เรี่ยกัน

 

สำหรับการปล่อยแข้งออกไปในวันสุดท้าย เอฟเวอร์ตัน กับ อาร์เซน่อล คือทีมในลีกผู้ดีที่ปล่อยแข้งออกไปมากที่สุด โดยท็อฟฟี่ปล่อยยืม ธีโอ วัลค็อตต์ และ มอยเซ่ คีน ส่วน ปืนใหญ่ ก็ปล่อย ลูคัส ตอร์เรย์ร่า และ มัตเตโอ เก็นดูซี่ ด้วยสัญญาเช่าเช่นกัน

 

ส่วนดีลนำเข้าที่แพงที่สุดในตลาดนักเตะวันสุดท้ายของพรีเมียร์ลีก คือ การคว้า โธมัส ปาร์เตย์ ของ อาร์เซน่อล ด้วยค่าตัว 45 ล้านปอนด์ ขณะที่ดีลปล่อยแพงสุดในวันนั้นคือ คริส สมอลลิ่ง ที่ยูไนเต็ด ขายให้ โรม่า แบบถาวรด้วยค่าตัว 18 ล้านปอนด์

 

 

จำนวนการเสริมทัพ

 

 

ลีดส์ และ ไบรท์ตัน เซ็นแข้งใหม่มาร่วมทีมถาวรมากที่สุด ด้วยจำนวน 11 ราย ขณะที่ อาร์เซน่อล (9 ราย), เชฟฟิดล์ ยูไนเต็ด และ เชลซี (7 รายเท่ากัน) เป็นทีมที่คว้าแข้งใหม่มาร่วมรองลงมา

 

ฟูแล่ม กลายเป็นทีมที่ยืมตัวมากที่สุด โดยคว้า 6 แข้งใหม่มาร่วมทีมชั่วคราว นั่นก็คือ รูเบน ล็อฟตัส-ชีค, โยอาคิม แอนเดอร์เซ่น, อเดโมล่า ลุคแมน, โอล่า ไอน่า, อัลฟอนเซ่ อาเรโอล่า และ มาริโอ ลามิน่า

 

ในส่วนของการปล่อยยืม เป็นอีกครั้งที่ เชลซี ครองตำแหน่งนี้ด้วยการปล่อยแข้งถึง 19 รายไปหาประสบการณ์กับสโมสรอื่น ตามมาด้วย ไบรทตัน (13 ราย), อาร์เซน่อล (11 ราย) และ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (8 ราย)

 

การปล่อแข้งแบบขาดขาย แอสตัน วิลล่า เป็นทีมเบอร์หนึ่งในด้านนี้ของลีก ด้วยการขายแข้งไป 16 ราย โดยมี เอฟเวอร์ตัน (15 ราย) ตามมาเป็นอันดับ 2 และ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (12 ราย) ตามมาเป็นที่ 3